Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532
เปิดผลิตกระจกเสรีสงบศึกอาซาฮี-การ์เดี้ยม             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท กระจกไทยอาซาฮี จำกัด (มหาชน)

   
search resources

กระจกไทยอาซาฮี, บมจ.
ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง), บจก.
เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง
Glass
ปูนซิเมนต์ไทย-การ์เดี้ยนอินดัสตรี้แห่งสหรัฐอเมริกา




ทันทีที่ รมต.บรรหารสั่งคุมกำเนิดโรงงานผลิตกระจกใหม่ของบริษัทการ์เดี้ยนและปูนซิเมนต์ไทยก็จุดประกายความไม่พอใจให้แก่สหรัฐฯทันที มีการใช้ ม.301 มากดดันเรื่องนี้ให้ผ่านการอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้ได้ และในที่สุดกลางเดือนมิถุนายน ครม.เศรษฐกิจก็ต้องเปิดไฟเขียวให้การ์เดี้ยน เท่ากับเป็นการบอกล่าวอย่างชัดเจนว่า มันหมดยุคการแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจแบบสไตล์ของ ศรีเฟื่องฟุ้ง และอาซาฮีแล้ว…..

ถ้าจะจับกรณีการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮีกับกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย-การ์เดี้ยน
อินดัสตรี้แห่งสหรัฐอเมริกา แล้วจบตรงที่ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมอันดับหนึ่งของประเทศ ต้องพ่ายแพ้ถอนล่นกลับไปอย่างย่อยยับ เพราะฝ่ามือพิฑาตของ บรรหาร ศิลปอาชา ดูจะอธิบายด้วยแนวคิดง่าย ๆ ไม่ได้เสียแล้ว

สิ่งที่น่าอธิบายได้ยากนั้นคือการหาคำตอบว่า วิธีการใช้สายสัมพันธ์อำนาจทางการเมืองชี้นำธุรกิจที่นักลงทุนญี่ปุ่น พยายามจะใช้ผ่านคนไทยอย่างกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งนั้นจะใช้ไปได้อีกนานสักแค่ไหนในสถานการณ์ธุรกิจระหว่างประเทศของโลกกำลังเปลี่ยนไปเช่นนี้

เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ผู้นำของกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮีนั้นบนเส้นทางการเติบโตทางธุรกิจของเขามักจะต้องเข้าไปเกี่ยวดองกับอำนาจทางการเมืองมาโดยตลอด นับตั้งแต่ก้าวแรกของการเมืองมาโดยตลอด นับตั้งแต่ก้าวแรกาของการลงหลักปักเสาทำธุรกิจเป็นตัวแทนกลุ่มก๊กมินตั๋งเปิดสำนักงานสาขาธนาคารกว้างตุ้งในประเทศไทย เขาได้รับการสนับสนุนด้วยดีจากหลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ บุคคลซึ่งเกียรติเองก็มักกล่าวถึงเสมอว่าเป็นผู้มีบุญคุณต่อเขาอย่างมาก ๆ

มาจนถึงการลงทุนตั้งโรงงานผลิตกระจกร่วมกับกลุ่มอาซาฮีจากญี่ปุ่นเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน เขาก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากศูนย์อำนาจในซอยราชครู โดยพลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบันก็ยังเคยเข้าร่วมถือหุ้นและเป็นประธานกรรมการให้ในยุคเริ่มต้นนั้นด้วย

ดูไปแล้วก็เหมือนกับว่ามันได้กลายเป็นสูตรสำเร็จในการทำธุรกิจของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ไปเสียแล้ว และสูตรสำเร็จที่ว่านั้นก็ได้ถูกถ่ายทอดลงมายังผู้เป็นหลาน สมบัติ พานิชชีวะ กรรมการอำนวยการของบริษัทกระจกไทย-อาซาฮีคนปัจจุบัน ซึ่งเขาต้องเข้าไปมีส่วนและรักษาไว้ ซึ่งสายสัมพันธ์กับอำนาจทางการเมืองเพื่อค้ำจุนเส้นทางธุรกิจของกลุ่มจนทุกวันนี้ โดยสมบัติมีชื่อเปิดเผยเป็นทั้งกรรมการของพรรคชาติไทย เป็นวุฒิสมาชิก และก็เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี

สายสัมพันธ์ของกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งกับซอยราชครูจึงไม่เคยแปรเปลี่ยนไป ตรงกันข้ามกลับดูเหนียวแน่นและลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นพร้อมกับการเจริญเติบโตทางธุรกิจของเขา

การเอื้ออำนวยของอำนาจทางการเมืองต่อธุรกิจของกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งนั้น ได้แสดงออกมาโดยการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลในการลงทุนค้าขาย และการคุ้มครองการค้าขายโดยไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาค้าขายแข่งขันกับตนหรือที่หลายคนเรียกมันว่า "การผูกขาด"

และคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการได้รับการส่งเสริม และการคุ้มครองทางการค้าที่กลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งได้รับนั้น คือสิ่งที่กลุ่มอาซาฮีจากญี่ปุ่นก็ได้ด้วยในฐานะผู้ร่วมลงทุนและมีส่วนได้เสียในผลกำไร ตลอดทั้งการขยายขอบข่ายทางธุรกิจเติบโตขึ้นจนมีสินทรัพย์รวมกันเกือบหมื่นล้านบาท

บรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเจ้าของฝ่ามือพิฆาตนั้น นอกจากจะเป็นคนจากอำเภอสองพี่น้องสุพรรณบุรี เช่นเดียวกันกับ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งแล้ว ยังว่ากันว่าบรรหารได้เข้าไปเกิดและเป็นใหญ่ในพรรคชาติไทยจนทุกวันนี้ก็เพราะเกียรติเป็นคนแนะนำและให้การสนับสนุนมาโดยตลอด

มันเป็นเรื่องบุญคุณและผลประโยชน์จนไม่อาจทอดทิ้งกันได้ทั้งสองฝ่าย

บางคนจึงกล่าวเป็นทำนองว่าลักษณะธุรกิจของเกียรตินอกจากจะอยู่ในรูปการร่วมลงทุนแล้ว ยังเป็นลักษณะการเป็นนายหน้าให้แก่กลุ่มนักลงทุนจากญี่ปุ่นในการดูแลผลประโยชน์ โดยอาศัยสายสัมพันธ์ทางการเมืองคุ้มครองการผูกขาดทางธุรกิจอย่างได้ผลที่สุด

ตรงนี้มีความแตกต่างกันกับกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งการเติบโตของเขา แม้บางกรณีจะต้องร่วมลงทุนกับชาวต่างประเทศเช่นเดียวกัน แต่ก็มีลักษณะกระจายการร่วมลงทุนกับนักลงทุนหลายกลุ่ม โดยมุ่งเน้นที่การผลิตสินค้าวัสดุก่อสร้างให้ครบวงจร และการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้พัฒนาคุณภาพสินค้า

ทั้งในด้านการบริหารก็ยังไม่ปรากฎว่าผู้ร่วมลงทุนของปูนจะเข้ามาร่วมบริหารด้วยทั้งหมด ซึ่งแตกต่างกับทางกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮี จะเห็นว่าตั้งแต่ประธานกรรมการลงมาจนถึงผู้อำนวยการจะมีสองตำแหน่งควบคู่กับระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายญี่ปุ่นเสมอ

แต่ความใหญ่ของปูนซิเมนต์ไทยก็หนีไม่พ้นที่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มธุรกิจผูกขาดเช่นกัน เพียงแต่ลักษณะการรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยไมได้ใช้อำนาจทางการเมืองเป็นตัวชี้นำอย่างชัดเจนเท่านั้นเอง

การร่วมลงทุนกับการ์เดี้ยนอุตสาหกรรม น่าจะเป็นสิ่งสะดท้อนบุคลิกของกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยในคำอธิบายก่อนนี้ได้เป็นอย่างดีการออกมาโต้ตอบการกีดกันจากกระจกไทย-อาซาฮีแทนที่จะเป็นปูนซิเมนต์ไทย แต่ก็กลายเป็นการ์เดี้ยนอุตสาหกรรมและทูตสหรัฐฯเป็นคนออกโรงเองทั้งหมด

นั่นหมายถึงปูนซิเมนต์ไทยจะไม่ยอมเล่นกับอำนาจทางการเมืองอย่างเปิดเผยเด็ดขาด แม้ในสถานการณ์คับขันเช่นนี้

การถอยล่นออกไปของปูนซิเมนต์ไทยสลับกับการเข้ามาของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ปูนซิเมนต์ไทยไม่อาจจะรับรู้ได้แต่ตรงกันข้ามว่าว่าเป็นเรื่องที่ทางปูนใช้จังหวะสวิงเรื่องให้สหรัฐฯอัดปลายคางของญี่ปุ่นเข้าอย่างจังนั่นเอง

การแข่งขันในตลาดโลกนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการสกัดกั้นสินค้าญี่ปุ่นอย่างขมังเกลียวของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังจะส่งผลถึงประเทศที่กำลังเป็นฐานที่มั่นในการผลิตสินค้าญี่ปุ่นอย่างประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดูจะเป็นจังหวะที่ทางฝ่ายปูนเลือกใช้ได้อย่างเหมาะเจาะทีเดียว

ในระหว่างที่สงครามการค้าของผู้ข้ามกลับดูเหนียวแน่นและลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นพร้อมกับการเจริญเติบโตทางธุรกิจของเขา

การเอื้ออำนวยของอำนาจทางการเมืองต่อธุรกิจของกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งนั้นได้แสดงออกมาโดยการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลในการลงทุนค้าขาย และการคุ้มครองการค้าขายโดยไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาค้าขายแข่งขันกับตนหรือที่หลายคนเรียกมันว่า "การผูกขาด"

และคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการได้รับการส่งเสริม และการคุ้มครองทางการค้าที่กลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งได้รับนั้น คือสิ่งที่กลุ่มอาซาฮีจากญี่ปุ่นก็ได้ด้วยในฐานะผู้ร่วมลงทุนและมีส่วนได้เสียในผลกำไร ตลอดทั้งการขยายขอบข่ายทางธุรกิจเติบโตขึ้นจนมีสินทรัพย์รวมกันเกือบหมื่นล้านบาท

บรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่การกระทรวงอุตสาหกรรมเจ้าของฝ่ามือพิฆาตนั้น นอกจากจะเป็นคนจากอำเภอสองพี่สองสุพรรณบุรี เช่นเดียวกันกับ เกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้งแล้ว ยังว่ากันว่าบรรหารได้เข้าไปเกิดและเป็นใหญ่ในพรรคชาติไทยจนทุกวันนี้ก็เพราะเกียรติเป็นคนแนะนำและให้การสนับสนุนมาโดยตลอด

