|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การแข่งขันในธุรกิจเครื่องบินเพื่อแย่งชิงยอดสั่งซื้อของสองค่ายยักษ์ใหญ่ระหว่างแอร์บัส ที่ใช้ความอลังการของรุ่น A380 มาเป็นจุดขาย ขณะที่โบอิ้งหยิบเอากระแสเรื่องของประหยัดน้ำมันมาใช้ ส่งผลให้สงครามธุรกิจเริ่มมีความร้อนแรงโดยเฉพาะในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่กลายเป็นเป้าหมายหลัก
ยุทธศาสตร์ของการการแข่งขันของสองบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์ระดับโลกไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงการพัฒนาสมรรถนะและเทคโนโลยีเท่านั้น แต่หากมองถึงศักยภาพโดยรวมของกลยุทธ์การตลาดที่มีจุดประสงค์เพื่อการจัดจำหน่ายและช่วงชิงจำนวนยอดสั่งซื้อให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญการขึ้นแท่นเพื่อเป็นผู้นำทางธุรกิจคือเหตุผลที่ไม่อาจปฏิเสธได้
ที่ผ่านมา ดูเหมือนแอร์บัสจะออกสตาร์ทช่วงแรกได้ดีกว่าโบอิ้ง ด้วยการใช้เครื่องบินแอร์บัส A380 ซึ่งมีฉายาว่า "ซูเปอร์จัมโบ้" ด้วยความที่มีขนาดจำนวนที่นั่งมากถึง 525 ที่นั่ง ส่งผลให้แอร์บัสมียอดออเดอร์จากสายการบินทั่วโลกสั่งเข้ามาจองจำนวนมาก แม้แต่การบินไทยก็เป็นลูกค้ารายหนึ่งที่สนใจ ขณะที่ราคาขายค่อนข้างจะสูงมากถึงลำละกว่า 10,000 ล้านบาท แม้ว่าแอร์บัสจะหยิบจุดขายที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องบินโดยสารอื่นๆทั่วไปเพื่อใช้สำหรับการเดินทางในเส้นทางระยะไกลก็ตาม แต่ก็ไม่สิ้นเปลืองน้ำมันมากนักโดยคิดค่าเฉลี่ยต่อผู้โดยสารแต่ละคนเพียงแค่ 3 ลิตร ต่อระยะทาง 100 กม.
สอดคล้องกับที่ มร.ชอนลี การสื่อสารฝ่ายภูมิภาคเอเชีย บอกถึง ตลาดเอเชียจะเป็นตัวแปรเปลี่ยนให้เกิดการเดินทางด้วยเครื่องบินขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยจะกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แอร์บัสต้องการเจาะตลาดเครื่องบินรุ่น แอร์บัส A350 และ A380
ความพยายามของค่ายโบอิ้ง ที่ต้องการตีตื้นแย่งตลาดเครื่องบินขนาดใหญ่กลับคืนมาจากค่ายแอร์บัสหลังจากที่โดนเครื่องบินแอร์บัส A 380 ดึงกลุ่มลูกค้าส่วนหนึ่งไป ปัจจุบันโบอิ้งจึงมีการดัดแปลงเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 400 ให้มีขนาดความยาวเพิ่มขึ้นอีก 3.6 เมตร และพร้อมกับตั้งชื่อภายใต้โมเดลใหม่ว่า โบอิ้ง 747 - 8 Intercontinental ประกอบไปด้วยเครื่องบินขนส่งสินค้า และเครื่องบินโดยสาร ส่งผลให้ขนาดของเครื่องบินมีความยาวเพิ่มขึ้นสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นเป็น 450 - 467 คนทีเดียว
นับเป็นจุดขายใหม่ที่ค่ายโบอิ้งหยิบมาเล่นโดยมีเป้าหมายสำคัญสูงสุดอยู่ที่การผลิตเครื่องบินลำใหม่ออกมาจำหน่ายให้ได้ภายในปี 2553 และช่วงระหว่างการรอกระบวนการผลิตจะเสร็จสิ้น ฝ่ายการตลาดจึงเป็นหัวหอกสำคัญในการทำหน้าที่เพื่อสร้างยอดจัดจำหน่ายก่อนที่จะมีการส่งมอบ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ช่วงเวลาแบบนี้โบอิ้งจะส่งฝ่ายการตลาดเปิดเกมรุกไปยังสายการบินต่างๆ เพื่อกวาดยอดสั่งซื้อให้ได้มากที่สุด โดยมีพื้นที่ในแถบเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคเป้าหมายหลัก
“แต่ทั้งหมดก็ไม่ใช่คู่แข่งขันในเรื่องของเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ที่แอร์บัสผลิตออกมาแข่งขันในตลาดธุรกิจ”มร.ชอน ลี กล่าว
ขณะที่ มร. แรนดี้ เจ ทินเซ็ธ รองประธานฝ่ายการตลาด โบอิ้งคอมเมอร์เชียลแอร์เพลนส์ ผู้ผลิตเครื่องบินโบอิ้ง กล่าวว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่งผลให้เกิดการเดินทางและการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นตลาดใหญ่ของโบอิ้งที่จะนำเครื่องบิน 747 - 8 Intercontinental เข้ามาทำตลาด เพราะเชื่อว่าการเพิ่มขนาดเครื่องบินที่ใหญ่ขึ้น ขนผู้โดยสารต่อเที่ยวได้มากขึ้น จะช่วยลดการจราจรทางอากาศ และประหยัดค่าต้นทุนเพราะไม่ต้องเพิ่มเที่ยวบิน
