Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มิถุนายน 2546
3แบงก์ใหญ่ขยับตัว รับมือจุดเปลี่ยนเกมแข่งขัน             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ
โฮมเพจ ธนาคารกสิกรไทย

   
search resources

ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
บัณฑูร ล่ำซำ
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
ชฎา วัฒนศิริธรรม, คุณหญิง
Banking and Finance




3 แบงก์ใหญ่เอกชนพร้อมปรับตัวรับจุดเปลี่ยนเกมแข่งขันกับแบงก์ กรุงไทย ซึ่งเป็นกลไกของรัฐ ยอมรับว่าแบงก์รัฐได้เปรียบแง่ต้นทุน แต่ต่างเร่งหาบริการ เสริมสร้างความพอใจลูกค้า และรายได้ บิ๊กแบงก์กรุงเทพชี้ถ้าแข่งกันเรื่องราคาแล้วเกิดผลกระทบต่อระบบ เป็นหน้าที่ธนาคารชาติต้องดูแล

ปรากฏการณ์การแข่งขันของวงการธนาคารมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เมื่อธนาคารกรุงไทยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีหรือ MLR เหลือเพียง 5.75% ซึ่งต่ำกว่าธนาคารขนาดใหญ่รายอื่นๆ ถึง 0.5-0.75%

จุดเปลี่ยนตลาดธนาคารอื่น

นายบัณฑูร ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย ให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการรายวัน" ว่า จุดเปลี่ยนของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้ เกิดขึ้นแล้ว เมื่อธนาคารที่เป็นกลไกของรัฐรับนโยบายกำหนดราคานำหน้าตลาด

นายบัณฑูร กล่าวว่า เมื่อธนาคารของรัฐกลายเป็นคู่แข่งรายใหม่ที่ดำเนินการเชิงรุก กำหนดราคาหรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ โดยไม่พิจารณาอัตราความเสี่ยง ตามหลักที่วงการธนาคารนำมาคำนวณตามปกติ

กรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย ให้ความเห็นว่า ธนาคารก็ต้องปรับตัวด้วย การลดค่าใช้จ่ายการบริหารและหารายได้จากค่าบริการใหม่ๆ ที่จะต้องค้นคิดออกมา บริการลูกค้าให้หลากหลายและสะดวกรวดเร็วขึ้น ซึ่งในการนี้ก็ต้องใช้เทคโนโลยี เข้ามาเสริมมากขึ้น

"การที่เราแยกงานพัฒนาระบบการให้บริการต่างๆ เป็นหน้าที่ของบริษัท ไอบีเอ็ม ทำให้มีความคล่องตัวและเป็นจุดสำคัญที่ช่วยให้กสิกรไทยมีพัฒนาการรวดเร็วและล้ำหน้า"

กรุงเทพพร้อมสู้

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจทุกประเภทจะต้องมีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ธนาคารกรุงเทพได้มีการปรับโครงสร้างหลายส่วนให้สอดคล้องกับภาวะการแข่งขันในปัจุบัน

ที่ผ่านมาการดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ มีกำไรจากการดำเนินธุรกิจตามปกติอยู่แล้ว เพราะภาวะเศรษฐกิจมีอัตราการเติบโตที่สูง แต่เมื่อประเทศไทยได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนไป หากธนาคารพาณิชย์แห่งใดไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ส่วนภาวะการแข่งขันขณะนี้มีธนาคารพาณิชย์ของรัฐใช้กลยุทธ์ราคาในการแข่งขัน โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง นั่นเป็นจุดได้เปรียบของธนาคารพาณิชย์รัฐที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าธนาคารเอกชน โดยจะต้องแบกรับภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทำให้มีข้อจำกัดในการแข่งขัน