มันเป็นเรื่องบุญคุณและผลประโยชน์จนไม่อาจทอดทิ้งกันได้ทั้งสองฝ่าย

บางคนจึงกล่าวเป็นทำนองว่าลักษณะธุรกิจของเกียรตินอกจากจะอยู่ในรูปการร่วมลงทุนแล้ว ยังเป็นลักษณะการเป็นนายหน้าให้แก่กลุ่มนักลงทุนจากญี่ปุ่นในการดูแลผลประโยชน์ โดยอาศัยสายสัมพันธ์ทางการเมืองคุ้มครองการผูกขาดทางธุรกิจอย่างได้ผลที่สุด

ตรงนี้มีความแตกต่างกันกับกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งการเติบโตของเขาแม้บางกรณีจะต้องร่วมลงทุนกับชาวต่างประเทศเช่น เดียวกัน แต่ก็มีลักษณะกระจายการ่วมลงทุนกับนักลงทุนหลายกลุ่ม โดยมุ่งเน้นที่การผลิตสินค้าวัสดุก่อสร้างให้ครบวงจร และการนำเทคโนโลยีเข้าใช้พัฒนาคุณภาพสินค้า

ทั้งในด้านการบริหารก็ยังไม่ปรากฎว่าผู้ร่วมลงทุนของปูนจะเข้ามาร่วมบริหารด้วยทั้งหมด ซึ่งแตกต่างกับทางกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮี จะเห็นว่าตั้งแต่ประธานกรรมการลงมาจนถึงผู้อำนวจการจะมีสองตำแหน่งควบคู่กันระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายญี่ปุ่นเสมอ

แต่ความใหญ่ของปูนซิเมนต์ไทยก็หนีไม่พ้นที่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มธุรกิจผูกขาดเช่นกัน เพียงแต่ลักษณะการรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยไม่ได้ใช้อำนาจทางการเมืองเป็นตัวชี้นำอย่างชัดเจนเท่านั้นเอง

การร่วมลงทุนกับการ์เดี้ยนอุตสาหกรรมน่าจะเป็นสิ่งสะท้อนบุคลิกของกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย ในคำอธิบายก่อนนี้ได้เป็นอย่างดีการออกมาโต้ตอบการกีดกันจากกระจกไทย-อาซาฮีแทนที่จะเป็นปูนซิเมนต์ไทย แต่ก็กลายเป็นการ์เดี้ยนอุตสาหกรรมและทูตสหรัฐฯเป็นคนออกโรงเองทั้งหมด

นั่นหมายถึงปูนซิเมนต์ไทยจะไม่ยอมเล่นกับอำนาจทางการเมืองอย่างเปิดเผยเด็ดขาด แม้ในสถานการณ์คับขันเช่นนี้

การถอยล่นออกไปของปูนซิเมนต์ไทยสลับกับการขเามาของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ปูนซิเมนต์ไทยไม่อาจจะรับรู้ได้แต่ตรงกันข้ามว่ากันว่าเป็นเรื่องที่ทางปุนใช้จังหวะสวิงเรื่องให้สหรัฐฯอัดปลายคางของญี่ปุ่นเข้าอย่างจังนั่นเอง

การแข่งขันในตลาดโลกนับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับการสกัดกั้นสินค้าญี่ปุ่นอย่างขมังเกลียวของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังจะส่งผลถึงประเทศที่กำลังเป็นฐานที่มั่นในการผลิตสินค้าญี่ปุ่นอย่างประเทศไทยอย่างหลักเลี่ยงไม่ได้ ดูจะเป็นจังหวะที่ทางฝ่ายปูนเลือกใช้ได้อย่างเหมาะเจาะทีเดียว

ในระหว่างที่สงครามการค้าของผู้ประกอบการเมืองไทยได้ขยายสนามรบสู่ทุกภูมิภาคทั่วโลก นับเนื่องติดต่อกันมาหลายทศวรรษ และนับวันจะทวีความเข้มข้นขึ้นทุกขณะนั้น ทุนจากญี่ปุ่น-ไต้หวันก็ได้ไหลบ่าเข้ามาใช้ขวานทองของไทยเป็นฐานที่มั่นผลติสินค้าออกตีตลาดอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งด้านยุโรปและอเมริกา ยิ่งเท่ากับช่วยเพิ่มอัตราความเร็วให้ผู้ประกอบการคนไทยพบกับความยุ่งยากมากขึ้นในการสู้รบตบมือกันในตลาดโลก

โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาได้ประกาศกร้าวว่าประเทศไทยอยู่ในข่ายที่จะเข้าบัญชีสอบสวนพฤติกรรมอันน่าสงสัยว่า ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศตามความในมาตรา 301 หรือไม่ ซึ่งตามพระราชบัญญัติการค้าของสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการในประเทศของเขา และอาจจะใช้มาตรการตอบโต้โดยการลดสิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้าและจำกัดโควตาการนำเข้าสินค้าบางชนิดเอากับผู้ส่งออกจากไทย

