Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2532
จุฑานาวี..เมืองไทยของเราเรือไทยของเรา             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท จุฑานาวี จำกัด ( มหาชน )

   
search resources

จุฑานาวี, บมจ.
ชเนศร์ เพ็ญชาติ
Logistics & Supply Chain




นั่นไม่ใช่ สโลแกนของจุฑานาวี.. หรือจะเป็นเพราะบริษัทเรือในประเทศไทย ไม่พิถีพิถันกับการโฆษณาจึงไม่มีสโลแกน อย่าว่าแต่สโลแกนเลย โฆษณาธรรมดาๆ ก็ไม่เคยจะเห็น ถ้าไม่ใช่คนในวงการ ก็แล้วอย่างนี้ใครเลยจะรู้จัก

ในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษทั้งบางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นมีหน้าที่เป็นชิปปิ้งไกด์อยู่หลายหน้า ร้อยทั้งร้อยเปิดข้ามไปเพราะไม่รู้จะไปหยุดอ่านทำไม ส่วนผู้ที่จะใช้ เค้าก็ยกออกไปทั้งหน้าไม่มาคาราคาซังไว้ นั่นจึงเป็นสิ่งที่ชี้บอกอะไรบางอย่าง

อย่างแรก คือ คนในวงการเท่านั้นที่สนใจเรื่องในวงการ รู้เรื่องในวงการ อย่างที่สอง คือ คนในวงการที่ว่านั้นก็มีอยู่เพียงน้อยนิด แต่ถึงอย่างไรบทสรุปก็คือว่า...ยังต้องมีอยู่..หนีไม่พ้นต้องพึ่งเรือ ไม่ว่าส่งออกหรือนำเข้า

ในหนังสือพิมพ์บอกแต่ตารางการเดินเรือของบริษัทมีเรือชื่ออะไร เข้าท่าวันที่เท่าไร ออกไปแวะท่าไหนบ้าง ถ่ายเรือแม่ชื่ออะไร ที่จริงเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว เรื่องของการบริการไปลองผิดลองถูกเอา แต่ชื่อที่ปรากฎอยู่มากมายนั้น ใครจะรู้บ้างว่า มีบริษัทเรือของไทยกี่บริษัท

บริษัทเรือไทย ไม่ใช่จะนับกันง่ายๆ เพียงแค่กองเรือชักธงไทย หากแต่ส่วนสำคัญคือฝ่าย บริษัท และผู้ถือหุ้น บริษัทเรือไทยที่อยู่ในข่าย ลักษณะอย่างนั้นมีอยู่พอสมควร ซึ่งล้วนแต่เป็นบริษัทเล็กๆ เส้นทางที่วิ่งก็เป็นระยะทางสั้นๆหรือวิ่งตามชายฝั่ง การลงทุนในเรื่องนั้นมหาศาล ประกอบกับจะต้องมีการจัดการเครือข่ายทั่วโลกต้องมีตลาด ข้อเท็จจริงคือ ไม่ใช่เรื่องที่เรือไทยจะต้องอาจหาญไปเทียบรัศมีกับเรือต่างชาติ

บริษัทเรือไทย มีกองเรือชักธงไทย มีผู้บริหารเป็นคนไทยและผู้ถือหุ้นเป็นคนไททยก็มีอยู่บริษัทหนึ่งเติบโตมาอย่างเงียบๆ ประมาณ 7-8 ปี จนถึงทุกวันนี้ ภายใต้การนำของพลเรือ ตรีชาโณ เพ็ญชาติ ในยุคแรกและเชนศร์ เพ็ญชาติ ในยุคนี้ คือ บริษัทจุฑานาวี

แหล่งข่าวรายหนึ่งพูดถึงพลเรือตรีชาโณ "ท่านเป็นคนที่มีใจมุ่งมั่นในการที่จะพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทย ประมาณปี 1980 มันเกิดช่วงตกต่ำอย่างมาก จุฑาฯนี่ก็ย่ำแย่ๆ แล้วก็ค่อยๆพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้"

