|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คลังเผยอดีตผู้บริหารแบร์ เสตอร์น เชื่อประเทศแถบเอเชียจะเป็นผู้นำผลักดันเศรษฐกิจโลกเดินหน้าต่อไปแม้จะประสบปัญหาราคาน้ำมันและสินค้าเกษตรที่ขยับขึ้นสูงแต่เชื่อทุกประเทศแก้ไขได้ ระบุไตรมาส 4 หุ้นไทยน่าจะฟื้นตัวได้ ขณะที่ผู้บริหารเอชเอสบีซีเผยยังสนลงทุนหุ้นไทยเหตุราคาถูกเมื่อเทียบกับภูมิภาค ชี้แม้มีปัญหาการเมืองแต่นักลงทุนก็เคยชินกับสภาพนี้ถือเป็นเรื่องปกติของประเทศประชาธิปไตย
นายโชติชัย สุวรรณาภรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่มกลยุทธ์และพัฒนาระบบการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า นายโจชัว ซัลดานฮา อดีตรองประธาน บริษัท แบร์ สเตอร์น เอเชีย จำกัด ได้ติดต่อเพื่อหารือสถานการณ์การลงทุนในประเทศไทยหลังจากที่บริษัทได้ถูก เจพี มอร์แกน ซื้อกิจการหลังประสบปัญหาทางการเงินจากวิกฤติปัญหาสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ หรือ ซับไพร์ม ของสหรัฐ โดยหลังจากที่เจพี มอร์แกนซื้อกิจการไปก็ได้ปลดผู้บริหารของแบร์ สเตอร์นออกไปหลายคน
ซึ่งนายโจชัวได้คาดการณ์ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียว่าจะยังคงเป็นกลุ่มหลักที่ผลักดันเศรษฐกิจของโลกโดยรวมให้ขับเคลื่อนไปได้ แม้ว่าหลายประเทศในทุกภูมิภาคทั่วโลกจะประสบผลกระทบเป็นลูกโซ่จากปัญหาซับไพร์มก็ตาม และเชื่อว่าเศรษฐกิจของโลกโดยรวมจะตกลงถึงขีดต่ำสุดในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้และจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี
“แม้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากซับไพร์มแต่ในระยะหลังเศรษฐกิจของโลกไม่ได้พึ่งพาการเติบโตของสหรัฐแต่เพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต แต่การขยายตัวของโลกได้หันมาพึงพาเศรษฐกิจของจีนและประเทศตลาดเกิดใหม่ทั้ง อินเดีย รัสเซียและบราซิล และการล้มของสถาบันการเงินระดับโลกอย่างแบร์ สเตอร์นก็คงจะไม่เกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอนในระยะเวลาอันใกล้นี้”
ส่วนปัจจัยเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้นอดีตผู้บริหารแบร์ สเตอร์นให้ความเห็นว่า จะยังคงเป็นปัจจัยหลักเช่นเดียวกันกับทั่วโลกทั้งราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับสูงถือเป็นสิ่งที่ท้าทายประเทศในภูมิภาคนี้ แต่เชื่อว่าประเทศในแถบนี้จะต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้และเชื่อว่าจะทำได้อย่างแน่นอน
ด้านมุมมองต่อการลงทุนในประเทศไทยนั้นยังถือว่าราคาหุ้นของไทยยังมีราคาที่ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานอยู่มาก แม้ว่าความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะลดลงและดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยจะลดลงต่ำกว่า 800 จุดแต่เชื่อว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนจะกลับมาอีกครั้งในไตรามาสที่ 4 ซึ่งจะทำให้ดัชนีหุ้นไทยสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกครั้งในช่วงเวลาดังกล่าว
ในขณะที่นายแกร์รี่ อีวาน ผู้วางยุทธศาสตร์การลงทุนในภูมิภาคเอเชีย ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ คอร์ปอเรชั่น ประจำเกาะฮ่องกง ให้มุมมองต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยว่า การลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้นจังหวะการเข้าออกเป็นเรื่องที่สำคัญมากเนื่องจากตลาดมีความผันผวนสูงและเปราะบางต่อข่าวต่างๆ ที่เข้ามากระทบมาก
แต่อย่างไรก็ตามยังให้ความเห็นว่าตลาดหุ้นไทยยังมีความน่าสนใจลงทุนมากกว่าตลาดในภูมิภาค ทั้งฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ เพราะดัชนีหุ้นไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมาหลายปีแล้ว แม้ว่าการเมืองไทยจะมรการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล การประท้วง ชุมนุมของกลุ่มการเมืองต่างๆ ก็ไม่เคยเกิดเหตุร้ายแรงและถือเป็นเรื่องปกติของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย
“แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยจะสะดุดไปบ้างแต่ก็ใช้เวลาเพียงไม่นานก็สามารถปรับตัวขึ้นมาได้ เพราะความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อตลาดหุ้นไทยเป็นความเชื่อมั่นที่หวือหวามากจึงทำให้ตลาดหุ้นไทยขึ้นเร็วลงเร็ว และนักลงทุนที่ลงทุนในไทยก็ชินกับสภาพตลาดที่เป็นอยู่ในขณะนี้อยู่แล้ว”
สำหรับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดในประเทศเวียดนามนั้นผู้บริหารจากเอชเอสบีซีให้ความเห็นว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะจุดจุดหนึ่งหรือเฉพาะที่เท่านั้นไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยต่อเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาคแต่อย่างใด เนื่องจากเศรษฐกิจของเวียดนามยังเล็กมาก.
|
|
|
|
|