ผู้นำรัฐบาลไทยได้วิ่งวุ่นอยู่กับการยืดยื้ออายุการต่อรองกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกานับเนื่องมากกว่ากึ่งทศวรรษ จนถึงขั้นมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายการส่งเสริมการลงทุน โดยขยายการส่งเสริมการลงทุนไปสู่นักลงทุนจากยุโรปและสหรัฐเมริกาในปัจจุบัน ซึ่งมีผลต่อการถ่วงดุลการครอบงำการลงทุนของญี่ปุ่นในไทยด้วย

การต่อรองของผู้นำไทยต่อสหรัฐอเมริกากำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้นขึ้นทุกขณะ นับตั้งแต่สหรัฐฯขอให้ไทยแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร เพื่อให้การคุ้มครองถึงคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ด้วยจนกลายมาเป็นตำนานการล่มสลายของรัฐบาลชุด พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จนมาถึงรัฐบาลปัจจุบัจำต้องให้การคุ้มครองสิทธิบัตรยาเป็นการชั่วคราวก่อนที่จะมีกฎหมายออกมาอีกทีหลัง

ถึงกระนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ยังรุกหนักถึงการขอนำเข้าบุหรี่จากสหรัฐฯ ซึ่งกฎหมายไทยห้ามไม่ให้นำเข้าบุหรี่จากต่างประเทศและสุดท้ายก็ขอตั้งโรงงานผลิตบุหรี่ในประเทศไทย รัฐบาลสหรัฐฯโดยผู้แทนการค้าของเขา กล่าวถึงขนาดว่าการที่ประเทศไทยห้ามนำเข้าบุรี่จากต่างประเทศและห้ามไม่ให้เอกชนตั้งโรงงานผลิตบุหรี่นั้นเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมทางการค้าชนิดหนึ่ง

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดในเชิงการต่อสู้ว่า สหรัฐฯได้รุกเข้ามาประชิดตัวจนไม่อาจจะหลบเลี่ยงอีกต่อไปได้แล้ว

แล้วก็มาถึงกรณีการคว่ำบาตรโครงการขอส่งเสริมการลงทุนผลิตกระจกแผ่นเรียบในประเทศไทยของบริษัทการ์เดี้ยนอุตสาหกรรมแห่งสหรัฐเอมริกา ร่วมกับบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งใช้อำนาจในมือสั่งห้ามเปิด - ขยายโรงงานผลิตกระจกแผ่นเรียบเป็นเวลาติดต่อกัน 5 ปี ด้วยเหตุว่าได้รับการร้องเรียนจากผู้ผลิตกระจกในประเทศขอให้การคุ้มครอง เพราะปริมาณการผลิตกระจกแห่นเรียบในประเทศมากเกินความต้องการของตลาดอยู่แล้ว

เหตุผลในการห้ามผลิตกระจกของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนั้นเป็นทำนองเดียวกันกับคำชี้แจงของกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮี ซึ่งผูกขาดการผลิตกระจกในประเทศไทยเพียงผู้เดียวมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี

ยิ่งเสมือนประเทศไทยได้เปิดช่องว่างให้สหรัฐอเมริกามองเห็นพฤติกรรมที่เขากำลังสงสัยอยู่ได้ชัดเจนมากขึ้น และในจังหวะที่สุดสวยเช่นนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยสถานทูตประจำประเทศไทยได้ออกโรงโต้ตอบช่วยผู้ลงทุนสัญชาติของเขาในฉับพลันทันใด

มันเป็นการรุกก้าวเข้ามาในเชิงสงครามทางการค้าอย่างเป็นระบบเห็นได้ชัดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่จะใช้มาตรการเฉียบขาดคือมาตรา 301 กับประเทศที่สนับสนุนการค้าอันไม่เป็นธรรมต่อสหรัฐฯ มันไม่ใช่เรื่องการช่วงชิงผลประโยชน์หรือการผูกขาดภายในประเทศของกลุ่มผูกขาดการผลิตด้วยกันเองเหมือนอย่างที่เป็นมาในอดีตเสียแล้ว

การ์เดี้ยนอินดัสตรี้อิ้งแห่งสหรัฐอเมริกาเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตกระจกรายใหญ่ของสหรัฐฯแล้ว ยังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ให้การสนับสนุนการเงินแก่พรรคลิพับลิกันซึ่งเป็นรัฐบาลอยู่ในปัจจุบัน

การ์เดี้ยนได้ซื้อสิทธิบัตรการผลิตกระจกจากบริษัทพิวริงตันโฟลท ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ เช่นเดียวกันบริษัทพีสเบิร์กซึ่งเป็นผู้ผลิตกระจกรายใหญ่ของสหรัฐฯอีกบริษัทหนึ่งที่เข้าไปร่วมลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่ร่วมกับกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้ง และบริษัทอาซาฮีแห่งญี่ปุ่นก็วื้อสิทธิทบัตรการผลิตกระจกนี้มาจากพิวริงตันเช่นกัน

การ์เดี้ยนอินดัสตรี้ได้ใช้สิทธิการซื้อสิทธิบัตรลงทุนผลิตกระจกในหลายประเทศทั่วโลก เมื่อ 2 ปีที่แล้วได้เข้าไปขอลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ถูกสกัดกั้นจากผู้ผลิตกระจกในมาเลเซียจนไม่สามารถจะเปิดโรงงานได้สำเร็จ ซึ่งเป็นบทเรียนครั้งสำคัญในการก้าวเข้ามาสู่การลงทุนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

