Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532
งานวิจัยธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล "เมื่อเศรษฐีฮ่องกงให้ทุน 150,000 เหรียญฮ่องกง"             
 


   
search resources

ภูวดล ทรงประเสริฐ
Economics
China
Research




ชาวจีนโพ้นทะเลมีการกระจายไปทั่วโลก แต่ที่เห็นเป็นกลุ่มใหญ่ๆหนาแน่นมากจะอยู่ในซีกประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ ไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้ มีหลายเชื้อชาติที่มีเส้นแบ่งตามลักษณะของภาษา ตั้งแต่ แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน ไหหลำ และแคระ

ถ้าวัดวัดกันตามจำนวนประชากรแล้ว ชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มแต้จิ๋วจะมีมากที่สุด และมีบทบาทในด้านธุรกิจ ชาวจีนโพ้นทะเลแต้จิ๋วจะอยู่อย่างหนาแน่นในประเทศไทย สิงคโปร์ ขณะที่กลุ่มฮกเกี่ยนจะมีอยู่มากในประเทศไต้หวัน ฟิลิปินส์ และมาเลเซีย

กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้มีบทบาททางเศรษฐกิจและธุรกิจอยู่สูงมากในประเทศต่างๆย่านเอเชียอาคเนย์ ไม่ต้องดูอื่นไกลเอากันแค่ในประเทศไทย กลุ่มแต้จิ๋ว เช่นตระกูลเจียรวนนท์ โสภณพนิช เตชะไพบูลย์ ล้วนแต่เป็นผู้นำในวงการธุรกิจทั้งสิ้น

และที่น่าสนใจมากก็คือบทบาทชาวจีนโพ้นทะเลได้ก้าวล้ำไปสู่ตลาดธุรกิจนานาชาติทั้งในรูปแบบการค้าและการลทุนข้ามชาติ

ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่เป็นจุดหนึ่งที่เป็นเป้าหมายการค้าและลงทุนของชาวจีนโพ้นทะเลด้วยความที่จีนเป็นตลาดที่กว้างใหญ่ มีวัตถุดิบทรัพยากรจำนวนมาก แต่ขาดความรู้ในวิทยาการการผลิตและจัดการสมัยใหม่

ที่สำคัญคือผู้นำในปักกิ่งมองชาวจีนโพ้นทะเลอย่างให้ความสำคัญมากๆ ในฐานะกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้มมีภาษาวัฒนธรรมมาจากแหล่งเดียวกัน

ยิ่งในยามที่ผู้นำปักกิ่งต้องการเปิดประเทศจีนในความสัมพันธ์กับนานาชาติ โดยเฉพาะโลกอุตสาหกรรมตะวันตกที่มีเทคโนโลยีและทุนระดับสูงเพื่อเป็นสะพานนำจีนไปสู่ความทันสมัย ก็เป็นโอกาสให้กลุ่มทุนชาวจีนโพ้นทะเลเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจของจีนมากยิ่งขึ้น

จุดที่เห็นก็คือ ในเขตเศรษฐกิจใหม่พิเศษของจีน เช่นที่เซินเจิ้นและซัวเถา ปรากฎว่ามีการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตขนาดเบา และปานกลางของชาวจีนแต้จิ๋วในไทยและฮ่องกงอยู่จำนวนมากในเขตเศรษฐกิจพิเศษซัวเถา"เฉพาะที่ซัวเถามีจีนแต้จิ๋ว ฮ่องกงเข้าไปลงทุน 70-80% เพราะพื้นที่ซัวเถาเป็นชาวจีนแต้จิ๋วนั่นเองงานวิจัยของมหาวิทยาลัยจีนในฮ่องกงระบุไว้

จำนวนประชากรจีนโพ้นทะเลที่อยู่กระจัดกระจายตามประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มีประมาณ 6,000,000 คน ประชากรกลุ่มนี้ย่อมมีญาติพี่น้องที่อยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่จำนวนมาก ด้วยความผูกพันตามเครือญาติ วัฒนธรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่ชาวจีนโพ้นทะเลมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนแผ่นดินใหญ่

