|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
* ตามไปดู กระบวนการแบบมืออาชีพ (Green Procurement)เครือซีเมนต์ไทย SCG
* ขานรับกระแสโลก การผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
* เครื่องมือสำคัญและทรงประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน (supply chain )
* อีกหนึ่งมิติของการทำธุรกิจที่มุ่งไปสู่ “การสร้างต้นแบบ-เน้นเติบโตอย่างยั่งยืน”
ความพยายามอย่างจริงจังที่จะพัฒนาธุรกิจไปสู่แนวทาง Sustainable Development Growth จึงทำให้เครือซีเมนต์ไทย SCG ปรับตัวในการทำธุรกิจหันมาคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลายความเคลื่อนไหวกลายเป็น “ ต้นแบบ” ให้องค์กรอื่นๆได้เรียนรู้ เป็นกรณีศึกษาอย่างน่าสนใจ ดังเช่นกรณี “ Green Procurement : GP หรือ การจัดซื้อ-จัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ”นับเป็นอีกหนึ่งโมเดล ที่เครือซีเมนต์ไทย นำมาใช้ และทำได้อย่างเป็นระบบ ครบถ้วนด้วยกระบวนการจัดการอย่างมืออาชีพ ที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
กิจจา เรืองไทย กรรมการที่ปรึกษา และในฐานะผู้บริหารศูนย์ส่งเสริมคุณภาพงาน บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน ) กล่าวว่า เป้าหมายหลักๆในนำเอาระบบจัดซื้อ-จัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาใช้อย่างจริงจัง นอกจาก เพื่อเป็นธุรกิจต้นแบบ ยังเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์หลัก 3 R ซึ่งเป็นหลักการที่มุ่งการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1. Reduce คือ การลดนำเอาทรัพยากรมาใช้งาน 2. Reuse/Recycle การนำเอาของใช้แล้ว หรือของเสียมาใช้ซ้ำ หรือนำกลับมาผ่านกระบวนการการจัดการก่อนนำไปใช้งานใหม่ และ 3. Replenish การทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้อย่างพอเพียง ด้วยการฟื้นฟู ทางเลือกใหม่ที่จะไม่กระทบ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยกว่าเดิม
“ ในการทำ GP เรายังต้องการเป็นผู้นำในด้านอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีเครื่องมือที่สำคัญจะทำให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน ( Supply Chain ) อีกทั้งยังต้องการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปลูกผังจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อรองรับกระแสของ Green Precurement ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”กิจจา บอก
เปิด 6 ขั้นจัดซื้อ-จ้างสีเขียว SCG
เพื่อ ประสิทธิภาพ Supply Chain อย่างเห็นผล กระบวนการจัดซื้อ-จัดจ้างสีเขียว ของ SCG ยังได้ถูกกำหนดอย่างเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบ โดย กิจจา เล่าให้อย่างละเอียดว่า มันเริ่มต้นจาก ขั้นแรก คือ “ กำหนดนโยบายอย่างชัดเจน” โดยผู้บริหารระดับสูงของบริษัทได้ให้นโยบายแก่พนักงานทุกระดับว่า “การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องจำเป็นในการดำเนินธุรกิจ” มีคณะกรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืนเป็นบอร์ดดูแลภารกิจดังกล่าวโดยเฉพาะ โดยกำหนดให้บริษัทต่างๆในเครือฯ ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจัดหาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ขณะเดียวกัน ยังได้กำหนด แนวคิดจากหลักพื้นฐาน 4 ข้อ เพื่อประกอบการพิจารณา ได้แก่ 1. สินค้านั้นมีความจำเป็นจะต้องใช้หรือไม่? 2. สินค้านั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดวงจรชีวิตของผลิภัณฑ์ 3 ดูว่า ซัพพลายเออร์นั้นใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และ 4. รวบรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์ และการซัพพลายเออร์ที่เป็น Green เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ขั้นสอง เป็นการกำหนด “ การเลือกเป้าหมาย” ในกลุ่มสินค้าและบริการ มีขั้นตอนอย่างละเอียดรอบด้าน อาทิ ดูว่ามีปริมาณการสั่งซื้อจำนวนมาหรือไม่ ผลิตภัณฑ์นั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูงหรือไม่ ราคาไม่แพงจนเกินไป (คิดราคาตลอดวงจรการผลิตภัณฑ์) ขณะเดียวกันสินค้าหรือบริการสามารถ หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด มีข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม พนักงานส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์ และสังคมให้ความสนใจ ทั้งนี้ สินค้าและบริการนั้น บริษัทได้จัดแบ่งเป็นกลุ่ม 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 1. Indirect Materials หรือ วัตถุดิบทางอ้อม อาทิ อุปกรณ์เสริมต่างๆ และ 2. Direct Materials หรือ วัตถุดิบทางตรง ได้แก่ ชิ้นส่วน อะไหล่ และวัตถุดิบหลัก
