|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ไรมอน แลนด์ ชี้ กำหนดสัดส่วนถือครองอาคารชุด49% กระตุ้นนักลงทุนระยะสั้นจะกว้านซื้อห้องชุดขายต่อทำกำไรระยะสั้น ปิดกั้นต่างชาติซื้ออยู่ระยะยาว แจงไทยรับผลเสียการแข่งขันระหว่างประเทศ
นายไซมอน เดอร์วิลเล่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาบริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ว่า การแก้ไขมาตรการในพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับ 4 (2551) เพื่อปกป้องสิทธิผู้ซื้อที่อยู่อาศัยนับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ในบางมาตราที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น มาตราที่ว่าด้วยการถือครองห้องชุดของชาวต่างด้าวซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 49% ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตคือการซื้อห้องชุดโดยผ่านตัวแทนชาวไทย หรือ นอมินี ซึ่งในพระราชบัญญัติใหม่ได้เพิ่มบทลงโทษการซื้อห้องชุดโดยผ่านตัวแทนชาวไทยในมาตรา 67
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าคิดในไม่ใช่เรื่องของบทลงโทษ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่ผู้กระทำผิดควรได้รับการลงโทษ แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือมาตรานี้จะมีผลต่อผู้ซื้อชาวต่างชาติแล้ว และส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อชาวไทย ซึ่งมาตราดังกล่าวส่งผลให้ผู้ซื้อชาวต่างชาติได้รับผลกระทบในทางตรง เพราะถูกจำกัดสิทธิ์ในการซื้อที่ 49 % ขณะเดียวกันการออกฎหมายฉบับนี้ก็จะเป็นการกระตุ้นให้โควต้าชาวต่างชาติ49% หมดเร็วขึ้น เนื่องจากนักลงทุนระยะสั้นจะกว้านซื้อเพื่อนำไปขายต่อ ทำให้ชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยในระยะยาวหมดสิทธิ์ในการซื้อห้องชุด
ในขณะที่นักลงทุนชาวไทย นั้นในพื้นที่บางแห่ง ความต้องการในการซื้อระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งมีชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อถึง 90% ดังนั้นแนวโน้มที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตคือผู้ซื้อชาวไทยจะซื้ออสังหาฯ ผ่านชาวต่างชาติมากขึ้น เพราะสามารถใช้สิทธิ์ขายต่อให้ชาวต่างชาติที่มีความต้องการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายกว่า เนื่องจากความต้องการในตลาดที่มีมากกว่า อาจมองได้ว่าการกำหนดให้ชาวต่างด้าวถือครองห้องชุดได้ไม่เกิน49% อาจเป็นผลเสียต่อนักลงทุนชาวไทย
ดังนั้น นับเป็นเรื่องที่ดีที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข พรบ. ในเรื่องของสิทธิของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย แต่อย่างไรก็ตามมาตราเกี่ยวกับการถือครองห้องชุดต่างด้าวก็ยังเป็นที่น่าจับตามองเพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเป็นมาตรการสำคัญในการกระตุ้นตลาด ซึ่งหากพิจารณาประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีมาตรการที่สอดคล้องกับการลงทุนของต่างชาติ อาจจะทำให้ประเทศไทยขาดโอกาสทางเศรษฐกิจที่ควรจะได้รับ
|
|
|
|
|