การเข้ามาเมืองไทยได้ร่วมลงทุนกับกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยเสนอโครงการขอส่งเสริมการลงทุนผลิตกระจกแผ่นเรียบจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2532 โดยจะใช้เงินลงทุนตามโครงการประมาณ 3,000 ล้านบาท ในสัดส่วน 49 ต่อ 51 ระหว่างอเมริกากับไทย กำลังผลิตจะตกประมาณปีละ 130,000 ตันต่อปี ส่งออกและขายในประเทศอย่างละ 50% ของกำลังการผลิตทั้งหมด

โครงการถูกส่งขึ้นไปตามลำดับขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ในบาโอไอจนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ แต่กลับมีมติออกมาไม่แจ้งชัดนักระหว่างให้งดการส่งเสริมหรือว่าให้งดการพิจารณาในการประชุมคราวนั้นแล้วให้นำมาพิจารณาใหม่ในภายหลัง

เรื่องยังไม่ได้เป็นที่สรุปออกมาชัดแจ้งและขณะที่กำลังโต้เถียงกันอยู่ระหว่างกรรมการและที่ปรึกษาที่เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้นว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร กลางเดือนเมษายนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บรรหาร ศิลปอาชา ก็ใช้อำนาจที่มีอยู่ออกประกาศกระทรวงห้ามอนุญาตตั้งและเปิดโรงงานผลิตกระจกแผ่นเรียบเป็นเวลาติดต่อกันถึง 5 ปี

ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดฉากข้อโต้แย้งทั้งมวลกันที่ปลายทางอย่างได้ผลที่สุด โดยไม่จำเป็นจะต้องรอฟ้งผลการสรุปของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนว่าจะให้การส่งเสริมหรือไม่

การให้การส่งเสริมนั้นเป็นการให้สิทธิพิเศษทางภาษี ทั้งภาษีศุลกากรยกเว้นให้ในการนำเข้าเครื่องจักรและภาษีเงินได้เป็นระยะเวลาพอสมควรตามเงื่อนไขของแต่ละโครงการ แต่การอนุญาตให้ตั้งหรือเปิดหรือขยายโรงงานนั้นเป็นอำนาจของกระทรวงอุตสาหกรรม ฉะนั้นกรณีนี้ก็คือไม่ว่าโครงการจะได้รับการส่งเสริมหรือไม่ไม่สำคัญ แต่โรงงานจะเปิดไม่ได้ตามประกาศของกระทรวงฉบับดังกล่าว ซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2532 ห่างาจากวันที่ปูนยื่นโครงกรต่อบีโอไอเพียงเดือนเศษเท่านั้นเอง

เหตุผลที่นำมาอ้างว่าปริมาณการผลิตในประเทศมากเกินกว่าความต้องการของตลาดอยู่แล้วนั้น เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่กลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งซึ่งมีภาพของญี่ปุ่นอยู่ข้างหลังกล่าวอ้าง

แม้ บรรหาร ศิลปอาชา จะบอกว่าไม่เกี่ยวกับการวิ่งเต้นชี้แจงของกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งต่อคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในช่วงที่ผ่านมาแต่อย่างใด

แต่ผลของประกาศดังกล่าวก็ตกเป็นประโยชน์แก่บริษัทกระจกไทย-อาซาฮีอย่างปฏิเสธไม่ได้

"ปัจจุบันโรงงานกระจกไทย-อาซาฮีมีกำลังการผลิต 500 ตัน/วัน เมื่อรวมกับของบริษัทกระจกสยาม ซึ่งมีกำลังการผลิตปัจจุบันอีก 120 ตัน/วัน และของบริษัทบางกอกโฟลทกลาส (กระจกไทย-อาซาฮีกำลังจะเข้าเทคโอเวอร์) อีกจำนวน 500 ตัน/วัน ซึ่งจะเริ่มผลิตในอีก 2 ปีข้างหน้ารวมแล้วในปี 2534-2535 กำลังการผลิตกระจกรวมทั้งสิ้นจะตกประมาณ 1,120 ตัน/วัน ในขณะที่ความต้องการของตลาดในประเทศมีเพียง 400 ตัน/วัน และอีก 5 ปีข้างหน้าความต้องการกระจกจะเพิ่มขึ้นเป็น 540 ตัน/วัน โดยคำนวณจากตลาดที่ขยายตัวปีละประมาณ 7% ในขณะที่ตัดส่วนที่จะต้องส่งออกตามเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนออกไปแล้วก็จะยังมีปริมาณที่จะต้องจำหน่ายในประเทศสูงถึง 570 ตัน/วัน" คำชี้แจงเรื่องกำลังการผลิตของ สมบัติ พานิชชีวะ กรรมการอำนวจการบริษัทกระจกไทย-อาซาฮี

ในขณะที่ทางปูนซิเมนต์ไทยในฐานะผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างเชื่อมั่นว่าความต้องการกระจกในประเทศยังมีอยู่สูงมาก โดยอ้างจากฐานการขยายตัวของธุรกิจก่อสร้างในระยะสองปีที่ผ่านมาและโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของภาครัฐบาลซึ่งมีอีกมากมาย ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนอำจนวนมหาศาล

ปูนซิเมนต์ไทยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตวัสดุก่อสร้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกือบจะเรียกได้ว่ามีวัสดุที่กลุ่มนี้ผลิตครบวงจรทั้งหมด นับตั้งแต่ปูนซิเมนต์ไทยอันเป็นสินค้าดั้งเดิมที่ผลิตขึ้นมาเมื่อ 70 ปีก่อนเหล็ก คอนกรีต กระเบื้อง ตลอดทั้งสุขภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ตกแต่งต่าง ๆ ยังขาดก็แต่เพียงกระจกเท่านั้น

การย่างก้าวที่จะเป็นผู้ผลิตกระจกในประเทศไทยอีกรายหนึ่งจึงมีความหมายอย่างมากทั้งต่อปูนซิเมนต์ไทยเองและต่อกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮี เพราะกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยนอกจากจะเป็นผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดแล้ว ยังเป็นกลุ่มที่มีระบบการตลาดและเครือข่ายของตัวแทนจำหน่ายแน่นหนาที่สุดอีกด้วย

ตัวแทนจำหน่ายสินค้าตราช้างของปูนนั้นมีนับพันรายทั่วประเทศไทย นับเป็นเครือข่ายที่พร้อมจะจำหน่ายกระจกได้ทุกเมื่อโดยไม่ต้องเรียนรู้อะไรอีกมากมาย นับเป้นความได้เปรียบที่น่ากลัวของกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮีซึ่งใช้วิธีการจัดจำหน่ายแบบผ่านตัวแทนเป็นทอด ๆ เหมือนระบบการค้าดั้งเดิม

ประเด็นการถกเถียงในเรื่องปริมาณการผลิตต่อปริมาณความต้องการของตลาดในอนาคตนั้น เป็นเรื่องของการคาดการณ์มันจึงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปได้ยาก เพราะต่างก็ใช้ฐานในการคำนวณแตกต่างกัน แต่สิ่งที่จะปฏิเสธไม่ได้อย่างหนึ่งก็คือว่าถ้าเปิดให้มีการค้าแข่งขันกันเสรี ประโยชน์ย่อมจะตกแก่ประชาชนผู้บริโภคทั้งในด้านคุณภาพและราคา "จะมีใครรู้บ้างว่า กระจกแผ่นเรียบของไทย-อาซาฮีขายทุกวันนี้แพงที่สุดในโลกตกตันละ 850 เหรียญ ถ้าให้การ์เดี้ยน ผลิตจะขายได้ในราคาตันละ 550 เหรียญเท่านั้น" เป็นคำกล่าวทิ้งท้ายของคนในปูนซิเมนต์ไทยก่อนที่จะหยุดการเคลื่อนไหวใด ๆ สลับกันการออกมาวิ่งเต้นของตัวแทนบริษัทการ์เดี้ยนอุตสาหกรรมและนักการทูตของสหรัฐฯในประเทศไทย

การเคลื่อนไหวของสหรัฐอเมริกาเต็มไปด้วยความรุนแรงหนักหน่วงและต่อเนื่องฉับไว นำโดย แดเนียล โอ.ดอนโนฮิวเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยนั่นหมายถึง เรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยประกาศห้ามอนุญาตผลิตกระจกในไทยเป็นเวลา 5 ปี เท่ากับเป็นการทุบโครงการลงทุนของคนอเมริกันอย่างซึ่ง ๆ หน้า มันได้กลายเป็นความขัดแย้งระดับนโยบายของรัฐบาลอเมริกันซะแล้ว

เจ้าหน้าที่ในสถานทูตจะต้องได้รับคำสั่งโดยตรงจากทำเนียบขาวให้ตอบโต้เรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะมันเป็นกรณีตัวอย่างที่รัฐบาลไทยไม่ให้ความเป็นธรรมต่อนักลงทุนจากสหรัฐฯ เพราะเหตุผลของบรรหารใช้ฐานข้อมูลของฝ่ายกลุ่มไทย-อาซาฮีแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่เคยนำข้อมูลการ์เดี้ยนมาพิจารณาเลย

ดังนั้นไม้ตายที่การ์เดี้ยนนำมาต่องรองคือเอาชื่อประเทศไทยเข้าบัญชีเป็นประเทศที่จะต้องสอบสวนตามมาตรา 301 ของพระราชบัญญัติการค้าของสหรัฐฯ

แดเนียล โอ.ดอนโนฮิว เอกอัตรราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยเดินเกมเรื่องนี้หลังจากที่ บรรหาร ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศปิดทางการลงทุนของการ์เดี้ยนอินดัสตรี้แห่งสหรัฐฯด้วยการวิ่งเต้นชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดต่อ ชีระ ภาณุพงศ์เลขาธิการบีโอไอก่อนที่จะสรุปเรื่องร้องเรียนต่อ กร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งดูแลรับผิดชอบสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงุทนโดยตรง อีกครั้งหนึ่งในเวลาติด ๆ กัน เพื่ขอให้กรเสนอรัฐบาลให้ทบทวนการพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนแก่การ์เดี้ยนอินดัสตรี้แห่งสหรัฐอเมริกาเสียใหม่

