Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532
ความสุขแบบนภพร เรืองสกุล             
 


   
search resources

นภพร เรืองสกุล
Banking
ธนาคารไทยทนุ




การใช้ชีวิตท่ามกลางความซับซ้อนสับสนวุ่นวายของสังคมสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยการแข่งขันกับเวลามากขึ้นสิ่งที่ตามมาคือความเครียด สถิติคนเป็นโรคจิต-โรคประสาทสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ความสุขซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนากลายเป็นสิ่งหายากและออกจะเป็นเรื่องแปลกหากใครจะบอกว่าตัวเองมีความสุข

นภพร เรืองสกุล วันนี้เธอเป็นแบงเกอร์เต็มตัวในตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทั่วไปธนาคารไทยทนุ เป็นนักบริหารหญิงชั้นนำที่พูดได้เต็มปากอย่างไม่ขัดเขินว่าตัวเอง "มีความสุข"

คนในแวดวงสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะรู้จักชื่อนภพร เรืองสกุลดี เพราะเธอมีอดีตเป็นถึงรองผู้อำนวยการฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ และผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน แต่เอาเข้าจริงก็ไม่ค่อยมีคนรู้จักตัวตนลึกๆของเธอ หรือแม้กระทั่งทัศนะทั่วๆไปของเธอเท่าไหร่นัก ทั้งๆที่เป็นคนหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและการแก้ปัญหาสถาบันการเงินที่ผ่านมา

นั่นเป็นเพราะนภพร เป็นคนที่ไม่ชอบให้ข่าวหรือให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ ซึ่งจะเป็นบุคลิคที่แตกต่างไปจากผู้บริหารแบงก์ชาติหลายๆคน เธอจึงไม่เป็นที่โปรดปานของบรรดากระจิบกระจอกข่าวนัก บางคนบอกว่า "คุณนภพรเป็นคนฉลาดมาก แต่แข็งไปหน่อย (เลยอยู่แบงก์ชาติลำบาก) แถมหยิ่งอีกต่างหาก"

แต่คนที่มีความเชื่อมั่นใในตัวเองสูงอย่างนภพรดูจะไม่สนใจภาพพจน์ของตัวเองต่อสาธารณชนนัก ยังคงมีความสุขกับการทำงานอย่างเงียบๆ โดยยึดหลักการทำงานเพื่องานเป็นเครื่องพิสูจน์

"เราทำงานแล้วผลงานเราก็ออกมาเองไม่ใช่เหรอ งานที่ตัวเองทำพูดไปแล้วคนข้างนอกก็จะไม่เข้าใจ หลายอย่างมันเป็นเรื่องที่ทำให้การทำงานมันสะดวกขึ้นบางครั้งปมปัญหามันติดอยู่นานแล้วไม่รู้จะทำอย่างไรกัน พอเราศึกษาเข้าใจแล้ววิธีแก้ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก แก้เรื่องที่มันติดอยู่จุดหนึ่งได้จะทำให้เรื่องอื่นดำเนินไปได้"นภพรแสดงทัศนะ

นภพร เป็นคนที่มีประวัติการศึกษาโดดเด่นมากคนหนึ่งสมัยที่เรียนอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมในแผนกอักษรศาสตร์ สามารถทำคะแนนได้เป็นอันดับหนึ่งสูงกว่าแผนกวิทยาศาสตร์ชื่อของเธอยังติดอยู่ที่บอร์ดของโรงเรียนปัจจุบันนี้ ในปีเดียวกันนั้นการสอบม.ปลายของนักเรียนทั่วประเทศเธอก็ได้ที่หนึ่งอีก ยังไม่พอ..สอบเข้าคณะอักษรศาสตร์จุฬาฯได้ที่หนึ่งอีก เรียกว่าปีนั้นเธอกวาดเรียบ