ธนาคารได้มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ที่จะหาช่องทางการแข่งขันด้านอื่นๆ เข้ามา ทดแทน นอกเหนือจากไปแข่งด้านราคาอย่างเต็มที่ ซึ่งมองว่าภาคเกษตรเป็นพื้นฐานการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจที่มั่นคง ดังนั้นจึงได้เริ่มทำโครงการเกี่ยวกับเกษตรกรและธุรกิจรายย่อยหรือเอสเอ็มอีมาเป็นระยะเวลา 2 ปีกว่ามาแล้ว ซึ่งเรามองว่าการสร้างภาคเกษตร-กรให้เข้มแข็งหรือสนับสนุนให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เกิดขึ้น จะเป็นฐานของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งธนาคารจะยังมีผลในทางอ้อมที่นำเสนอผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของธนาคารให้กับลูกค้าด้วย

โยนทางการดูแลระบบ

สำหรับประเด็นที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีการแข่งขันเรื่องของราคามากยิ่งขึ้น อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบหรือไม่นั้น นายโฆสิตกล่าวว่า ภายใต้การดำเนินธุรกิจแล้ว การแข่งขันโดยเสรี ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งสามารถทำได้ และการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการแข่งขัน ดังนั้นจึงถือว่าไม่ผิด แต่จะส่งผลกระทบต่อระบบหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ทางการโดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำกับดูแลสถาบันการเงินโดยตรงจะเป็นผู้พิจารณาเอง

"แบงก์คงจะต้องแข่งขันกันต่อไป ซึ่งต้องหากลยุทธ์อื่นๆเข้าเสริมจุดด้อย โดยเอาแต่แข่งเรื่องราคาไม่ได้ ก็หันมาใช้กลยุทธ์การให้บริการที่ดีขึ้น หรือมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ทดแทน เรื่อง ราคาที่แบงก์ยังมีข้อจำกัดอยู่ก็ได้" ประธานกรรม การบริหารกล่าว

ไทยพาณิชย์ยันแข่งขันได้

ส่วนคุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ภาย ใต้การแข่งขันในขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์บางแห่งมีความได้เปรียบเรื่องของต้นทุนที่ต่ำ โดยสามารถโอนเอ็นพีแอลออกจากธนาคารได้ ซึ่งเป็นจุดได้เปรียบที่สามารถปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวมากกว่า

ธนาคารไทยพาณิชย์นั้นถือว่ายังคงมีภาระของเอ็นพีแอลที่จะต้องแก้ไข ซึ่งภาระดังกล่าว คุณหญิงชฎาขอย้ำว่าไม่มีผลกระทบใดๆ กับฐานะของธนาคาร เนื่องจากมีการตั้งสำรองไว้เรียบร้อยหมดแล้ว ซึ่งจุดเสียเปรียบดังกล่าวไม่มีผลโดยตรงกับธนาคาร ซึ่งมีเงินกองทุนที่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจระยะยาว และเป็นจุดเสริมให้แข่งขันกับธนาคารอื่นๆ ได้

ในส่วนของลูกค้านั้น ธนาคารมีการดูแลลูกค้าเป็นพิเศษอยู่แล้ว และลูกค้าในแต่ละรายจะมีการต่อรองและเจรจากับธนาคารขอใช้อัตราดอกเบี้ยพิเศษเกือบทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่ลูกค้าจะไม่ใช้ดอกเบี้ยที่อิงกับดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์หรือเอ็มโออาร์ของธนาคารมากนัก ซึ่งมีเพียง 20% ของลูกค้าทั้งหมดที่อิงกับดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ ดังนั้นการเคลื่อนไหวของธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ที่ลดดอกเบี้ยเงินกู้จึงมีผลกระทบกับลูกค้าธนาคารน้อยมาก

นอกจากนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีการปรับระบบการบริหารให้คล่องตัวและสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจปัจจุบันมากยิ่งขึ้น พร้อมกับเสริมจุดแข็งต่างๆ ด้านเทคโนโลยี ที่นำเข้ามา ใช้ในการให้บริการกับลูกค้า พร้อมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายทำให้ลูก ค้าเกิดความพอใจในการใช้บริการของธนาคาร

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us