แดเนียลได้ร้องเรียนแกมขอร้องบังคับอยู่ในตัวหนังสือที่ส่งถึงกร เขากล่าวย้ำหนักแน่นว่าปริมาณการผลิตกระจกในประเทศไทยจากผลการศึกษาของเขายังไม่เพียงพอต่อความต้อกงารของตลาดในประเทศ ก่อนที่จะย้ำถึงผู้ผลิตในปัจจุบันก็ยังมีสัดส่วนการส่งออกขายในต่างประเทศน้อยกว่าที่กลุ่มการ์เดี้ยนเสนอ และตบท้ายว่า ถ้าหากไม่สนับสนุนการ์เดี้ยนซึ่งร่วมกับปูนซิเมนต์ไทยผลิตกระจกในประเทศไทยแล้ว ก็ดูท่าว่าแนวโน้มการส่งออกของไทยก็จะลดลงพอสมควร

นั่นเป็นภาษาการทูตที่บอกว่าถ้าไม่สนับสนุนคนของเขาผลิตกระจกในประเทศไทยแล้ว ก็เห็นทีการส่งออกสินค้าไทยไปขายยังสหรัฐอเมริกาก็คงจะลำบากด้วยเป็นการสื่อให้เห็นถึงเจตนาที่สหรัฐฯต้องการใช้มาตร 301 มาตอบโต้อย่างชัดเจนที่สุด

นับว่าเป็นเรื่องน่าหนักใจมิใช่น้อยสำหรับกร เพราะถ้าเขาไม่สามรถเคลียร์กับบรรหาเกี่ยวกัปบระกาศกระทรวงฉบับดังกล่าวได้แล้ว ประเทศไทยก็จะถูกกดดันอย่างมากจากสหรัฐฯ แต่ถ้าเขาเลือกที่จะลดแรงกดดันจากสหรัฐฯเพื่อเห็นแก่ผู้ส่งออกของไทยที่มีจำนวนมากมาย โดยพิจารณาให้การ์เดี้ยน ได้เปิดโรงงานผลิตกระจกในเมืองไทย เขาก็จะถูกกดดันอย่างมากจากคนในพรรคเดียวกันอย่าง บรรหาร ศิลปอาชา และกรรมการพรรคคนอื่น ๆ อีกหลายคน

กร ทัพพะรังสี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบหน่วยงานบีโอไอโดยตรง เขาได้ประกาศนโยบายชัดแจ้งที่จะให้บีโอไอปรับเปลี่ยนแนวทางการให้การส่งเสริมการลงทุนแก่นักลงุทนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศเสียใหม่

กรต้องการให้เน้นการให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการของคนไทยเป้นอันดับแรก โดยเฉพาะคนไทยในส่วนภูมิภาค เพื่อจะให้มีการกระจายการลงทุนออกไปอย่างกว้างขวาง แต่ถ้าจะมีชาวต่างประเทสเข้าร่วมลงทุนและขอส่งเสริมด้วยเขาก็ต้องการให้เน้นส่งเสริมธุรกิจที่มีการนำเข้าเทคโนโลยีระดับสูงที่ไทยยังขาดอยู่เข้ามา

และที่กรย้ำมากนั้นคือการกระจายการส่งเสริมการลงทุนไปสู่นักลงทุนจากประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะนักลงทุนจากยุโรปอเมริกา เพราะที่ผ่านมาบีโอไอให้การส่งเสริมแก่นักลงทุนจากญี่ปุ่นมากกว่านักลงทุนจากย่านอื่น ๆ

นโยบายของกรเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะนอกจากจะเป็นการขยายตลาดสินค้าไทย และถ่วงดุลการขึ้นต่อเทคโนโลยีการผลิตของญี่ปุ่นไปในตัวแล้ว ยังเป็นการลดแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาได้เป็นอย่างดี

เรื่องปัญหาการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะมาตรา 301 แห่งพระราชบัญญัติการค้าสหรัฐอเมริกานี้ คณะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษที่จะหาทางตอบโต้กับสหรัฐอเมริกา นโยบายที่ออกมาโดยผ่านทางบีโอไอก็ว่ากันว่าเป็นหนทางหนึ่งในการป้องกันไม่ให้สหรัฐฯใช้มาตรา 301 เพื่อกีดกันการนำเข้าสินค้าจากพ่อค้าไทย โดยวิธีดึงเอานักลงทุนจากสหรัฐฯมาลงทุนในไทยมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา

ในปี 2530 อันเป็นปีสุดท้ายก่อนที่รัฐบาลชุด พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ จะลงจากเวทีมีตัวเลขรวมเงินลงทุนที่บีโอไอให้การส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 685,004 ล้านบาท เป็นการร่วมลงทุนจากกลุ่มนักลงทุนญี่ปุ่นสูงถึง 288,721 ล้านบาท นับเป็นจำนวนรายได้ 366 ราย ในขณะที่นักลงทุนจากสหรัฐอเมริกาแม้จะสูงอยู่ในอันดับสองแต่ก็มีจำนวนเงินที่ได้รับการส่งเสริมเพียง 76,501 ล้านบาทเท่านั้น นับเป็นจำนวนรายได้ 105 ราย ซึ่งห่างกับญี่ปุ่นกว่าเท่าตัวและอันดับที่สามได้แก่นักลงทุนจากไต้หวันรวมเงินลงทุนจำนวน 48,419 ล้านบาทนับเป็นจำนวนรายได้ 388 ราย แสดงว่านักลงทุนจากไต้หวันส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนขนาดย่อมมากกว่าขนาดใหญ่

