|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
รายงานข่าวจากฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-term Foreign Currency Issuer Default Rating (IDR)) ของธนาคารกรุงเทพ (BBL) ที่ "BBB+" แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ "F2" อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินที่ "C" อันดับเครดิตสนับสนุนที่ "2" อันดับเครดิตสากลของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ "BBB" และอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support Rating Floor) ที่ "BBB-" อันดับเครดิตภายในประเทศ (National Ratings) ระยะยาวของ BBL ที่ "AA(tha)" แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ "F1+(tha)" และอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ "AA-(tha)"
อันดับเครดิตของ BBL สะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไรและคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร ที่ค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นอันดับเครดิตยังพิจารณาถึงสถานะเงินกองทุนและสภาพคล่องที่แข็งแกร่งของ BBL ธนาคารยังได้ผลประโยชน์จากตลาดในระดับภูมิภาคที่มีสภาพเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งกว่า โดยธนาคารมีสินเชื่อในต่างประเทศอยู่ที่ 17% ของสินเชื่อรวม การลดลงของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และหนี้ที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้อย่างมีนัยสำคัญในอนาคต รวมถึงความ สามารถในการทำกำไรที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและคงที่จะเป็นปัจจัยบวกต่ออันดับเครดิตของธนาคารในอนาคต การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์น่าจะช่วยให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นได้ เมื่อพิจารณาถึงขนาดของ BBL และความสำคัญที่มีต่อภาคการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ฟิทช์เชื่อว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลถ้าจำเป็น
อนึ่ง ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2551 อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 และอัตราส่วนเงินกองทุนรวมของ BBL อยู่ที่ 11.4% และ 14.4% ของสินทรัพย์เสี่ยง ตามลำดับ อัตราส่วนเงินกองทุนน่าจะปรับตัวลดลงประมาณ 1% ถึง 2% ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ Basel II ณ สิ้นปี 2551
นอกจากนี้ ยังประกาศคงอันดับเครดิตของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)(TMB) โดยอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ "BBB-" แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น "F3" อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน "C/D" อันดับเครดิตสนับสนุน "3" อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ "BB+" อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Tier 1) "BB-" อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support Rating Floor) "BB" อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Ratings) "A+(tha)" แนวโน้มมีเสถียรภาพ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น "F1(tha)" อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ "A(tha)"
ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 2551 TMB มีกำไรสุทธิ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 220 ล้านบาทในไตรมาส 1 ปี 2550 สำหรับกำไรที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกเกิดจากการลดลงของค่าใช้จ่าย จากการขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ และขาดทุนจากประมาณการหนี้สินจากการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ สำหรับในปี 2551 นี้ คาดว่าในช่วงแรกของการปรับปรุงและควบรวมระบบงานกับ ING Bank NV หรือ ING (AA/F1+) และสภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอ จะเป็นปัจจัยหลักที่จะจำกัดการขยายตัวของสินเชื่อและผลประกอบการของธนาคาร แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าธนาคารจะสามารถกลับมามีกำไรสุทธิได้ในปี 2551 และสามารถเริ่มจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้ด้อยสิทธิลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Tier 1) ที่จะครบกำหนดในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ หลังจากที่ได้งดจ่ายดอกเบี้ยในเดือน มิถุนายน และ ธันวาคม 2550 ขณะที่สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารยังคงอยู่ในระดับสูง ที่ 74.2 พันล้านบาท หรือ 15.1% ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2551
|
|
|
|
|