ขั้นสาม เป็นการ “เจรจาและขอความร่วมมือจากผู้ขาย” โดยจะมีการชี้แจงให้ซัพพลายเออร์ (Suppliers ) และคอนแทคเตอร์ ( contractors) ทราบถึง นโยบายการจัดซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จากนั้นก็ ชักชวนและแนะนำให้มองหาทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม พร้อมทั้งมีการกระตุ้นและให้การช่วยซัพพลายเออร์และคอนแทคเตอร์
เป้าหมายหลัก เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับซัพพลายเออร์ที่ไม่ให้ความร่วมมือ บริษัทฯก็จะมีวิธีการอย่างจริงจัง ด้วยการ แสดงจุดยืนที่แน่นอนกับซัพพลายเออร์รายนั้น ถ้าจำเป็นก็อาจต้องการมีการคัดเลือกเป็นทางเลือกขั้นสุดท้าย
ต่อมาขั้นสี่ เป็นการกำหนด “ เกณฑ์ของการผลิตภัณฑ์ที่คัดเลือก” ในขั้นตอนนี้ จะมีแนวทางจัดซื้อ ข้อกำหนด เพื่อให้ผู้ทำหน้าที่จัดซื้อใช้ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการนำระบบการให้คะแนนใช้ร่วมกับเกณฑ์การจัดซื้ออาทิ ราคา คุณภาพ ความปลอดภัย รวมถึงการใช้เกณฑ์ Eco-Level หรือ การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อม
กรรมการที่ปรึกษา คนเดิม บอกว่า ในการจัดหายังได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากวัตถุ สิ่งของ และบริการตลอดวงจรชีวิตของการใช้งาน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การใช้งาน และการกำจัดเมื่อหมดสภาพการใช้งาน รวมถึง ระบบการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยการมีดำเนินงานตามมาตรฐานระบบการจัดการทีเป็นสากล ที่ได้รับการรับรองฉลากสีเขียว และ มีกิจกรรมที่ส่งเสริม และสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เด่นชัดโดยมีข้อกำหนด
นอกจากนี้ ขั้นที่ห้า-ได้มีการ “ จัดทำระบบการจัดซื้อ” โดยมีการกำหนดให้การจัดซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ในส่วนผู้มีหน้าที่ในการจัดซื้อก็จะมีการฝึกอบรม พัฒนาความรู้พื้นฐานให้ ขณะที่โครงสร้างในการทำงานร่วมกับกับหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานจัดซื้อก็มีการกำหนดขึ้น , จัดทำ E-catalog ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องด้วยหลัก PDCA (อ่านล้อมกรอบ ) ในส่วนคู่มือการจัดหา ยังได้กำหนดแนวทาง จัดหา และจัดทำข้อกำหนด โดยกระดาษชำระ ลวดเสียกระดาษ แฟ้มเอกสาร น้ำยาลบคำผิด แฟ้มเอกสาร และถ่านไฟฉาย และยังได้มีการลงทะเบียน ผลิตภัณฑ์และบริการในโครงการฉลากเขียว ได้แก่ หลอดฟลูออเรสเซนซ์ สี สารซักฟอก ผลิตพภัณฑ์ทำความสะอาดถ้วยชาม เครื่องถ่ายเอกสาร กระดาษกล่องเคลือบ และฉนวนกันความร้อน เป็นต้น
และขั้นที่หก-ในส่วนของ Greening the supply chain สำหรับซัพพลายเออร์หลักที่มีปัญหาการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมทางผู้จัดซื้อของบริษัทที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปให้การช่วยเหลือ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดซื้อที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นแรงผลักดัน
นอกจากนี้ ภายในองค์กร สำหรับพนักงาน SCG ยังได้เน้นอย่างจริงจัง ในการปลูกฝัง และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในทุกระดับ โดยมุ่งให้พนักงานหันมาใช้ Green Product กันมากขึ้น มีโอกาสดูแลสิ่งแวดล้อมในส่วนตนเองรับผิดชอบอยู่ และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ และนำไปใช้ในการส่งเสริมการขายได้
เดินหน้าเข้ม GP ปี 51