ขณะเดียวกันการบินไทย ก็เป็นอีกหนึ่งสายการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ โบอิ้ง ตั้งใจคว้ายอดสั่งซื้อให้ได้ ซึ่งตอนนี้กำลังเดินหน้าภารกิจจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะของเครื่องบินโบอิ้งทั้งรุ่นโดยสาร 747 Intercontinental และรุ่นขนส่งสินค้า 747 - 8 Freighter เพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบพิจารณาจัดซื้อเครื่องบินโมเดลใหม่เข้ามาทดแทนฝูงบิน 747 - 400 ของการบินไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจำนวนทั้งสิ้น 20 ลำ ซึ่งทยอยปลดระวางในอีก 1 - 2 ปีข้างหน้า
ว่ากันว่าในอนาคตอีก 4 - 5 ปีข้างหน้า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นไม่หยุดส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินการของธุรกิจสายการบินต้องปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันต้นทุนน้ำมันของสายการบินก็เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 20% เป็น 40%
“สายการบินต่างๆ ก็ได้พยายามปรับกลยุทธ์ในการต่อสู้กับต้นทุนราคาน้ำมัน เช่น ลดต้นทุนการบริหาร ค่าจ้างแรงงาน การปรับขึ้นราคาตั๋วโดยสาร รวมถึงการจัดซื้อฝูงบินที่มีเทคโนโลยีทันสมัย และประหยัดการใช้น้ำมัน ประเด็นนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของเครื่องบินรุ่นใหม่ของโบอิ้งที่น่าจะช่วยสร้างยอดสั่งซื้อให้ได้ตามเป้าหมาย” มร.แรนดี้ เจ ทินเซ็ธ กล่าว
เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปิดเกมรุกทำตลาดในครั้งนี้จะไม่เหมือนในอดีตที่ผ่านมาโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายในแถบเอเชียแปซิฟิกที่มีการติดต่อซื้อขายกันจะไร้ซึ่งคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่าย แต่จะเป็นการติดต่อโดยตรงระหว่างบริษัท โบอิ้งจากสหรัฐอเมริกากับกลุ่มลูกค้าแทน ไม่เว้นแม้แต่สายการบินไทยที่โบอิ้งพยายามเข้ามาจีบด้วยตัวเอง เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และเป็นการดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิดอีกทางหนึ่ง
ขณะที่จุดขายเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 8I แม้จะมีขนาดเพิ่มขึ้นแต่ก็สามารถลงจอดได้ในสนามบินเกือบทุกแห่งทั่วโลก ขณะที่คู่แข่งขันอย่างแอร์บัส A380 นั้นสนามบินแต่ละแห่งต้องมีการลงทุนปรับปรุงสนามบินนับพันล้านบาท โดยเฉพาะรันเวย์และแท็กซี่เวย์หรือแม้แต่สะพานเทียบเครื่องบิน เพื่อให้รองรับการร่อนลงจอดได้ นี่อาจจะเป็นอีกจุดอ่อนหนึ่งของแอร์บัสรุ่น A380 ทำให้สนามบินขนาดกลางและเล็กไม่สามารถรองรับได้ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มหากต้องลงทุนมหาศาลเพื่อปรับปรุงสนามบินเสียใหม่ รวมทั้งใช้วัสดุน้ำหนักเบาเพื่อให้ประหยัดน้ำมัน และช่วยให้สายการบินประหยัดต้นทุนเชื้อเพลิงได้
ส่งผลให้เครื่องบินรุ่นใหม่ที่กำลังผลิดจะสามารถประหยัดน้ำมันกว่ารุ่น 747 - 400 ราว 16% และเมื่อเทียบกับเครื่องแอร์บัส A380 จะประหยัดกว่า 11% ทีเดียว
“ที่สำคัญเครื่องยนต์รุ่นที่ใส่ในโบอิ้งลำใหม่นี้ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย” มร.แรนดี้ เจ ทินเซ็ธ กล่าว และด้วยกลยุทธ์ประหยัดน้ำมันที่ค่ายโบอิ้งส่งออกมาตีตลาดเครื่องบินของค่ายแอร์บัส ทำให้สายการบินเกือบทุกแห่งทั่วโลกโดยเฉพาะในแถบภูมิภาคเอเชียให้ความสนใจไม่น้อย แม้แต่การบินไทยเองที่มีกระแสข่าวออกมาว่ามียอดสั่งซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ประมาณกว่า 20 ลำทีเดียว
“คาดว่าใน 20 ปีข้างหน้า เครื่องรุ่นดังกล่าวจะมียอดคำสั่งซื้อจากทั่วโลกจำนวน 960 ลำ เป็นเครื่องโดยสาร 590 ลำ และเครื่องบินขนส่งสินค้า 370 ลำ โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีสัดส่วนยอดสั่งซื้อสูงที่สุด”มร.แรนดี้ เจ ทินเซ็ธ เชื่อว่าเป็นอย่างนั้น
|
|
|
|
|