Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์16 มิถุนายน 2551
"KFC" หลังปรับทัพครั้งใหญ่             
 


   
www resources

โฮมเพจ KFC

   
search resources

ยัม เรสเทอรองต์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย), บจก.
Fastfood
KFC




แม้ว่าสงครามการช่วงชิงความเป็นผู้นำของบรรดาเชนในธุรกิจ"ร้านอาหารจานด่วน" (Quick Service Restaurant &QSR) ที่อยู่ในยุคของการแข่งขันเพื่อสลัดภาพอาหารจังก์ฟูดจะเป็นการต่อสู้ในระยะยาว และปัจจุบันจะอยู่ในยกแรกที่เพิ่งเริ่มต้น เพราะแต่ละค่ายต่างมุ่งเบนเข็มขยายธุรกิจด้วยการสรรหาเมนูใหม่ที่จะลดอุปสรรคในด้านคุณประโยชน์ของสารอาหารที่มีในใจของผู้บริโภค และมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นจากเมนูหลักประจำร้านเข้าเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดมูลค่ารวมกว่า 14,500 ล้านบาท

2 ค่ายใหญ่ในตลาด ต่างพยายามสร้างรูปแบบการดำเนินธุรกิจขึ้นมา บริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ซึ่งมีแบรนด์เคเอฟซี เป็นผู้นำตลาด ครองส่วนแบ่งกว่า 80% จากตลาดรวมประเภทไก่ มูลค่า 7,000 ล้านบาท พยายามลดระดับความเป็นแบรนด์ไก่ทอด ทำให้เมื่อลูกค้านึกถึง เคเอฟซี ในฐานะร้านจานด่วนที่มีอาหารหลากหลายมากขึ้น โดยปัจจุบันการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของร้านเคเอฟซี ที่อยู่ภายใต้สโลแกนใหม่ "ชีวิตครบรส"ยังอยู่ในช่วงแพลตฟอร์มแรก ที่ค่อยๆเริ่มปรับการเปลี่ยนทัศนคติการมองเคเอฟซีของผู้บริโภคไม่ให้เป็นอาหารจังก์ฟูด ก่อนขยายไปสู่แพลตฟอร์มที่ 2 เพื่อจับกลุ่มคนรักสุขภาพ เปลี่ยนเมนูจากวิธีการทอดให้ลดเหลือ 80% ขยายสู่กลุ่มเมนูอาหารย่าง อบ และนึ่ง สัดส่วน 20%

ขณะที่ บริษัท แมคไทย ยักษ์ใหญ่เชนร้านอาหารจานด่วนอีกราย ซึ่งเป็นผู้ตลาดแฮมเบอร์เกอร์ ครองส่วนแบ่งตลาดเกินกว่า 50% จากตลาดรวมมูลค่า 3,000 ล้านบาท ก็ออกมาปรับรูปแบบการให้บริการต่อยอดกลยุทธ์ Anywhere Anytime มาสู่กลยุทธ์เดย์พาส (Day Pass) ซึ่งเป็นการวางยุทธศาสตร์ที่หยิบเรื่องความสะดวกสบายในการรับประทานอาหารให้กับผู้บริโภคในทุกที่ทุกเวลา และช่วงเวลาพฤติกรรมการบริโภคที่มีความแตกต่างกันมานำเสนอเมนูให้แตกต่างกันตามช่วงเวลา โดยเซกเมนต์ลูกค้าอย่างชัดเจนแบ่งช่วงเวลาตลอดทั้งวันออกเป็น 6 ส่วน เริ่มจากขยายการให้บริการเมนูอาหารเช้าเต็มรูปแบบในช่วงเวลา มื้อกลางวัน บ่ายสแน็กทีไทม์ และเย็น ดึก และหลังเที่ยงคืน โดยช่วงเวลากลางวัน บ่าย และเย็น มีสัดส่วนยอดขายมากถึง 25-28% ขณะที่ช่วงอาหารเช้า และช่วงมิดไนท์หลังมีโอกาสเติบโตสูง

แต่ในช่วงเวลารอยต่อของการเปลี่ยนเพื่อรับมือกับพฤติกรรมและรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นมีปัจจัยลบเข้ามาเป็นตัวแปรทำให้เกมการแข่งขันใหม่นี้มีข้อได้เปรียบ และเสียเปรียบที่ต่างกัน อาทิ การขึ้นราคาของน้ำมันที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง กลับเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยกระชากยอดขายของร้านเคเอฟซีให้เติบโตขึ้น

สำหรับการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสจากภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในยุคน้ำมันแพงและส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคที่สั่งอาหารดีลิเวอรี่มากขึ้น ศรัณย์ สมุทรโคจร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยัมเรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจดีลิเวอรีหรือจัดส่งถึงบ้านของเคเอฟซีเติบโตขึ้น 27% ขณะที่ยอดขายสาขาในต่างจังหวัดโดยเฉพาะร้านเคเอฟซีสาขาอุดรธานี ขอนแก่น มียอดขายจากเดลิเวอรี่สูงขึ้นถึง 50% ทั้งนี้ในช่วงเทศกาลแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 จะมีการเกาะกระแสนี้ทำตลาดโดยขยายเวลาการให้บริการดีลิเวอรี เพื่อรองรับการชมการ ในช่วงกลางคืนจากเดิมที่เปิดบริการให้ถึงเวลา 24.00 น. เพิ่มการให้บริการถึง 02.00 น. อีกด้วย