แต่ประเด็นนี้ก็ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ด้านข้อมูลและสายใย ความสัมพันธ์เศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมนัก

และจุดนี้เองที่โครงการวิจัยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษซัวเถากับฮ่องกงและเอเชียอาคเนย์จึงเกิดขึ้นภายใต้เงินทุนสนับสนุน 150,000เหรียญฮ่องกง ของยอร์ช หว่อง (GEORGE WONG) นักธุรกิจแต้จิ๋วของฮ่องกง

กลุ่มนักวิจัยประกอบด้วยนักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจีน 5 คนด้วยกัน ประกอบด้วย FANG NING SHENG QIU ZHENG YUN จากมหาวิทยาลัยซัวเถา DR. WONG PUI YEE จากศูนย์เอเชียศึกษาของมหาวิทยาลัยจีนในฮ่องกง และ ดร.สมศักดิ์ แต้มบุญเลิศชัย กับ ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ จากประเทศไทย

โครงการวิจัยนี้เริ่มกันมาตั้งแต่ปลายปี 2530 โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาดูว่า หนึ่ง- ภาวะการลงทุนของชาวจีนฮ่องกง สิงคโปร์ และไทยในเขตเศรษฐกิจพิเศษซัวเถาเป็นอย่างไร สอง- รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ ฮ่องกง และไทยเป็นอย่างไร เพื่อประโยชน์ต่อจีนในแง่เป็นบทเรียนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจซัวเถา และสาม- อนาคตความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษซัวเถา ฮ่องกงและไทย สิงคโปร์จะเป็นลักษณะใด

"ตอนแรก กลุ่มนักวิจัยไทยไม่ได้เข้าร่วมด้วย จนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้เอง ดร.WONG PUI YEE ก็ชวนเราเข้าไปด้วยโดยให้เน้นวิจัยรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจไทยกับสิงคโปร์"ดร.ภูวดล ทรงประเสริฐ หนึ่งในทีมงานวิจัยเหล่าให้ "ผู้จัดการ"ฟัง

ประเด็นวิจัยที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งคือ การพยายามมองอนาคตความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างไทย สิงคโปร์ ฮ่องกงกับเศรษฐกิจพิเศษซัวเถา ในแนวความคิดที่จะก่อรูป"ประชาคมเศรษฐกิจชาวจีนโพ้นทะเล"แบบประชาคมเศรษฐกิจยุโรปขึ้น

"แนวคิดพื้นฐานสำคัญสำหรับประชาคมเศรษฐกิจชาวจีนโพ้นทะเลก็คือ การพยายามมองความเป็นไปได้ที่จะดึงเอาจุดเด่นของแต่ละประเทศมาผสมผสานกัน เช่น ดึงเอาทุน ความรู้ ทางการตลาด การจัดการธุรกิจจากฮ่องกง และไต้หวัน มาผสมผสานเข้ากับทรัพยากรอันมหาศาลจากจีน"

เป็นแนวคิดที่ท้าทายต่อศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจในย่านเอเชียแปซิฟิกมากๆ...แน่นอนที่สุด ญี่ปุ่นซึ่งมีทุนและเทคโนโลยีย่อมสนใจที่จะเข้ามาร่วมด้วย

แต่เหตุการณ์นองเลือดที่เทียนอันเหมินในปักกิ่งและวิกฤติการณ์ด้านความเชื่อมั่นต่อวิเทศโยบายของผู้นำในปักกิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อต้นเดือนมิถุนายน มีผลอย่างสูงต่อการลดทอนศักยภาพในการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของจีนต่อชาวจีนโพ้นทะเลและยุโรปตะวันตก

ความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในจีนทุกปริมณฑลย่อมอยู่ในความสนใจของชาวโลกเสมอ และงานวิจัยธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล ภายใต้เงินอุดหนุนของเศรษฐีฮ่องกงชิ้นนี้ ก็เป็นเทียนเล่มน้อยๆเล่มหนึ่งที่จะนำแสงสว่างในความจริงของซอกหนึ่งในจีนมาสู่การรับรู้ของชาวโลก

อีกไม่นานต้นปีหน้าคงได้รู้กัน!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us