Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532
ทำอย่างไรจึงจะไม่ตกหลุมพรางการจัดองค์กรการตลาด             
 


   
search resources

Marketing
Peter Vajta
Knowledge and Theory




คำกล่าวว่าองค์กรที่มีรูปแบบเฉพาะเป็นพิเศษเป็นตัวผลักดันให้ประสบความสำเร็จทางการตลาดนั้น กลายเป็นตำนานยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่งที่เล่าขานกันมาตลอด 30 ปีที่แล้ว แต่โดยความเป็นจริงนั้นโครงสร้างองค์กรแทบไม่มีส่วนในการทำให้บริษัทนั้นล้มเหลว หรือประสบความสำเร็จในเป้าหมายการตลาดของตนแต่อย่างใดและในุยคที่เห่อคำว่า "บริษัทเน้นการตลาด" นี่เอง ทำให้บริษัทต่าง ๆ พากันตกหลุมพยายามปรับโครงสร้างองค์กรให้ซับซ้อนมากขึ้น ยากต่อการจัดการและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น

การตลาดเป็นเรื่องที่ต้องเน้นตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากกว่าจะทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่มีดำเนินงานตามหน้าที่ของมัน สำหรับ PETER VAJTA แห่งบริษัทที่ปรึกษา ARTHUR D. LITTLE แล้วเห็นว่า ธุรกิจที่เน้นการตลาดจะไปได้สวยหรือไม่ขึ้นอยู่กับปรัชญาการบริหารของฝ่ายบริหารระดับสูงมากกว่าโครงสร้างองค์กรอย่างที่คนส่วนใหญ่เชื่อกัน

โดยพื้นฐานแล้วหากต้องการดำเนินธุรกิจด้านการตลาด จะมีวิธีจัดองค์กรให้เลือก 4 แบบเท่านั้นคือ องค์กรที่เน้นตามงานในหน้าที่, เน้นตัวสินค้า, เน้นการตลาดและผสมผสานระหว่างการเน้นตัวสินค้าและการตลาด

วิธีง่ายที่สุดคือการจัดองค์กรเน้นตามงานในหน้าที่ ซึ่งเป็นองค์กรรูปแบบเก่าแก่ที่สุดและค่อนข้างมั่นคงที่สุด

บริษัทที่จัดองค์กรตามหน้าที่ด้านการตลาดอย่างง่าย ๆ จะสามารถเข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีพอ ๆ กับบริษัทที่เต็มไปด้วยผู้จัดการผลิตภัณฑ์ด้วยซ้ำ

องค์กรที่เน้นตามงานในหน้าที่มีจุดแข็งหลายอย่างด้วยกัน

อย่างแรก ประธานบริษัทหรือผู้จัดการทั่วไปจะเป็นคนรับผิดชอบงานวางแผนยุทธวิธี ซึ่งทั้งคู่จะอยู่ในตำแหน่งที่สามารถชี้นำหรือบริหารยุทธวิธีได้ดีกว่าผู้บริหารระดับล่างลงมา

อย่างที่สอง พนักงานผู้มีความชำนาญเฉพาะด้านจะได้รับการส่งเสริมให้รับผิดชอบในงานด้านการตลาดที่ตนถนัดที่สุดมากกว่าจะถูกมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลงานทั่ว ๆ ไปหรือเป็นผู้ประสานงาน

อย่างที่สาม ผู้จัดการฝ่ายการตลาดจะเป็นผู้ทำหน้าที่ประสานงานเกี่ยวกับกิจการด้านการตลาดทั้งหมด เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความลึกซึ้ง ตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วงปลายทศวรรษ 1960 ต่อต้นทศวรรษ 1970 บริษัทอเมริกันระดับยักษ์ที่จัดองค์กรเน้นงานตามหน้าที่ด้านการตลาดให้มีโครงสร้างซับซ้อนขึ้น

การจัดองค์กรเน้นตัวสินค้า จึงเหมาะกับบริษัทที่ต้องผลิตและทำตลาดสินค้าหลากหลายประเภทผ่านฝ่ายผลิต การตลาด หรือฝ่ายขายเดียวกันโดยมีผู้จัดการผลิตภัณฑ์เป็นผู้รับผิดชอบผลิตภัณฑ์สินค้าแต่ละตัว องค์กรแบบนี้มักมีลักษณะเด่นคือผลิตสินค้าบรรจุภัณฑ์ด้านอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรมมากมาย

ส่วนการจัดองค์กรเน้นการตลาด เหมาะกับบริษัทที่มีสินค้าประเภทเดียวกันป้อนตลาดที่แตกต่างกันมาก ๆ ความรับผิดชอบด้านการตลาดจะแบ่งกันในระหว่างผู้จัดการฝ่ายการตลาดระดับล่างสุด ตัวอย่างเห็นได้จากบริษัทผลิตยางรถยนต์หรือบริษัทเคมี

ทั้ง "ผู้จัดการผลิตภัณฑ์" และ "ผู้จัดการฝ่ายการตลาด" ต่างมีปัญหาร่วมกันในแง่ ต้องแบกภาระความรับผิดชอบสูงเพื่อนำสินค้าเข้าตลาดให้ได้ แต่ปราศจากอำนาจที่จะทำให้งานดำเนินไปได้อย่างเต็มที่องค์กรที่เน้นตัวสินค้าหรือการตลาดจึงมีแนวโน้มเกิดความขัดแย้งสูงมาก

และการจัดองค์กรแบบสุดท้ายคือผสมผสานระหว่างการเน้นตัวสินค้าและการตลาดนั้น ยิ่งมีศักยภาพแห่งความขัดแย้งสูงมากขึ้น องค์กรแบบนี้จะก่อตัวขึ้นเมื่อองค์กรเน้นตัวสินค้าและการตลาดมีความซับซ้อนขึ้น เช่น ในบริษัทบริการด้านการขนส่ง ซึ่งตลาดส่วนใหญ่จะใช้สินค้าหลากประเภท และสินค้าส่วนใหญ่ถูกวางขายในตลาดหลายแหล่ง

เมื่ออยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว การจัดองค์กรอย่างนี้ถือเป็นเรื่องจำเป็น แต่จะสร้างปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้จัดการผลิตภัณฑ์ และผู้จัดการฝ่ายการตลาดมากขึ้นเมื่อผู้จัดการฝ่ายการตลาดต้องมั่นใจว่าตลาดที่พวกเขารับผิดชอบอยู่ต้องมีสินค้าที่จำเป็นวางขาย และผู้จัดการผลิตภัณฑ์ก็ต้องการความมั่นใจว่า สินค้าที่พวกเขารับผิดชอบอยู่จะมีป้อนตลาดแต่ละส่วนอย่างครบถ้วนจึงเกิดปัญหา "ทับเส้น" กันอย่างช่วยไม่ได้ ระวัง! จะตกหลุมพราง

การพยายามหนีจากองค์กรที่เน้นงานตามหน้าที่แบบง่าย ๆ มาสู่องค์กรซับซ้อนขึ้นจึงไม่ผิดอะไรกับการตกหลุ่มพรางแห่งความขัดแย้ง ทำให้สับสนเรื่องการแบ่งแยกขอบข่ายความรับผิดชอบ และยากแก่การประสานยุทธวิธีด้วย

จึงขอย้ำเตือนว่าอย่าหลงงมงายกับการจัดองค์กรการตลาดซับซ้อนเด็ดขาด

เริ่มแรกให้ลองวิธีการเรียบง่ายดูก่อนถ้าไม่ได้ผลจริง ๆ แล้วจึงค่อยชี้ชัดลงไปว่าความผิดผอยู่ที่โครงสร้างองค์กร แล้วจึงค่อยหันไปหาโครงสร้างองค์กรซับซ้อนขึ้น

ตัวอย่างบริษัทขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจซับซ้อนแล้วประสบความสำเร็จด้วยการจัดองค์กีรแบบเรียบง่ายที่เน้นงานตามหน้าที่ ไม่ได้จัองค์กรซับซ้อนแบบเน้นตัวสินค้าหรือการตลาดเป็นหลักก็มีให้เห็นอยู่บ้าง ดังนี้

ประเภทแรก เป็นบริษัทที่เน้นหน้าที่ด้านการตลาดเพียงอย่างเดียว เช่น บริษัทไดเร็คเมล์ แต่กรณีนี้อย่าสับสนเรื่องความเรียบง่ายในแง่ว่า ต้องมีผู้จัดการผลิตภัณฑ์คนเดียวดูแลสินค้าทั้งหมด ซึ่งเป็นการเข้าใจผิด เพราะถ้ามีสินค้ามากประเภทเกินกว่าที่ผู้จัดการคนเดียวจะดูแลได้ทั่วถึง ก็ต้องแต่งตั้งผู้จัดการหลายคนรับผิดชอบสินค้ายี่ห้อต่าง ๆ ให้เพียงพอตามความจำเป็น