สำหรับการเติบโตของยอดขายจากธุรกิจดีลิเวอรี เป็นในทิศทางตรงข้ามกับปริมาณความถี่ของลูกค้าในการเข้ารับประทานในร้านนั้นกลับลดน้อยลง จากเดิมมีความถี่ในการเข้ามาใช้บริการที่ร้าน 3 เดือนประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งในแง่ดีหากมองจากค่าใช้จ่ายต่อบิลของดีลิเวอรี่จะสูงกว่าคือ 300 บาทต่อบิล ส่วนค่าใช้จ่ายในการทานในร้านอยู่ที่ 130 บาทต่อบิล เหตุผลดังกล่าวส่งผลให้สัดส่วนรายได้ของร้านเคเอฟซีที่มาจากดีลิเวอรีขณะนี้อยู่ที่ 15% และมีเป้าหมายที่จะไปให้ได้ถึง 20% ขณะที่สัดส่วนรายได้จากนั่งทานในร้านนั้นวางแผนจะทำเปลี่ยนสัดส่วนให้อยู่ที่ 80%

นอกจากนั้น นโยบายการเปลี่ยนที่กำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการปฏิบัติสู่ความเป็นเลิศ (Year of Execution) โดยทุกหน่วยงานจะต้องสามารถปฏิบัติงานได้จริงอย่างดีเยี่ยมตามที่วางแผนงานไว้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปี 2010 ที่จะมียอดขายและ ได้ส่งผลให้ยอดขายรวมในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ได้ส่งผลให้ยอดขายรวมของค่ายยัมมีการเติบโต 16% โดยเฉพาะการเติบโตในส่วนของร้านเคเอฟซี มียอดขายเติบโต 16%

สำหรับปัจจัยที่สามารถรักษายอดขายมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ประการแรกมาจากอัตราการเติบโตของยอดขายในสาขาเดิม 7% และอีก 10% เป็นยอดขายที่มาจากการเปิดสาขาใหม่ ซึ่งตั้งแต่ต้นปีเปิดเคเอฟซีแล้ว 19 สาขา และจากในครึ่งปีหลังเตรียมจะเปิดเพิ่มอีกมากกว่า 20 สาขา

ขณะที่ ความพยายามสร้างภาพลักษณ์ใหม่เคเอฟซีจะต้องเป็นสินค้าสุขภาพมีการออกเมนูใหม่ขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้ที่รักสุขภาพ ทำให้ยอดขายที่เติบโตส่วนหนึ่งเพราะมีการออกสินค้าใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการออกเมนูเพื่อจับกลุ่มผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพคือ เมนู "วิงอบฮิตส์" และเอเชียน ดีไลต์ สลัด

อีกทั้งการขยายแนวทางการทำตลาดในยุคเศรษฐกิจฝืด ด้วยกลยุทธ์เมนูอาหารที่เน้นคุณภาพ คุ้มค่าราคาอย่างต่อเนื่องในทุกเดือนในช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงเปิดเทอม เปิดตัว'ข้าวผัดไก่ทอด' หรือการส่งเมนูใหม่อีกหนึ่งรายการ "ไอศกรีม กรอบสนั่น ซันเด" สแน็กที่เป็นเมนูชั่วคราวในเดือนพฤษภาคมจากเคเอฟซีอย่างไรก็ตามเมนูข้าวผัดไก่ทอดซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี เพราะจุดเด่นชูความอิ่มอร่อยแบบคุ้มค่า เอาใจผู้บริโภคจับกลุ่มครอบครัวในยุคประหยัดโดยเฉพาะจะเปลี่ยนมาบรรจุเป็นเมนูถาวรด้วยเช่นกัน

แววคนีย์ อัสโสรัตน์กุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด-เคเอฟซี บริษัท ยัม เรสเตอรองสต์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า"เคเอฟซี มองโอกาสจากการเติบโตมาจากลูกค้าเก่าๆซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว แต่หัวใจหลักอีกด้านคือ ความสำคัญกับการสื่อสารกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ทั้งการในแง่ของสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์เป็นหลัก ผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ ควบคู่กับการส่งเมนูใหม่ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาสัดส่วนของกลุ่มวัยรุ่น คนทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 60% และกลุ่มครอบตัว 40% จากเดิมที่เคเอฟซี จะมีลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น คนทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 40% และกลุ่มครอบตัว 60% "

ทางด้านงบประมาณการลงทุนเปิดสาขาใหม่ในครึ่งปีหลังนี้ จะใช้รวมกันประมาณ 400 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นงบการตลาดเคเอฟซี 150 ล้านบาท และการขยายสาขาใหม่ในครึ่งปีหลังของเคเอฟซีตามต่างจังหวัดมากขึ้นอีก 20 แห่ง ซึ่งปัจจุบันมากกว่า 327 สาขาครอบคลุมมากกว่า 60 จังหวัด ส่วนร้านพิซซ่าฮัท ใช้ประมาณ 45 ล้านบาท โดยปัจจุบันมี 78 สาขา เตรียมเปิดสาขาใหม่อีกประมาณ 10 สาขา จากครึ่งปีแรกเปิดเพิ่ม 2 สาขา และเป้าหมายว่าในสิ้นปีนี้ยอดขายรวมทั้งบริษัทจะเติบโต 15% โดยจะมีรายได้เติบโตจากสาขาใหม่อยู่ที่ประมาณ 15-20% และสาขาเก่า 7-10%   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us