Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
เมื่อ 6 แบงก์ไทยฮึดสู้ แบงก์ลูกครึ่ง             
 


   
search resources

Banking




การเข้ารับตำแหน่งประธานสมาคมธนาคารไทยของจุลกร สิงหโกวินท์ ใน ช่วง ที่โครงสร้างอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์ของไทยเกิดการเปลี่ยน แปลงครั้งใหญ่ในปีนี้ ถือเป็นงาน ที่ท้าทาย ความสามารถของเขาเป็นอย่างยิ่ง

เพราะจากจำนวนธนาคาร ที่เป็นสมาชิกปัจจุบัน 13 แห่ง มีการขีดเส้น แบ่งระหว่างความเป็นธนาคารของคนไทย 8 แห่ง กับธนาคารลูกครึ่ง 5 แห่ง ไว้แล้วอย่างชัดเจน

ในฐานะประธานสมาคม เขาต้องประสานความร่วมมือระหว่างสมาชิก ทั้งหมดให้เป็นไปอย่างราบรื่น

แต่ในฐานะของกรรมการผู้จัดการธนาคารเอเชีย เขาก็คือ มืออาชีพ ที่ต้องบริหารกิจการ เพื่อสร้างกำไรส่งกลับคืนให้บริษัทแม่ คือ ธนาคารเอบีเอ็น แอมโรจากเนเธอร์แลนด์ ที่ได้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ ตั้งแต่ปี 2541

นโยบายเปิดโอกาสให้ธนาคารต่างประเทศ สามารถเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วง 2 ปีเศษ ที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมาก ในการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในประเทศ

ความได้เปรียบในเรื่องของฐานเงินทุน และเทคโนโลยี ทำให้ธนาคารลูกครึ่ง ที่มีต่างชาติถือหุ้นใหญ่นั้น สามารถเปิดเกมรุกได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในธุรกิจ NON BANK ที่หารายได้จากค่าธรรมเนียมเป็นหลัก

ขณะที่ธนาคารของคนไทย ยังอยู่ในวังวนของการแก้ปัญหาภายใน ไม่ว่า จะเป็นการลด NPL การเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มฐานะของเงินกองทุน โดยเฉพาะการถูกบังคับให้ต้องตั้งสำรองให้ได้ครบ 100%

จังหวะ ที่ธนาคารคนไทยอยู่ในภาวะ ที่อ่อนแออย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เหล่าแบงก์ลูกครึ่งถือเป็นโอกาส ที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาผสมผสาน กับกลยุทธ์การตลาดใหม่ๆ เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งลูกค้าจากธนาคารของคน ไทย

ไม่ว่าจะเป็นการรุกเปิดสาขาตาม ห้างสรรพสินค้า สาขาในรูปแบบคีออสแบงก์ และบริการทางการเงินรูปแบบต่างๆ

ที่ฮือฮาที่สุดคือ แคมเปญนำ สลิปบัตรเอทีเอ็มไปชิงโชคของธนาคารเอเชียเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งสร้างความตื่นตัวในการแข่งขันให้กับธนาคารของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง

เพียงแต่ช่วงเวลาดังกล่าว ธนาคารคนไทยยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ

การประกาศตัวเป็นพันธมิตร เปิดให้บริการโอนเงินรายย่อยระหว่าง ธนาคาร (Online Retail Fund Transfer : ORTF) ของธนาคารคนไทยทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วยธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ กรุงศรีอยุธยา และทหารไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ถือเป็นการโต้กลับ การรุกทางด้านการให้บริการธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารไทย อย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก

เพราะบริการนี้จำกัดเฉพาะธนาคารคนไทย 6 แห่ง ไม่เปิดโอกาสให้ธนาคารลูกครึ่งเข้าร่วมด้วย แม้ว่าธนาคาร ลูกครึ่งเหล่านี้ จะมีเทคโนโลยี ที่สามารถพัฒนาเข้ากับระบบของบริการดังกล่าวได้

ORTF คือ บริการโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร โดยผ่านเครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งเป็นให้บริการกับลูกค้า ที่มีบัญชีออมทรัพย์ และบัญชีกระแสรายวัน ของธนาคารทั้ง 6 แห่ง โดยมีวงเงิน ที่สามารถโอนได้สูงสุดในขั้นแรกรายการ ละ 20,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมการโอนครั้งละ 35 บาทต่อรายการทั่วประเทศ และสามารถโอนเงินได้ ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00 น.-21.00 น.

ธนาคารคนไทยทั้ง 6 แห่งนั้น เป็นธนาคารชั้นนำ ที่มีขนาดใหญ่มากในช่วงก่อนเกิดวิกฤติค่าเงินบาท ปี 2540 โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์ และ กสิกรไทย ถือได้ว่าเป็นผู้นำในเรื่องการนำบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์มา ให้บริการกับลูกค้า

ที่สำคัญคือ เครือข่ายสาขา และฐานลูกค้ารายย่อยของธนาคารทั้ง 6 มีขนาดใหญ่มาก เฉพาะเครื่องเอทีเอ็ม ที่มีให้บริการทั่วประเทศ มีจำนวนสูงถึงกว่า 4,000 เครื่อง และมียอดผู้ถือบัตรเอทีเอ็ม รวมกว่า 13 ล้านใบ

เป็นข้อได้เปรียบธนาคารลูกครึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธนาคารขนาดกลางถึงเล็ก มีเครือข่าย ที่แคบกว่า แต่มีฐานเงินทุน และเทคโนโลยีสนับสนุน

ว่ากันว่าธนาคารลูกครึ่งโดยเฉพาะธนาคารเอเชีย และดีบีเอสไทยทนุ ไม่ พอใจมากต่อการรวมตัวของธนาคารคนไทยทั้ง 6 แห่ง ถึงขั้นจะนำเรื่องเข้าสู่ ที่ประชุมสมาคมธนาคารไทย

ซึ่งมีจุลกร สิงหโกวินท์ กรรมการผู้จัดการธนาคารเอเชียเป็นประธาน

แม้จะมีการมองกันว่า ในที่สุดแล้วการรวมตัวให้บริการ ORTF ก็จะเปิดกว้างไปถึงธนาคารลูกครึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอนาคต เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงตัวผู้บริโภคโดยตรงมากที่สุด

แต่การชิงประกาศรวมตัวเปิดให้บริการก่อนของธนาคารคนไทย 6 แห่ง เป็นสัญญาณให้เห็นว่านับแต่นี้ไป ธนาคารคนไทย จะไม่อยู่ในฐานะตั้งรับอีกต่อไปแล้ว

โดยเฉพาะในสิ้นปีนี้ ที่ธนาคารของคนไทยส่วนใหญ่ จะสามารถตั้งสำรองได้ครบ 100% ตามกฎเกณฑ์ของแบงก์ชาติ ซึ่งจะทำให้มีความสามารถ และความคล่องตัวในการแข่งขันมากขึ้น

และเมื่อถึงเวลานั้น เชื่อได้ว่าการต่อสู้ของธนาคารไทย และธนาคารลูกครึ่ง คงจะน่าดูมากกว่านี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us