15 เจ้าหนี้ยอมแก้ไขสัญญาเงินกู้ของผลิตไฟฟ้าราชบุรี โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิม
MLR-1.50% เป็น MLR-2.50% มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.นี้จนถึง 30 มิ.ย.48 ทำให้ประหยัดดอกเบี้ยจ่าย
ถึง 700 กว่าล้านบาท พร้อมทั้งลดวงเงินสำรองเพื่อชำระหนี้ล่วงหน้าจากเดิม 6 เดือนเหลือเพียง
3 เดือน ทำให้สภาพคล่องทางการเงินดียิ่งขึ้น
นายบุญชู ดิเรกสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด
(มหาชน) (RATCH) เปิดเผยว่า ตามที่บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
ได้ดำเนินการเจรจาเพื่อขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงื่อนไขอื่นๆ กับเจ้าหนี้เงินกู้รวม
15 ราย ตามสัญญาเงินกู้ฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2545 ขณะนี้เจ้าหนี้เงินกู้ของบริษัทย่อยได้เห็น
ชอบที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงิน กู้พร้อมทั้งปรับปรุงเงื่อนไขเงินกู้บางรายการ
โดยทั้ง 2 ฝ่ายได้ร่วม ลงนามแก้ไขสัญญาเงินกู้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2546 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
1 กรกฎาคม 2546 เป็นต้นไป
ภายใต้สัญญาเงินกู้ฉบับแก้ไข ดังกล่าว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัทย่อยจะปรับลดลงเป็น
MLR-2.50% จากเดิมที่ MLR-1.50% โดย อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่
1 กรกฎาคมนี้ จนถึง 30 มิถุนายน 2548 ทำให้บริษัทฯประหยัดดอกเบี้ยจ่ายได้ประมาณ
700 กว่าล้านบาทตลอดช่วงเวลา 2ปี
ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บริษัทย่อยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ถึง 30 มิถุนายน
2551 ที่ MLR-1.125% และตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2551 จนถึงสิ้นสุดสัญญา คิดอัตราที่
MLR ยังคงเดิม
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย MLR จะเป็นอัตราเฉลี่ยของธนาคารเจ้าหนี้ 4 แห่ง คือ ธนาคากรุงไทย
ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบัน ณ วันที่ 24 มิถุนายน
2546 MLR เฉลี่ยอยู่ที่ 6.1875%ต่อปี
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงเงื่อนไขเงินกู้โดยลดวงเงินสำรองเพื่อการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากเดิมที่ต้องสำรองไว้ล่วงหน้า
6 เดือน เป็นเหลือเพียง 3 เดือน ซึ่งจะช่วยเพิ่มกระแสเงินสดของบริษัทย่อยดียิ่งขึ้น
นายบุญชู ดิเรกสถาพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ผลิตไฟฟ้ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด
(มหาชน) กล่าวว่า ความสำเร็จในการเจรจาลดดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อ บริษัทและประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
เพราะต้นทุนค่าไฟฟ้าลดลง
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เป็นต้นทุนผันแปรในการคำนวณอัตราค่าไฟฟ้าตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่าย
ผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัทย่อยฉบับเดือน ตุลาคม 2543 ซึ่ง ณ ช่วงเวลาดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR เท่ากับ 7.875% ต่อปี ดังนั้น สภาวการณ์อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
MLR ซึ่งได้ปรับลดลงโดยลำดับ ในปัจจุบัน MLR เท่ากับประมาณ 5.75%ต่อปี ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าถูกลงและเกิดผลดีต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวม
สถาบันการเงินเจ้าหนี้ของบริษัทย่อย 15 ราย ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารกรุงเทพ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยธนาคาร ธนาคารทหารไทย ธนาคารออมสิน
ธนาคารธนชาต ธนาคารสแตน-ดาร์ด ชาร์เตอร์ดนครธน ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ธนาคารซูมิโตโมะ
มิตซุย ธนาคารยูโอบีรัตนสิน บมจ.ASIA CREDIT บมจ.THE BOOK CLUB FINANCE และธนาคารเอเชีย
ปัจจุบัน ผลิตไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้รับโอนโรงไฟฟ้าราชบุรีจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ครบถ้วนรวมกำลังผลิตติดตั้ง 3,645 เมกะวัตต์ ตามสัญญาจะซื้อจะขาย
ทรัพย์สิน ที่ได้ลงนามเมื่อเดือนตุลาคม 2543