Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 มิถุนายน 2546
ล้มประมูลซีดีเอ็มเอยูคอม-นอร์เทลแห้วโครงการ3หมืนล้าน             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม

   
search resources

ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรีส์, บมจ.
นอร์เทล เน็ทเวิร์คส์ ประเทศไทย, บจก.
กสท โทรคมนาคม, บมจ.
เรียลไทม์
บุญชัย เบญจรงคกุล
ทอม เครือโสภณ
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
CDMA




ล้มซีดีเอ็มเอ มูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท ตามคาด หลังเรียลไทม์ของกลุ่มยูคอม ถอดใจ ไม่ยืนราคาต่ออีก 2 เดือนตามความต้องการ กสท. ที่หวังซื้อเวลาแบบไม่มีอนาคต ด้านนอร์เทล เสนอทางออกใหม่ ตัดเรื่องการตลาดทิ้ง ซื้อตรงอุปกรณ์เครือข่ายจากซัปพลายเออร์ ลดต้นทุนโครงการมหาศาล

แหล่งข่าวการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) กล่าวว่าในการ ประชุมบอร์ด กสท.เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มิ.ย.เพื่อพิจารณาโครงการโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอในภูมิภาค ซึ่งบริษัท เรียลไทม์ กลุ่มยูคอม เสนออุปกรณ์นอร์เทล ยืนราคาประมาณ 3.1 หมื่นล้านบาท จนถึงสิ้น มิ.ย.เท่านั้น เพื่อหาทาง ออก เนื่องจากเรียลไทม์ปฏิเสธที่จะยืนราคาต่อไปอีก 2 เดือนตามความต้องการของ กสท.

"เมื่อเรียลไทม์ไม่ยอมยืนราคาต่อไป ก็เท่ากับล้มประมูลโดย ปริยาย ซึ่งบอร์ด กสท.หลายคนก็ต้องการเป็นเช่นนั้น ถึงแม้กสท. อาจจะเรียกรายที่ 2 มาเจรจาต่อไป แต่ก็เป็นเรื่องยาก เพราะราคาสูงกว่าเรียลไทม์"

โครงการซีดีเอ็มเอในภูมิภาค ยืดเยื้อมายาวนานถึงแม้น.พ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องการให้เป็นเรือธงของกสท. ในการทำธุรกิจอนาคตก็ตามแต่จำเป็น ต้องตอบคำถามทุกอย่างของบอร์ด ให้ได้ ซึ่ง น.พ.สุรพงษ์ขีดเส้นตายภายใน มิ.ย.ว่าจำเป็นต้องมีคำตอบ เนื่องจากเรียลไทม์กำหนดยืนราคา ถึงสิ้นเดือนนี้เท่านั้น

บุญชัยปลง

การปฏิเสธยืนราคาของเรียลไทม์ เพื่อซื้อเวลาของกสท.สะท้อน ผ่านคำให้สัมภาษณ์ของนายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี (ยูคอม) ที่แสดงอาการปลง ตกว่า "ผมไม่ค่อยใส่ใจ" พร้อมขยายความว่า ยูคอมมี 2 บทบาท คือในฐานะเป็นตัวแทนการประกวดราคากับดีแทค ที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งวันนี้ต้องโฟกัสว่า อะรไที่ทำเงินและทำรายได้ ให้มาก กว่า

"ซีดีเอ็มเอ เป็นเรื่องของคอนเทนต์ เพราะในสังคมไทยไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องเงิน หรือรายได้กับคอนเทนต์ เหมือนในเกาหลีหรือญี่ปุ่น"

นอกจากนั้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็แตก ต่างกัน เพราะคนในประเทศดังกล่าวห้ามใช้โทรศัพท์มือถือในรถไฟใต้ดิน สิ่งที่ทำได้คือการ เล่นคอนเทนต์ในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในไทยไม่ใช่ รวมทั้งสังคมในประเทศนั้นๆ ยังใช้งานอินเทอร์-เน็ตแบบยั่งยืนที่ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้งานด้านการสื่อสารข้อมูล