อีกตัวอย่างหนึ่งคือบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ระดับยักษ์ พวกนี้ตัดสินใจถูกต้องที่ปฏิเสธการจัดองค์กรการตลาดแบบซับซ้อน เพราะพวกเขาตระหนักดีว่า "โฆษณา" เท่านั้นที่มีบทบาทเด่นที่สุดในแง่ของการตลาด ดังนั้น แม้บริษัทบุหรี่เหล่านี้จะมีขนาดใหญ่มาก มีสินค้าในเครือหลากยี่ห้อ และได้รับความกดดันทั้งทางสังคมและฝ่ายกฎหมายพวกนี้ก็ยังยืนกรานจัดองค์กรเน้นตามงานในหน้าที่เหมือนเดิม โดยจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านโฆษณาเป็นแกนหลักของกิจกรรมการตลาด

ประเภทที่สอง เป็นบริษัทที่ขายสินค้าคล้ายคลึงกัน เช่น บริษัทเครื่องสำอางซึ่งอาจประกอบด้วยสินค้าหลัก 8-10 ประเภทและซอยย่อยออกเป็นสินค้านับร้อยตัว แต่ทุกประเภทล้วนมีความเกี่ยวพันกับผู้บริโภคและการค้าทั้งสิ้น จึงไม่เหมาะอย่างยิ่งถ้าจะเลิกการจัดองค์กรเน้นตามงานในหน้านี้ซึ่งให้ความสำคัญกับการวางแผนสินค้าแต่ละประเภทมากกว่าการวางแผนสินค้าแต่ละตัว

ประเภทที่สาม เป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าแต่ละอย่างเพียงตัวเดียว แต่มีหลายบริษัทเหมือนกันเมื่อเริ่มขยายแนวธุรกิจออกไปแล้วมันยกเลิกการจัดองค์กรเน้นงานตามหน้าที่ด้วย โดยจ้างผู้จัดการผลิตภัณฑ์เข้ามา 3-4 คน แล้วแยกแยะขอบข่ายอำนาจหน้าที่ตายตัวโดยลืมไปว่า ผู้จัดการแต่ละคนต้องรับผิดชอบธุรกิจมูลค่าหลายล้านดอลลาร์และอีกหลายคนที่เหลือจะรับผิดชอบธุรกิจมูลค่าน้อยกว่า และมีความผันผวนมากเพราะเป็นธุรกิจที่เพิ่งแตกเครือออกไป ผิดกันคนแรกที่รับผิดชอบผลิตภัณฑ์หลักซึ่งเคยเป็นตัวทำรายได้หลักให้บริษัท

ประเภทที่สี่ บริษัทที่ผลิตสินค้าหลายอย่างทีละมาก ๆ กรณีนี้ถ้าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อยู่แล้วและต้องการซอยย่อยหน่วยงานในองค์กร ให้ลองทำอย่าง "เจเนอรัลมอเตอร์" ผู้ผลิตรถหมายเลขหนึ่งของอเมริกาซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ปรับโครงสร้างของธุรกิจรถยนต์ ด้วยการแยกเป็นแผนกอิสระเป็นเอกเทศ แต่ละแผนกใช้โครงสร้างการจัดองค์กรเน้นตามหน้าที่

จากตัวอย่างเหล่านี้ชี้จุดสำคัญว่าองค์กรการตลาดพึ่งจำนวนสินค้าที่ตนทำตลาดน้อยกว่ายุทธวิธีด้านการตลาดที่ต้องตัดสินใจว่า จะใช้ยุทธวิธีครอบคลุมสินค้าทั้งหมดหรือแยกสินค้าแต่ละตัว

มีมากบริษัทเหมือนกันที่จัดองค์กรไม่เข้ากับประเภทใดเลยใน 4 ประเภทที่พูดถึงและถูกบีบให้ต้องพัฒนาองค์กรเป็นแบบเน้นตัวสินค้าหรือเน้นการตลาด ในเมื่อไม่สามารถขจัดปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างองค์กรทั้งสองอย่างนี้ได้ ทางออกที่ดีที่สุดคือเรียนรู้วิธีจัดการองค์กรเหล่านี้ด้วยหลัก 5 ประการ

