Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน18 มิถุนายน 2551
ไม่ฟันธงกนง.ขึ้นดอกเบี้ย เหตุอาจจำใจสนองรัฐบาล             
 


   
search resources

Interest Rate
อาสา อินทรวิชัย




ผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ เเนะเข้าลงทุนพันธบัตรระยะสั้น พร้อมเสริมสภาพคล่องด้วยการลงทุนผ่านกอง Money Market เพื่อเป็นมาตรการรับมือหากกนง.เตรียมขึ้นอัตราดอกเบี้ยสะกัดเงินเฟ้อ แต่ยังไม่ฟันธงมติประชุมกนง.ครั้งนี้ ว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ เหตุอาจจำใจสนองนโยบายรัฐบาล กดนิ่งอัตราดอกเบี้ยต่อไป เพื่อทำฝัน "ครม.หมัก"เห็นตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจขยายตัว

นาย อาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวถึงสถานกาณ์ตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยว่า ในช่วงเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ผลตอบเเทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นทุกช่วงอายุ ซึ่งการปรับตัวขึ้นของผลตอบเเทนนี้สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศเป็นอย่างมาก

โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ที่จะประชุมในวันที่ 21 กรกฏาคมนี้ ตามที่คาดการณ์กันไว้คือ กนง.น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่หลายฝ่ายกังวลว่าในเดือนมิถุนายน อาจจะขึ้นไปถึง 9-10% เลยทีเดียว ซึ่งที่ผ่านมาเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น บวกกับปัจจัยเรื่องการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีทิศทางว่าจะเป็นอย่างไร พร้อมกับปัญหาเรื่องอื่นๆที่เข้ามาอีกไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าเงินบาท หรือเรื่องราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น

"เมื่อ กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเเล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ก็จะปรับเปลี่ยนทิศทางอีกครั้ง โดยพันธบัตร ระยะสั้นเช่น3 เดือน เเละ 6 เดือนของรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าธนาคารพาณิชย์ หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ รวมถึงหุ้นกู้ภาคเอกชนที่เป็นบริษัทใหญ่ๆ เช่น บริษัทโตโยต้า หรือบริษัทปูนซีเมนต์ จะน่าลงทุนมากกว่าพันธบัตรระยะยาว" นาย อาสา กล่าว

สำหรับการปรับพอร์ตการลงทุนตราสารหนี้ในช่วงนี้ คือเน้นลงทุนกองทุนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นที่เป็นกองทุนปิด หรือล๊อกอายุการลงทุน เเละกำหนดผลตอบเเทนของการลงทุน รวมทั้งอาจเลือกลงทุนกองทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ที่ยังให้ผลตอบเเทนดีอยู่ พร้อมกับเสริมสภาพคล่องให้กับตนเองเช่นลงทุนในกองทุน Money Market เป็นต้น

ด้าน นายสมชัย บุญนำศิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยตั้งเเต่ต้นปีที่ผ่านมา ทิศทางค่อนข้างเปลี่ยนเเปลงบ่อย ด้วยปัจจัยเรื่องของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ว่าจะปรับลดหรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐซึ่งส่งผลทำให้ประเทศไทยต้องดูทิศทางต่อไปอีกว่าจะยืนอัตราดอกเบี้ยตามเดิม หรือปรับลดปรับเพิ่มตามเฟดอีกหรือไม่

"โดยการประชุมของกนง.ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ น่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดเเรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่หลายฝ่ายมองว่าอีกไม่นานนี้ อัตราเงินเฟ้อน่าจะขึ้นไปถึง 2 หลัก ทำให้พันธบัตรระยะยาวอาจได้รับผลกระทบในเเง่ของผลตอบเเทน ซึ่งการลงทุนพันธบัตรระยะสั้นในประเทศจะกลับเข้ามาน่าสนใจอีกครั้งเเละการลงทุนในกองทุน Money Market จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น " นายสมชัย กล่าว

ขณะที่เเหล่งข่าวจากผู้จัดการกองทุนตราสารหนี้ รายหนึ่ง กล่าวว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสะกัดเงินเฟ้อของกนง.จะทำให้ตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจจะลดลงเเละไม่เติบโต ตามที่นโยบายของรัฐบาลวางไว้ จึงไม่เเน่ใจว่ากนง.จะสนองนโยบายรัฐบาลหรือจะสะกัดกั้นตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งถ้าไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยรตอนนี้ ความเป็นไปได้ในการปรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคตก็คงยังมีอยู่เช่นกัน

ส่วนการลงทุนที่ให้ผลตอบเเทนที่ดีในระยะนี้คงต้องเป็นพันธบัตรระยะสั้นเช่น 6 เดือนถึง 3 ปีโดยอาจจะลงทุนในพันธบัตรเกาหลีควบคู่ไปด้วยก็ได้ ซึ่งตราสารหนี้ในประเทศเกาหลี ที่ปิดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนยังคงให้ผลตอบแทนที่ดี

ก่อนหน้านี้ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึงการใช้นโยบายการเงินในช่วงที่ภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นว่า จากความต้องการบริโภคราคาน้ำมันมีมากกว่าด้านผลิต จึงจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายจากราคาสินค้าลดลงมา ขณะเดียวกันการคาดการณ์ของอัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดความมั่นใจ โดยหากมีการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวสูงจะยิ่งกดดันให้มีการใช้จ่ายล่วงหน้าและมีการปรับต้นทุนสูงขึ้น ถือเป็นวงจรต่อเนื่องไป ซึ่งหากเกิดสถานการณ์เช่นนี้จะยิ่งทำให้ควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ยาก ดังนั้น การทำหน้าที่ของกนง.จึงต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้กรอบที่สามารถรับได้ โดยทำให้อัตราเงินเฟ้อถึงจุดหนึ่งไม่สูงจนเกินไปจนเกิดความเสี่ยงได้ จึงจำเป็นที่ต้องใช้นโยบายการเงินผ่านอัตราดอกเบี้ยเข้ามาควบคุมดูแล

โดยอัตราเงินเฟ้อมีโอกาสปรับตัวขึ้นตัวเลข 2 หลักได้ในบางเดือน โดยขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน โดยเฉพาะเมื่อเทียบฐานเงินเฟ้อของปีก่อนต่ำกว่า แต่หากเฉลี่ยทั้งปีราคาน้ำมันน่าจะน้อยกว่า อย่างไรก็ตามธปท.ไม่ได้ส่งสัญญาณว่ากนง.จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งต่อไป คือ 16 ก.ค. นี้ ซึ่งการประชุมแต่ละครั้งจำเป็นต้องดูข้อมูลด้านเศรษฐกิจและตัวเลขต่างๆ ที่มีอยู่ล่าสุด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us