"ซีดีเอ็มเอ เป็นโจทย์ที่ยากคือเรื่องลูก ข่ายและคอนเทนต์ เพราะถ้ามีได้แค่ปัจจุบันนี้ MMS ของโทรศัพท์มือถือยังมีได้มากกว่า" เขากล่าว

ด้านนายทอม เครือโสภณ กรรมการผู้จัด การบริษัท นอร์เทล เน็ทเวิร์คส์ จำกัด ประจำประเทศไทย ในเครือกลุ่มนอร์เทลจากแดนมะกัน ซึ่งเป็นผู้เสนออุปกรณ์ระบบซีดีเอ็มเอ แสดงอาการท้อใจเพราะแม้จะลดราคาลงมาระดับหลัก พันล้านบาท แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา

แนะ กสท.ซื้อตรงจากซัปพลายเออร์

เขากล่าวถึงทางออกของโครงการนี้ว่า กสท. น่าจะซื้อตรงกับซัปพลายเออร์ ผู้ผลิตอุปกรณ์โดยตรง เนื่องจากข้อเสนอเดิมที่นำเรื่องการตลาดผูกเข้าไปด้วย ทำให้ต้นทุนสูง รวมทั้ง เงื่อนไขที่ถือว่าดีมากๆ สำหรับกสท.เรื่องความเสี่ยงต่างๆ ทำให้ราคาที่เสนอสูงเกิน 3 หมื่นล้าน บาท

"ถ้าคิดอุปกรณ์ของนอร์เทลก็แค่ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเรื่องอุปกรณ์ภายในประเทศ หรือการติดตั้งในประเทศอีก 50-60 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าเปลี่ยนเป็น กสท.ซื้ออุปกรณ์จากซัปพลาย- เออร์โดยตรงแล้ว ให้ผู้จัดหาแหล่งเงินให้ โดยตัดเรื่องการตลาดความเสี่ยงต่างๆ ออกไป ก็จะทำให้โครงการนี้ถูกลงทันที"

4 รายชิงดำ

โครงการซีดีเอ็มเอมีเอกชน 4 รายยื่นข้อเสนอคือ 1.บริษัท อีพีซี โซลูชั่น จำกัด โดยจับคู่กับบริษัท ลูเซ่นส์ เทคโนโลยี จำกัด 2.บริษัท อคิวเม้นท์ จำกัด ร่วมกับบริษัท ZTE 3.บริษัท เรียลไทม์ จำกัด ร่วมกับนอร์เทล และ 4.บริษัท สยาม เอ็มซีที เทเลคอม จำกัด ร่วมกับบริษัท อีริคสัน

เงื่อนไขเบื้องต้นในการติดตั้งโครงข่ายระยะแรก ต้องติดตั้งให้ได้ 1,000 สถานี โดยแบ่ง การติดตั้งเป็น 3 ระยะ ใช้เวลาภายใน 3 ปี คือ ระยะแรก ต้องติดตั้งให้ได้ 600 สถานี ระยะที่ 2 ต้องติดตั้งให้ได้ 200 สถานี และระยะที่ 3 ติดตั้งอีก 200 สถานี

โครงการนี้ ให้เอกชนยื่นข้อเสนอเพื่อดำเนิน โครงการ ทั้งด้านการตลาดและการติดตั้งระบบ เครือข่ายเป็นเวลา 12 ปี โดยสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ 1.68 ล้านคน

สำหรับการดำเนินโครงการซีดีเอ็มเอของ กสท. ยกเลิกการประมูลมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2544 เนื่องจากบริษัท เอส.บี.พี. โฮลดิ้ง จำกัดยื่นหนังสือถึง กสท.เพื่อขอยกเลิกข้อเสนอดำเนิน โครงการ มูลค่า 30,000 ล้านบาท โดยอ้างว่า เพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจจากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า มีการทุจริต แต่ขอให้ กสท.สงวนสิทธิ์ในเอกสาร ที่เสนอให้เป็นความลับ ไม่ให้เปิดเผยต่อสาธารณชน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us