เราเคยได้ยิน ตระกูลเพ็ญชาติในลักษณะอื่น แต่สำหรับท่านผู้นี้ถ้าจะเข้ามาอยู่ในวงการเรือ ก็คงไม่แปลก เพราะมีคำนำชื่อว่า พลเรือตรีเป็นนายทหารเรือเก่าเป็นเจ้าของบริษัท ซี.พี.จำกัด (ย่อมาจากชื่อ นามสกุล) ตั้งแต่ก่อนจะมาซื้อกิจการจุฑาฯกว่า 10 ปี บริษัทซี.พี.นั้น เป็นกิจการขนส่งน้ำมัน ภายในประเทศและประเทศใกล้เคียง ปัจจุบันนี้มีเรือน้ำมัน 12 ลำ ให้บริการแก่เจ้าของกิจการน้ำมันรายใหญ่ เช่น เชลล์ ไทยออยล์ บางจาก ปิโตรเลี่ยม คาลเท็กซ์ ส่วนใหญ่มักจะวิ่งระหว่าง สิงคโปร์-ภูเก็ต สงขลา หรือในแถบชายฝั่งมีระวางบรรทุก 2,000 เดทเวทตันอยู่ 9 ลำ 4,000 เดทเวทตตัน 1 ลำ และ 6,000 เดทเวทตตัน 1 ลำ

นายทหารเรือเก่า เข้าเทคโอเวอร์จุฑานาวี มันเป็นไปตามกลไกธุรกิจไทยแท้คือ..

ย้อนหลังไปประมาณ 4 ปีก่อนหน้านั้น วันที่ 24 มิ.ย. 2519 บริษัท จุฑานาวี จำกัด ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท ประธานกรรมการชุดแรกคือ จาภิกรณ์ เศรษฐบุตร จากนั้นมา มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการอีกหลายชุดเข้ามา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ผู้ถือหุ้นก็มีลักษณะเช่นเดียวกันผลัดเปลี่ยนจากมือนี้ไปสู่มือนั้น

สมัยก่อน การขนส่งทำการค้าระหว่างประเทศมีไม่ถึงเดี๋ยวนี้ก็พอจะอนุโลมให้ว่าเป็นอุปสรรคอันหนึ่งต่อการดำเนินงานของธุรกิจเรือ แต่แท้ที่จริงแล้วจุฑาฯสมารถทำกำไรตลอด มาขาดทุนเอาเมื่อประมาณปี 2522- 2523 นั่นเองเรียกว่าขาดทุนเสียยับ ก่อนหน้าที่กลุ่มเพ็ญชาติจะเข้ามีส่วนในการบริหาร เป็นตัวเลขถึง 43 ล้านบาท กว่าเสียด้วย!!

ทำไมถึงมากมายขนาดนั้น?

ผู้ที่เป็นกรรมการผู้จัดการในช่วงเวลานั้นคือ ชาญชัย วิศษฎ์กุล ผู้เป็นหนึ่งในเจ้าของ สกายไลน์ บริษัทที่เป็นเอเยนต์ให้กับสายเดินเรือต่างๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอยู่ เมื่อชาญชัยมานั่งเป็นกรรมการผู้จัดการจุฑานาวีในครั้งนั้น เขาได้ทำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือการเปลี่ยนเอเยนต์เรือของจุฑาฯจากเดิมคือ ทอไรท์ซึ่น ไปเป็น สกายไลน์

ใครไม่รู้ ถามว่ามีผลดีผลเสียอะไรหรือ...ก็ขาดทุนไป 43 ล้านบาทนั่นยังไง

ราคาหุ้นนอกตลาดตกระเนระนาด จะเข้าไปตลาดหลักทรัพย์ฯก็เลยไม่ต้องเข้ากัน เรื่องจะเข้าตลาดหลักทรัพย์นี่ เคยมีมาแล้วในประวัติศาสตร์ของจุฑาวี ซึ่งก็ได้แต่จะเพราะมาติดผลขาดทุนเข้าเสียก่อน เดือดร้อนจนต้องเอาเรือไปจำนอง ก็พอดีบริษัทเงินทุนนั้นเป็นบริษัทเงินทุนในกลุ่มเพ็ญชาติ คือ บริษัทเงินทุนชาติไพบูลย์เจ้าของกิจการเรือน้ำมันจึงต้องรับรู้ไปโดยปริยาย

ในเมื่อเป็นเจ้าของเรือน้ำมันอยู่ด้วย ราคาหุ้นก็ตกด้วย จึงเป็นภาวการณ์ที่เอื้ออำนวยให้เกิดความสนใจ ประกอบกับความตั้งใจที่จะยกระดับกองเรือพาณิชย์ของไทยตั้งแต่สมัยก่อนๆมาแล้ว

พลเรือตรีชาโณ เพ็ญชาติจึงเริ่มทยอยซื้อหุ้น บริษัทจุฑานาวี และได้เข้ามาส่วนร่วมในการบริหารนับแต่นั้นมา คงจะได้มีการปรับปรุงการดำเนินงานและพัฒนาประสิทธิภาพมาเรื่อยๆอย่างน้อยก็เพื่อปลดภาระการขาดทุนมหึมาก้อนนั้น

