|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บลจ.กสิกรไทย ชูกลยุทธ์ขายกองทุน “เค อะกริคัลเจอร์” จับจังหวะสินค้าเกษตรทั่วโลก ปรับตัวลดลงช่วงเดือนมิถุนายนตามสถิติย้อนหลัง 30 ปี เผยหากเปิดขายตามกระแสในเดือนมีนาคม คงติดดอยที่ราคาสูง หลังตัวเลขล่าสุด ราคาตกลงมาแล้วประมาณ 15% เผยมั่นใจ 2 ปีข้างหน้า อนาคตสินค้าเกษตรยังสดใส แนะไทยแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพรับการแข่งขันในตลาดโลก
นายวิน อุดมรัชตวนิชย์ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับกองทุนเค อะกริคัลเจอร์(K-AGRI) ที่บริษัทจะเปิดขายในเดือนนี้ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งมาตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว แต่เราไม่เลือกออกในช่วงเดือนมีนาคมหรือเดือนเมษายนเหมือนบลจ.อื่น เพราะถ้าไปดูราคาย้อนหลัง 30 ปีตั้งแต่มีเทรดฟิวเจอร์สินค้าเกษตรมา ราคาจะไปสูงสุดในเวลาดังกล่าวพอดี สาเหตุหลัก เนื่องจากสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูร้อน ทำให้เราทราบได้ว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้มากหรือน้อยเพียงใด หรือจะเหลือข้าวให้กินเท่าไร หรือมีข้าวโพดเหลือในสต๊อคเท่าไร
ทั้งนี้ หากพิจารณาดูจะพบว่า ในเดือนมิถุนายนทุกครั้ง ราคาสินค้าเกษตรจะปรับตัวลง ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุว่าทำไม บลจ.กสิกรไทยจึงเลือกเปิดขายกองทุนในช่วงเดือนมิถุนายนไม่ออกเดือนมีนาคม ซึ่งหากออกในช่วงเดือนดังกล่าวนับมาถึงปัจจุบัน ราคาตกลงมาแล้วประมาณ 15%
สำหรับกองทุนเค อะกริคัลเจอร์ บริษัทจะเสนอขายหน่วยลงทุนระหว่างวันที่ 17-25 มิ.ย. 2551 โดยกองทุนมีนโยบายลงทุนในสินค้าเกษตรประเภทธัญพืช (soft commodity) ที่มีแนวโน้มการซื้อขายที่อยู่ระดับสูงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ทั้งหมด 7 ประเภท ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาลี ฝ้าย กาแฟ น้ำตาล ถั่วเหลือง และโกโก้
“เราเห็นว่าเป็นช่วงที่ดี แต่ว่าปีนี้ข้าวโพดราคามันปรับขึ้นช่วงนี้พอดีเฉพาะปีนี้ เพราะอากาศที่ไม่ดีในสหรัฐฯ ทำให้เก็บเกี่ยวได้น้อยมาก ข้าวสาลีที่คาดว่าจะเก็บได้เยอะทำให้ราคาตกลงมาค่อนข้างเยอะมันก็น้อยเหมือนกัน ทำให้ราคาขยับขึ้นไปอีก น่าเสียดายว่าเราคาดช้าไปนิดหนึ่ง แต่โดยรวมถือว่าเป็นจังหวะที่ดีที่เราออกกองทุน K-AGRI ช่วงนี้”นายวินกล่าว
นายวินกล่าวต่อว่า สินค้าเกษตรยังมีแนวโน้มที่สดใส เพราะเชื่อว่ายังไงคนก็ยังกินข้าว ในขณะที่พื้นที่เพาะปลูกมีเท่าเดิม ถึงแม้จะบอกว่าข้าวขาด พอเห็นราคาข้าวขึ้น ปีหน้าคนก็มาปลูกข้าวเยอะขึ้นก็จริง แต่สินค้าเกษตรทั้ง 7 ตัว ที่กองทุน K-AGRI ลงทุน โดยเฉพาะ 4 ตัวหลักอย่างข้าวสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด ถ้ามีการปลูกอย่างหนึ่งมากขึ้น แต่พื้นที่เท่าเดิม ก็จะต้องลดการปลูกสินค้าเกษตรตัวอื่นลง และถ้าปลูกข้าวโพดมากขึ้น ก็ต้องเลิกปลูกข้าวสาลี หรือหากจะปลูกข้าวสาลีเพิ่ม ก็ต้องเลิกปลูกข้าวโพดเป็นเรื่องปกติ
อย่างไรก็ตาม ถ้าราคาสินค้าเกษตรอย่างหนึ่งขึ้น ราคาสินค้าเกษตรอีกอย่างหนึ่งก็จะลง เพราะว่าของขาดแคลนและมีของปลูกมากเกินไป ถ้าเป็นอย่างนี้ราคาสินค้าเกษตรแต่ละชนิดก็จะเฮดจ์ไปเฮดจ์มาระหว่างกัน แต่ถ้าดูภาพรวมของทั้งโลก ประชากรโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เมื่อคนโตขึ้นประชากรโลกนับวันยิ่งมากขึ้น คนมากขั้นคนก็ต้องกิน พื้นที่ปลูกเท่าเดิม และนับวันมีแต่ยิ่งแห้งแล้ง โดยรวมในช่วงสั้นดีมานด์จะมากกว่าซัพพลาย แต่ว่าเป็นเหตุผลช่วงสั้นในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้ยังมองว่าสินค้าเกษตรยังสดใสอยู่
“ในระยะยาวการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรเหล่านี้ จะทำให้ได้พันธุ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มมากขึ้น อย่างปลูกข้าวโพดในอากาศเลวๆ ทำให้ปลูกขึ้นได้อย่างไร แต่ถามว่าถ้าคุณช่วยด้านงานวิจัยเอาข้าวโพดพันธุ์ใหม่ออกมาให้ได้เร็วๆ ในทันทีเลยได้มั้ย คำตอบคือมันไม่ง่ายอย่างนั้น อย่างน้อยก็ต้องใช้เวลาเป็น 5 ปี ในช่วงนี้มีการสนับสนุนในด้านงานวิจัยการเกษตรกันมากขึ้น ทำโน่นทำนี่เพื่อให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่มันจะไม่เห็นผลในเร็ววันหรือใน 2-3 ปี นี้ ถ้าช่วงนี้คนยังกินๆ แต่คนผลิตๆ ได้เท่าเดิมหรือน้อยลง ท้ายที่สุดก็สินค้าเกษตรก็ยังมีแนวโน้มที่ดีในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้” นายวันกล่าว
สำหรับปัญหาราคาสินค้าเกษตรในประเทศไทย นายวินกล่าวว่า อยากให้รัฐบาลแก้ไขให้ตรงจุด โดยเฉพาะราคาข้าวซึ่งประเทศไทยปลูกข้าวได้อร่อยที่สุด แต่ประสิทธิภาพการผลิตข้าวของชาวนาไทยอยู่เกือบจะต่ำที่สุดในโลก ทั้งที่ประเทศไทยมีนโยบายการพัฒนาด้านการเกษตรมานานมาก เลยสงสัยว่าเราไปพัฒนาอะไรกัน จึงทำให้ประสิทธิภาพการผลิตข้าวของไทยต่ำที่สุดใน นี่เป็นข้อเท็จจริง ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขามีนโยบายที่จริงจังในการสนับสนุนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ต้นทาง มากกว่าที่จะมารับจำนำข้าวเพียงอย่าเดียว ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
|
|
|
|
|