ล่าสุด ปีที่ผ่านมา บริษัทได้กำหนดนโยบายในการทุกธุรกิจ ซื้อของที่อยู่ในรายการให้ครบ 100 % ภายในสิ้นปีที่ผ่านมา โดยได้มีสำนักงานตรวจสอบได้กำหนดให้การจัดหาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในหัวข้อของการตรวจสอบภายในประจำปีของทุกหน่วยงานในเครือซีเมนต์ไทย พร้อมทั้งจัดทำ Auto PO ในระบบ SAP สำหรับ Ventor ตามทะเบียนผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็น GP และมีการจัดให้ผู้ขาย ผู้ผลิตพบกับผู้ใช้งานในโรงงาน
ในส่วนแนวทางการดำเนินงานในปี 2551-2553 กิจจา บอกว่า จะเริ่มจากการเน้นการจัดทำเกณฑ์ SCG Green Procurement มีการขึ้นทะเบียนผู้ขาย และโครงการ Greening The Supply chain โดยแผนงานในปีนี้ จะมุ่งเน้นตาม 3 แนวทาง ( อ่านแผนปฎิบัติการ SCG-GP ปี 2551 โดยทุกๆ6 เดือนจะมีการปรับปรุงทะเบียน SCG Green Procurement และทุกไตรมาสจะมีการติดตามผลการจัดซื้อตามทะเบียน Green Procurement และติดตามผลการรับคืนซากและจัดซื้อหลอดไฟ เป็นต้น
GP มากกว่า มิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับ ประโยชน์ของการจัดการสิ่งแวดล้อมผ่านคู่ค้าทางธุรกิจ แหล่งข่าวสถาบันเพื่อสิ่งแวดล้อม ให้ทัศนะว่า มีอยู่มากมาย นอกจาก ทำให้ บริษัทสามารถปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าการที่บริษัททำเพียงลำพัง ยังทำให้ซัพพลายเออร์สามารถลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ ยังสามารถ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพิ่มยอดขาย ทำให้เกิดภาพพจน์ที่ดีแก่บริษัท และทำให้กลุ่มซึ่งมีการลงทุนที่รับผิดชอบต่อสังคม (socially responsible investment groups) ให้คะแนนแก่บริษัทเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระบบ Green Procurementของ SCG ก็ยังคงเผชิญอุปสรรค เช่นกัน สำหรับภายใน ยังเป็นประเด็นการขาดความรู้เรื่อง GP ความชัดเจนในการปฎิบัติ โดยผู้เกี่ยวข้อง ยังขาดความเข้าใจในการนำไปปฎิบัติ ยังยึดติดกับกับของเดิม โดยยังคงมีข้อมูลเกี่ยวกับ GPน้อย ขณะที่อุปสรรคภายนอก เป็นเรื่องราคาที่สูง ผลิตภัณฑ์บางตัวหายาก มีชนิดในเลือกค่อนข้างน้อย ไม่มีข้อมูล GP ของตลาด ทั้งยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่ทำให้แนวทางนโยบายด้านนี้ลดความสำคัญลงแต่ประการ ตรงกันข้ามได้มีการเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง
เรียบเรียง จากงานเสวนา ... การบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภาครัฐ ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร... จัดโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก 5 มิถุนายน 2551 ที่เมืองทองธานี
Green Procurement กลยุทธ์สู่ธุรกิจแบบยั่งยืน
การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือเรียกสั้นๆ ว่าการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) หมายถึง การจัดซื้อหรือจัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านคุณภาพ ราคา การส่งมอบสินค้าหรือบริการตามที่กำหนด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตและบริการ
โดยพิจารณาตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวช่วยทำให้เกิดตลาดผลิตภัณฑ์สีเขียว (Demand-side) กระตุ้นให้ผู้ผลิตหันมาใส่ใจผลิตผลิตภัณฑ์ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แข่งขันกันปรับปรุงคุณภาพสินค้า หรือ บริการของตนเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด
โดยคำนึงถึงคุณภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดทั้งวัฎจักรชีวิตแทนการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ และยังเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านกลไกทางการตลาดจากการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ คุณภาพ + ราคา + การส่งมอบ + ปัจจัยสิ่งแวดล้อม = การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว
PDCA หลักปรับปรุงคุณภาพ
เมื่อได้วางแผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้เรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA โดย
P มาจาก Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น
D มาจาก Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
C มาจาก Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด
A มาจาก Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป )
|
|
|
|
|