ที่เหลือเป็นกลุ่มนักลงทุนจากภูมิภาคอื่น ๆ ส่วนยุโรปนั้นมีเพียงประเทศละไม่กี่สิบราย

เป็นที่ทราบกันดีว่าญี่ปุ่นได้ไหลบ่าเข้ามาเมืองไทยมากขึ้นเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่การออกไปของสหรัฐอเมริกาหลังเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยเฉพาะเข้าในรูปของโครงการเงินให้กู้สนับสนุนโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของรัฐบาล และติดตามด้วยการเข้ามาลงทุนของเอกชนร่วมกับเอกชนฝ่ายไทย

การเข้ามาของญี่ปุ่นนอกจากความจำเป็นของเขาเองในด้านทรัพยากรธรรมชาติค่าแรง และแนวโน้มสินค้าญี่ปุ่นถูกกีดกันจึงต้องเข้ามาผลิตในประเทศ ที่ยังไม่ถูกกีดกันสินค้าแล้วศูนย์อำนาจทางการเมืองของไทยในขณะนั้นก็นับว่ามีส่วนสนับสนุนการไหลเข้ามาเป็นจำนวนมากของนักลงทุนจากญี่ปุ่นอีกด้วย

ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือในยุคของ สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า สมหมายเป็นนักเรียนเก่าญี่ปุ่นรุ่นแรก ๆ และสายสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับผู้นำในไคดังเรนและมิติของญี่ปุ่น

จะเห็นได้ว่าในหน่วยงานที่สมหมาย ฮุนตระกูล มีส่วนเกี่ยวข้องล้วนแต่มีญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ในกระทรวงการคลังก็กู้เงินจากญี่ปุ่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งสมหมายเป็นประธานอยู่นั้นก็ร่วมทุนกับทางญี่ปุ่นแล้วกู้เงินญี่ปุ่นเข้ามาใช้ หรือแม้แต่บริษัทปูนซิเมนต์ไทยที่สมหมายเคยเป็นกรรมการผู้จัดการและกรรมการอีกหลายปี ก็มีญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องในรูปของการร่วมลงทุนก็มีหลายโครงการมิใช่น้อย หรือบริษัทนันทวันซึ่งเป็นบริษัทส่วนตัวของสมหมายก็เข้าไปถือหุ้นในธุรกิจในเครือมิตซุยอยู่หลายแห่ง

ส่วนในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งสมหมายเป็นกรรมการอยู่ด้วยหลายสมัย ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งได้รับการแนะนำมาจากเขาด้วย

ด้วยเหตุนี้กระมังที่รัฐบาลชุดใหม่จึงต้องมีคำสั่งให้มีการทบทวนบทบาทของบีโอไอ เพื่อหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนโยบายในการส่งเสริมการลงทุนเสียใหม่ในทันทีที่เข้ารับหน้าที่บริหารประเทศ

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้มีการแต่งตั้งเอา ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทยที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี และเป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาอบรมมาจากฮาร์วาร์ดด้านกฎหมายและทุกวันนี้เป็นมันสมองของนายกฯชาติชาย ผู้หนึ่งที่คอยให้คำปรึกษาแก้เกมกดดันการค้าการลงทุนในทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯต่อประเทศไทยด้วย เข้าเป็นกรรมการบีโอไอแทน สมหมาย ฮุนตระกูล และแต่งตั้ง ดร. วีระพงษ์ รามางกูร อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์และเป็นนักวิชาการที่เคยมีบทบาทในการเจรจาเรื่องการค้ากับทางรัฐบาลสหรัฐฯมาแล้วครั้งหนึ่งเข้าเป็นกรรมการแทน บุญมา วงศ์สวรรค์ นั่นดูจะสามารถอธิบายถึงแนวทางการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ได้อย่างแจ่มชัด

กร ทัพพะรังสี ได้นำเรื่องการร้องเรียนของการ์เดี้ยนอุตสาหกรรมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจแล้วเมื่อกลางเดือนมิถุนายน ซึ่งมี บรรหาร ศิลปอาชา ร่วม ร่วมนั่งประชุมอยู่ด้วย ซึ่งที่ประชุมอยู่ด้วย ซึ่งที่ประชุมมีมติออกมาให้มีการทบทวนเรื่องการให้การส่งเสริมการลงุทนแก่บริษัทการ์เดี้ยนอุตสาหกรรมผลิตกระจกในประเทศอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะมาพิจารณาถึงประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่จะดำเนินการอย่างไร

แล้วในที่สุดรัฐบาลก็ต้องเลือกเอาระหว่างการคุ้มครองการผูกขาดของกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮีแล้วจะต้องปะทะกับแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกากรณีมาตรา 301 ซึ่งผู้ส่งออกของไทยจำนวนมากจะต้องเดือดร้อนกับการเปิดให้มีการผลิตกระจกโดยเสรีแต่จะต้องตัดสวาทสัมพันธ์กับกลุ่มกระจกไทย-อาซาฮีซึ่งมีต่อกันมายาวนานของกลุ่มอำนาจซอยราชครู

และพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ตอกย้ำว่จะเปิดให้มีการผลิตกระจกและปูนซิเมนต์อย่างเสรีเมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นั่นหมายความว่าจะหมดยุคการใช้สายสัมพันธ์ทางการเมืองชี้นำธุรกิจของกลุ่มศรีเฟื่องฟุ้งอีกต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us