Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน1 กรกฎาคม 2546
"หมอเลี้ยบ" ยันCDMAเดินหน้าปรับเปลี่ยนรูปแบบประมูลใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
มิตร เจริญวัลย์
CDMA




"หมอเลี้ยบ" ย้ำไม่ได้ล้มโครงการซีดีเอ็มเอ กสท. แต่หากรูปแบบประมูลที่รวมโครงข่ายกับการตลาดไว้ด้วยกันโดยกสท.ไม่ได้ทำอะไรเลย ไม่เวิร์ก ก็อาจเปลี่ยนรูปแบบใหม่ได้ พร้อมกระตุ้นการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ สั่งกสท.ศึกษาต้นทุนค่าเช่าวงจรเปรียบเทียบสิงคโปร์ ด้านสหภาพฯ ทศท.ชี้ต้องเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตให้ทศท.เป็นไอเอสพีได้ ถึงจะลดค่าบริการบรอดแบนด์ได้เร็วทันใจ

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงโครงการโทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอของการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) ว่า ยังไม่ได้รับรายงานจากบอร์ด กสท. แต่ถ้าการประมูลในรูปแบบเดิมที่ให้เอกชนทำทั้งด้านเครือข่ายและด้านการตลาด ไม่ประสบผลสำเร็จ ก็อาจหารูปแบบใหม่

"โครงการซีดีเอ็มเอไม่ได้ล้ม ซีดีเอ็มเอต้องเดินหน้าต่อและกสท. ต้องได้รับประโยชน์ แต่โมเดลที่เป็นอยู่มันเวิร์กหรือไม่ ที่มีคนทำทั้งโครงข่ายและทำการตลาด ซึ่งเท่ากับกสท.ไม่ได้ทำอะไรเลย ก็อาจ หาโมเดลใหม่"

เขายังกล่าวถึงการลดค่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงว่า กำลังคุยกับกสท.เพื่อขอดูโครง สร้างต้นทุนค่าเช่าวงจรต่างประเทศ เพื่อทำการศึกษาให้เห็นความชัดเจน โดยมีประเทศเปรียบเทียบหรือ Benchmark คือสิงคโปร์ โดยที่อัตราค่าบริการจะต้องไม่สูงกว่าสิงคโปร์ จากปัจจุบันที่ไทยสูงกว่าสิงคโปร์ 2.5 เท่า

ที่ผ่านมาปัญหาของกสท.คือในเรื่องปริมาณรวมในการเช่าวงจรต่างประเทศไม่ได้มากเพียงพอที่จะสร้างอำนาจต่อรองได้มากนัก รวมทั้งในเรื่องการคิดอัตราค่าเช่าวงจรจากไอเอสพีต่ออีกช่วงหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดสะท้อนกลับมาเป็นค่าบริการบรอดแบนด์ ที่ไม่จูงใจการใช้งานโดยปัจจุบันมีคนใช้บริการบรอดแบนด์ เพียง 1.5 หมื่นพอร์ตเท่านั้น น้อยกว่ามาเลเซีย อินโดนีเซียและสิงคโปร์

"ถ้าระดับราคาลดลงมา ก็จะทำให้มีคนใช้มากขึ้น ซึ่งผมกำลังทำทีละก้าวเริ่มจากการลดค่าบริการโทรศัพท์ทางไกลในประเทศ และจะลดค่าโทรศัพท์ต่างประเทศ รวมทั้งลดค่าบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ต่อไป "

ด้านนายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทศท คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า การลดค่าบริการบรอดแบนด์ตามนโยบายรมว.ไอซีที ด้วยการลดค่าเช่าวงจรของกสท.ถือเป็นการแก้ปัญหาที่ดี แต่ควรศึกษาต้นทุนทั้งหมด เพราะมีบางอย่างที่ซ่อนไว้โดยที่รมว.ไอซีทียังไม่รับรู้ อย่างกรณีที่คนเล่นอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าใช้ไอเอสพีรายไหน แต่รายได้ต้องส่งผ่านไปยังกสท.โดยใช้โครงข่ายโทรศัพท์ของทศท.ซึ่งทศท. หรือบริษัทร่วมการงานไม่ว่าจะเป็นทีเอ หรือทีทีแอนด์ ทีไม่เคยได้รับผลประโยชน์ในด้านการสื่อสารข้อ มูลหรืออินเทอร์เน็ตแต่อย่างใด กสท.รับผลประโยชน์ไปแต่ผู้เดียว ต่างจากการใช้โทรศัพท์ระหว่างประเทศที่ทศท.ได้ส่วนแบ่งรายได้นาทีละ 6 บาท

"เห็นได้ชัดว่ากสท.มีต้นทุนซ่อนเร้นพวกนี้ที่ยังไม่ได้เปิดเผย ออกมา รวมทั้งหากแยกกสท.ออก เป็น 2 บริษัท ด้านโทรคมนาคมกับไปรษณีย์ เมื่อกสท.โทรคมไม่ต้องจ่ายเงินสนับสนุนไปรษณีย์เหมือนเมื่อตอนเป็นองค์กรเดียวกันแล้ว พวกค่าเช่าวงจรต่างๆน่าจะลดลงได้อีกมาก"

ทางออกหนึ่งที่ประธานสหภาพฯ เสนอคือรมว.ไอซีที ควรมีนโยบายเปิดเสรีอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะให้ทศท.สามารถเป็นไอเอสพีได้ ซึ่งเมื่อไหร่ที่ทศท.เป็น ไอเอสพี ค่าบริการไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ตธรรมดา หรืออินเทอร์เน็ตความเร็วสูง บริการบรอดแบนด์ ต่างๆจะลดลงอีกมาก รวมทั้งเป็น การปลดแอกให้ไอเอสพีเอกชนที่ต้องให้กสท.ถือหุ้นลม 33% มีโอกาสลืมตาอ้าปากทำธุรกิจให้มีกำไร ทำให้ค่าบริการถูกลง จากการ แข่งขันเสรีและเป็นธรรม

"ผมพูดมานานแล้วว่าเรื่องให้ทศท.เป็นไอเอสพี เป็นเรื่องนโยบายที่รมว.ไอซีทีสามารถดำเนิน การได้ทันที วิธีนี้อาจทำให้ค่าบริการ อินเทอร์เน็ต บรอดแบนด์ลดลงเร็ว กว่าที่ให้กสท.มัวแต่ศึกษาต้นทุนวงจรต่างประเทศด้วยซ้ำ"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us