แต่แทนที่เราจะได้นักประวัติศาสต์ตามสาขาที่นภพรเลือกเรียนเมื่อเป็นนิสิตปีหนึ่ง ชีวิตเธอหักเหครั้งสำคัญเมื่อสอบได้ทุนธนาคารแห่งประเทศไทยไปเรียนเศรษฐศาสตร์โดยจบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์จาก GOUCHER COLLEGE , MARYLAND และ ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศจาก UNIVERSITY OF CALIFORNIA ATLOS ANGELES (UCLA)

แม้จะไปเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ แต่นภพรก็ไม่ทิ้งความสนใจด้านสังคมศาสตร์ด้วยวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เธอชอบเรียนคือ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ, ประวัติความคิดนักเศรษฐศาสตร์ปรัชญาว่าด้วยเศรษฐศาสตร์ ซึ่งพื้นฐานเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อความเข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ และงานเขียนของเธอเวลาต่อมา และความที่เป็นคนที่สนใจสิ่งรอบตัว เธอเรียนกระทั่งวิชาดูหนังซึ่ง

นภพรเล่าว่าสนุกมาก เรียนจบกลับมาอาจารย์ป๋วยซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาคารชาติในขณะนั้น ซึ่งได้รับการรายงานผลการศึกษาของนักเรียนทุนทุกเทอม เรียกนภพรไปถามด้วยความสงสัยว่าวิชาดูหนังนี่เขาเรียนอะไรกัน ก็เลยกลายเป็นความรู้ใหม่ของนภพรว่าอาจารย์ป๋วยเป็นคนที่ชอบดูหนังมากๆคนหนึ่ง

นภพรนั้นก็เหมือนผู้บริหารทั่วไปที่มีตารางนัดหมายเต็มไปหมดเหมือนยุ่งอยู่ตลอดเวลาลำพังงานแบงก์ทีเธอรับผิดชอบด้วยการวางแผน และสำนักบริหารเงิน ก็นับว่าหนักพอดู แต่เธอยังมีกิจกรรมพิเศษอีกมากมาย แต่เพื่อนร่วมงานที่ไทยทนุบอก "ผู้จัดการ" ว่า "เธอเป็นคนไม่เครียด ดูสนุก กับงานเสมอ"

"ปกติมักจะเป็นคนไม่มีเวลาว่างอยู่เฉยๆ บางคนบอกว่าไม่ว่าง เขาหมายถึงว่าไม่ว่างจริงๆ แต่สำหรับตัวเองเวลาทั้งหมดถูกจัดให้กับกิจกรรมที่เราพอใจทั้งสิ้น เวลาสำหรับนัดกับเพื่อนการสัมมนาที่น่าสนใจทั้งสิ้นเวลาสำหรับนัดกับเพื่อนการสัมมนาที่น่าสนใจ กีฬาฯที่อยากจะเล่น หนังสือที่อยากจะเขียน ดูมีอะไรทำตลอดเวลา แต่ไม่คิดจะยุ่งหรือเหนื่อย คิดว่าจะทำอะไรต้องสนุกถึงจะทำ อะไรที่ต้องจำใจทำจะไม่ทำ ทำให้ชีวิตมีความสุข แต่สำหรับการทำงานบางทีเราอาจจะไม่พอใจทั้งหมด เราก็ต้องพยายามหาแง่ดีให้ได้อย่างวันก่อนลูกน้องบ่นงานเยอะมีประมาณ 10 ชิ้น ทำเสร็จไปแล้ว 5 ชิ้นก็นึกว่าโล่งเหลืออีก 5 ชิ้นกลับกลายเป็น 7 ชิ้น เขาทำหน้าเคร่งเครียด เราก็บอกว่าอ้าวไม่ดีเหรอไชโยงานเหลืออีกตั้งเยอะแยะ คุณลองคิดดูซิว่าถ้าทำเสร็จหมดอ้าววันนี้ไม่มีอะไรจะทำเศร้า คิดให้มันสบายใจ แล้วจะทำอะไรได้อีกมาก"นภพรเล่าถึงวิธีคิดที่ทำให้เธอมีความสุข