1. กำหนดบทบาทและขอบข่ายความรับผิดชอบของผู้จัดการผลิตภัณฑ์ (หรือฝ่ายการ
ตลาด) ให้ชัดเจนจริงอยู่ที่ผู้จัดการผลิตภัณฑ์อาจมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับตัวสินค้าโดยตรง แต่คุณต้องสามารถแยกแยะให้กระจ่างลงไปว่า ผู้จัดการผลิตภัณฑ์มีหน้าที่เพียง "ผู้เสนอ" เท่านั้นไม่ใช่ "ผู้ตัดสินใจ" ถ้าทำอย่างนี้ได้แล้วจะสามารถลดความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นได้มากทีเดียว

2. ต้องให้แน่ใจว่าฝ่ายบริหารระดับสูงมีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธวิธี และพิจารณาทบ

ทวนการปฏิบัติงานของผู้จัดการผลิตภัณฑ์ การจะให้ได้มาซึ่งความช่ำชองด้านการตลาดเป็นงานลำบากยากยิ่ง เพราะการจะควบคุมจัดการรายละเอียดของธุรกิจเฉพาะด้านหรือตลาดเฉพาะด้านอย่างนี้ได้คุณต้องสามารถพัฒนายุทธวิธีที่เหมาะสมขึ้นมาด้วย ถ้าผู้บริหารระดับสูงคนไหน "งานยุ่ง" เกินกว่าจะเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดยุทธวิธีการตลาดได้ และมอบหมายหน้าที่นี้ให้ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ไปทำแทนละก็ ต้องเกิดปัญหาร้ายแรงตามมาแน่นอน

3. ต้องเอาใจใส่กับความขัดแย้งสำคัญเกี่ยวกับบทบาทระหว่างผู้จัดการผลิตภัณฑ์และ

ผู้เชี่ยวชาญการตลาด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะมีบทบาท 2 หน้าที่อยู่ในตัวคนเดียว คือเป็นผู้รับผิดชอบทั่วไปในการวางแผน แต่ก็มีความรู้ด้านเทคนิคการตลาดเพียงพอที่จะจัดการควบคุมด้วยตัวเองได้ แต่ปัจจุบันองค์ประกอบการตลาแต่ละอย่างพัฒนาจนมีความซับซ้อนและต้องใช้ความรู้ด้านเทคนิคสูงขึ้นมาก

4. กำหนดกระบวนการเป็นทางการซึ่งบีบให้ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานที่เกิดขึ้น

ต้องขึ้นถึงฝ่ายบริหารระดับสูงทั้งหมด เพราะแม้ว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในฝ่ายการตลาดจะเป็นเรื่องน่าหนักใจ แต่อย่างน้อยที่สุดเราต้องไม่ลืมว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้นเพราะทั้งสองฝ่ายต่างพยายามทำงานเพื่อเป้าหมายเดียวกัน

5. ตั้งระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพโดยต้องเป็นระบบที่ยอมรับอำนาจความรับผิด

ชอบของผู้จัดการผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ยังมีเสียงถกเถียงในประเด็นที่วาผู้จดัการผลิตภัณฑ์ควรต้องรับผิดชอบผลกำไรด้วยหรือไม่ คำตอบคือไม่ควร เพราะถ้าทำอย่างนั้นเท่ากับว่าเขาต้องรับผิดชอบทำงานสองอย่างในเวลาเดียวกัน จะส่งผลถึงความไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยในงานได้ แต่ต้องยืนยันว่าระบบตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีแน่นอน เพราะทำให้ฝ่ายบริหารระดับสูง และผู้จัดการผลิตภัณฑ์ใช้หลักการประเมินผลบนพื้นฐานเดียวกัน

6. โดยสรุปแล้วก็ต้องยืนยันว่าความเรียบง่ายดีที่สุดเสมอ ขอให้จัดองค์กรเน้นงานตาม

หน้าที่ต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่คุณมีบริษัทขนาดใหญ่และมีสินค้าหรือบริการหลากหลายไม่ได้หมายความว่าคุณจะขยายตัวจนเกินกว่าองคืกรเน้นงานตามหน้าที่จะรับมือได้ ถ้าคุณยังดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยองค์กรรูแบบนี้ก็ให้พยายามต่อไป

แต่ถ้าคุณลเอกจะปรับโครงสร้างองค์กรให้ซับซ้อนขึ้นด้วยรูปแบบที่เน้นตัวสินค้าหรือการ

ตลาด หรือผสมผสานทั้งสองแบบละก็ พึงจำไว้ว่าโครงสร้างองค์กรเหล่านี้ ต้องการกระบวนการบริหารที่ไม่เป็นไปตามหลักปฏิบัติสืบต่อกันมานาน แต่หลักการจัดการองค์กร 5 อย่างจะช่วยได้มาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us