สิ่งแรกที่ทำคือเขาสั่งเลิกจ้างลูกจ้างฝรั่งที่กินเงินเดือนแพงๆ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และส่งคนมาประกบดูการดำเนินงานของชาญชัย ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการในขณะนั้น คือวิเชียร วิชยานนท์

ว่ากันว่าเหตุที่เข้าต้องแก้ปัญหาการขาดทุนสะสมของบริษัทจุฑานาวี ด้วยวิธีนี้ก็เพราะทนเห็นความไม่ถูกต้องที่รายได้หลายล้านบาทมันตกหล่นกลางทางไม่เข้าบริษัทเต็มเม็ดเต็มหน่วย

วันนี้ เชนศว์ เพ็ญชาติ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท จุฑานาวี เขาเป็นลูกชายของนายทหารเรือเก่าผู้นั้น ซึ่งในขณะนี้ก็ยังคงนั่งในตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท เชนศร์กลับมาจากอเมริกาประมาณปี 2527 พร้อมด้วยวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท จากแบ็บสั่น คอลเลจ สาขาการบริหาร ไม่นานนัก ก็เข้ารับตำแหน่งและดูแลบริษัทมาจนทุกวันนี้

จุฑานาวีเป็นบริษัทเรือไทยสังกัดประเทศไทยโดยแท้ เป็นสายการเดินเรือระดับชาติของไทยที่เป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ ได้รับการบรรจุชื่อลงในเอกสารต่างๆระหว่างประเทศ ว่าเป็นเรือไทยเจ้าของไทย มีอะไรอยู่ตรงนี้อย่างนั้นหรือ??

แน่นอน..เรือไทย บริษัทคนไทย ย่อมได้สิทธิพิเศษจากรัฐบ้าง จุฑานาวีอยู่ในข่ายนั้น แต่มีบางบริษัทได้รับสิทธิพิเศษใในฐานะเป็นบริษัทเรือไททยด้วยเหมือนกัน ในขณะที่เอกสารของวงการในต่างประเทศมิได้บรรจุไว้เช่นนั้น เพราะเจ้าของจริงๆมันอยู่ต่างประเทศ

ถ้าว่าจุฑานาวีเป็นบริษัทเรือไทยที่ใหญ่ที่สุดในเวลานี้ก็ไม่ผิด ถึงแม้จะมีเรือขนสินค้าอยู่เพียง 4 ลำ เป็นเรือ MULTIPURPOSE แต่สามารถบรรทุก ตู้คอนเทนเนอร์ได้ประมาณ 40 ตู้ต่อลำ ไม่ใหญ่นักเมื่อเทียบกับกองเรือต่างชาติมีระวางบรรทุกโดยเฉลี่ย 14,000 เดทเวทตันต่อลำ วิ่งในเส้นทาง ไทย-ญี่ปุ่น

ธุรกิจเมื่อเติบโตก็เป็นธรรมดาที่ต้องขยายตัว ปรับปรุงการดำเนินงาน ขยายกิจการออกไปในตลาดใหม่ ถ้าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค เริ่มตั้งแต่การขยายฐานการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปจนถึงออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่หากว่าบริษัทเรือบริษัทใด มีการเจริญเติบโตและมีผลการดำเนินงานดี ก็น่าที่จะมีการขยายฐานการผลิตพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ตามลักษณะของธุรกิจการเดินเรือ ไปอย่างนั้น

จุฑานาวี กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯขณะนี้อยู่ระหว่างการรออนุมัติและได้เพิ่มทุนจากเดิม 45 ล้านบาทเป็น 60 ล้านบาทแตกหุ้นจากราคาเดิม 30 บาทเหลือเพียง 10 บาทไปแล้ว นั่นเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอธิบาย สำหรับการเพิ่มทุนพร้อมกับการแตกหุ้น

เหตุผลในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯก็คล้ายๆกันระดมทุน การได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก..และอีกหลายๆประการ

แต่สิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญนั่น คือความเคลื่อนไหวกับกรขยายตัวของความสำเร็จในการดำเนินงานกำไรก่อนหักภาษีที่เพิ่มจากปีที่แล้วกว่าสองเท่าจาก 30 ล้านบาทเป็น 90 ล้านบาท เป้นตัวเลขที่จมหูผนวกกับการเพิ่มทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯเป้นสูตรสำเร็จของการบริหารกิจการเพื่อการเตรียมพร้อมขยายตัว ที่นัยว่า จุฑานาวีกำลังจะซื้อเรือใหม่ พร้อมเปิดเส้นทางใหม่ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us