Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 มิถุนายน 2551
ศก.ซบ'หนี้เน่า'บัตรเครดิตพุ่ง ถกธปท.ลดเกณฑ์จ่ายขั้นต้น             
 


   
search resources

โชค ณ ระนอง
Credit Card




ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตเตรียมยื่นหนังสือของผ่อนผันเกณฑ์การชำระขั้นต่ำจาก 10% ลงมาเหลือ 5% หลังผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงจนกลายเป็นเอ็นพีแอล ระบุอีก 2-3 เดือนพร้อมปรับค่าธรรมเนียมลูกค้าต่างชาติที่ถือบัตรมาสเตอร์การ์ดมาใช้จ่ายในเมืองไทย

นายโชค ณ ระนอง ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ในฐานะประธานชมรมธุรกิจบัตรเครดิต เปิดเผยว่า ในการประชุมของชมรมฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีสมาชิก 3-4 แห่ง เสนอให้ชมรมเข้าหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อขอผ่อนผันเกณฑ์การชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 10% ลงมาอยู่ที่ 5% อีกระยะหนึ่งหลังจากที่ได้เคยผ่อนผันมาแล้ว

เนื่องจากการปรับขึ้นเกณฑ์ชำระขั้นต่ำมาอยู่ที่ 10% ในช่วงที่ผ่านมานั้นได้ส่งผลกระทบต่อลูกค้าทำให้ต้องมีการผ่อนชำระขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และเมื่อเศรษฐกิจต้องเผชิญกับปัจจัยลบมากมายทำให้จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นจึงน่าจะบรรเทาปัญหาโดยการผ่อนเกณฑ์ให้ชำระขั้นต่ำไปอีกระยะหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม หากธปท.ยอมผ่อนปรนเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ธนาคารสมาชิกอาจจะไม่ได้มีปรับเกณฑ์มาใช้เกณฑ์ขั้นต่ำที่ 5% ทั้งหมด และเชื่อว่าแต่ละธนาคารคงจะมีการพิจารณาและดูแลถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ อีกทั้งการปรับลดเกณฑ์ขั้นต่ำมาที่ 5% ไม่ได้หมายความว่าหนี้ดังกล่าวจะไม่เป็นเอ็นพีแอล

"ขั้นตอนที่ต้องทำหลังจากการประชุมของชมรมฯ ก็คือต้องรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้กับ ธปท.ได้ดู ว่าคนที่เคยจ่าย 5% แล้วต้องมาจ่าย 10% มีปัญหาอะไรหรือทำให้เขาไม่มีกำลังชำระอย่างไรบ้าง คาดว่าจะใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลประมาณ 1 เดือนก่อนจะนำเสนอ ธปท. แต่หากได้รับการอนุญาตจาก ธปท. แล้วในส่วนของแบงก์กรุงเทพเองคงจะไม่มีการปรับมาคิดที่ 5% แน่นอนเพราะที่ผ่านมาได้ใช้เกณฑ์ชำระขั้นต่ำที่ 10% มาโดยตลอด"

นายโชค กล่าวว่า ทางชมรมยังได้พูดคุยกันถึงเพดานอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตที่ 20% ซึ่งในขณะนี้ก็เริ่มตรึงตัวเพราะค่าใช้จ่ายมีการเพิ่มขึ้น ซึ่งคงรอเวลาอีกระยะหนึ่งที่จะเข้าหารือกับ ธปท. เพื่อขอให้มีการแข่งขันอัตราดอกเบี้ยกันเอง แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ธปท. คงจะยังไม่สะดวกที่จะพิจารณาเรื่องดังกล่าว เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันคงต้องดูแลเรื่องของหนี้ภาคครัวเรือน

สำหรับกรณีที่บริษัท มาสเตอร์การ์ด ได้ขึ้นค่าธรรมเนียมบัตรต่างประเทศที่นำมาใช้ในประเทศไทย โดยให้เหตุผลว่าเป็นค่าปรับปรุงระบบ และเป็นการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมทั่วโลก ซึ่งทางชมรมได้ขอให้ทางมาสเตอร์การ์ดพิจารณาว่าจะสามารถผ่อนปรนวิธีไหนได้บ้างนั้นตอนนี้ยังไม่ได้รับคำตอบอะไรจากมาสเตอร์การ์ด ส่วนความคืบหน้าของธนาคารผู้ทำธุรกิจร่วมกับร้านค้าที่รับบัตรนั้นขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบไอทีเพื่อแยกข้อมูลว่าบัตรไหนเป็นบัตรของต่างประเทศที่เข้ามาใช้ในประเทศไทย โดยคาดว่าอีก 2-3 เดือนจึงจะมีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว

ส่วนกรณีที่ร้านค้าไม่ยอมรับบัตรแพลตินัมนั้น ในเร็ว ๆ นี้ทางวีซ่ากำลังจะออกข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้ถือบัตรแพลตินัม โดยเบื้องต้นคือผู้ที่จะถือได้จะต้องมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 200,000 บาทขึ้นไป สำหรับบัตรที่ออกไปก่อนหน้าจะมีการบริหารจัดการอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับแนวทางของแต่ละแห่ง

นายโชค กล่าวอีกว่า การทำธุรกิจบัตรเครดิตในตอนนี้คงมีกำไรยาก แต่ธนาคารยังไม่ได้ปรับเป้าหมายการเติบโตของธุรกิจลง โดยทุกธนาคารควรมีความระมัดระวัง ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกลไกในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ทั้งเรื่องของยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรที่ลดลงโดยเห็นตัวตัวเลขที่ ธปท.รายงาน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบันทำให้ไม่มีใครอยากจะใช้จ่าย อีกทั้งยังมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นซึ่งเป็นตัวผลักดันให้ราคาสินค้ามีการเพิ่มขึ้น

"แบงก์ยังไม่ปรับเป้าหมายลง แต่การทำธุรกิจปีนี้คงไม่ง่าย ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกของเศรษฐกิจที่ไม่ดี ก็ต้องระวังว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างไรต่อไป แบงก์เองก็คงต้องสู้กันเต็มที่เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดเอาไว้ แต่ทั้งปีก็จะพยายามให้ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งปีก่อนเรามีการเพิ่มขึ้นของบัตรใหม่ 150,000 บัตร ปีนี้เป้าหมายค่อนข้างสูง โดยเป้าบัตรใหม่ปีนี้ก็เกิน 200,000 บัตร"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us