นภพรเป็นคนที่ทำอะไรได้อีกหลายอย่างอยู่เงียบๆ นอกจากเคยไปเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยหอการค้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยศิลปากร เธอยังเขียนหนังสือมาสม่ำเสมอ ที่เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คมีเรื่อง เส้นทางธนาคารพาณิชย์, ฝากเงินให้รวยและเป็นบรรณาธิการร่วมหนังสือแด่อาจารย์ป๋วยการเงินการธนาคารและการดำเนินนโยบบายเศรษฐกิจของประเทศ

ส่วนที่เป็นตำราเรียน นภพรเขียนในหลายกรรมหลายวาระ เช่นตำรา นภพรเขียนในหลายวรรณกรรมหลายวาระ เช่นตำราเรียนเศรษฐศาสตร์สำหรับเด็กมัธยม,ตำราสอนประวัติศาสตร์ไทยสำหรับครูโรงเรียนมัธยมของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (มสธ.) ซึ่งเป็นเรื่องเศษฐกิจไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนถึงปัจจุบัน ต่อมามีการปรับปรุงเพื่อใช้สอนนักศึกษาทั่วไปของคณะศิลปศาสตร์ มสธ. เป็นงานที่ทำสมัยยังทำงานอยู่แบงก์ชาติ

แม้ว่าจะออกมาทำงานแบงก์พาณิชย์แล้วก็ตาม นภพรก็ยังแบ่งเวลาไปเป็นกรรมการผลิตชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยของมสธ.ซึ่งจะมีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งงานนี้เป็นการระดมนักเศรษฐศาสตร์จากหลายสำนักมาช่วยกันอาทิ ฉัตรทิพย์ นาคสุภา แลดิลก วิทยะรัตน์, เมธา ครองแก้ว ... ซึ่งนภพรรับเขียนบทว่าด้วยสถาบันการเงินของไทย ซึ่งอาจารย์ศุภรัตน์ เลิศพานิชกุล คณะศิลปศาสตร์ มสธ. กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าตำราเล่มนี้จะเสร็จในปลายปี 2532 งานชิ้นนี้แทบจะเรียกได้ว่าเป็นตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจเล่มแรก แม้ว่าวิชานี้ได้เปิดสอนมานานพอสมควร แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นเอกสารประกอบการเรียนเท่านั้น

อาจารย์ศุภรัตน์กล่าวถึงนภพรซึ่งร่วมงานกันมากกว่า 3 ปีว่า "คุณนภพรเป็นนักบริหารที่มีความเป็นนักวิชาการสูงมาก อุทิศให้กับงานตำราอย่างนายกย่องเป็นคนที่มีความรู้ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์ ซึ่งหาได้ยากเพราะนักวิชาการทั่วไปมักจับแต่ด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ต่องานศึกษาประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจอย่างมาก"

เมื่อพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจนพภรมีความสุขมากที่จะคุย เธอย้อนเล่าถึงสมัยที่เรียนหนังสือที่เขียนปรัวัติศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไฮติจนถึงเรื่องการเขียนประวัติแบง์ชาติที่เธอมีส่วนด้วย พูดถึงการปรับเปลี่ยนของสังคมไทยในยุคต่างๆ จะเรื่อยไปถึงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆยิ่งคคุยก็ยิ่งรู้สึกว่ามีเรื่องไปนั่งคิดนั่งค้นอีกมากมาย

วันนี้นภพร เรืองสกุลอายุ 45 ปี ยังมีความสุขกับงานแบงก์แต่วันใดก็ตมที่เธอหมดสนุกกับงานแบงก์ เราอาจจะเห็นเธอสนุกสนานกับการศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจอนาคตเราอาจจะได้อ่านงานดีๆที่เธอผลิตออกมา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us