ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยปริมาณบัตรเครดิตไตรมาส 1 ยังคงเติบโตต่อเนื่อง จำนวนบัญชีหรือปริมาณบัตรเครดิตหลักในระบบ
เพิ่มขึ้นประมาณ 3.7% จากไตรมาส 4 ปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นไตรมาสแรกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับเปลี่ยนแบบรายงานใหม่
โดยจะรายงานตัวเลขปริมาณบัญชี ทดแทนปริมาณบัตรเครดิตทั้งหมด
หากปรับเปลี่ยนฐานเหมือนไตรมาสก่อนหน้า ก่อนจะมีรายงานแบบใหม่ ศูนย์ วิจัยกสิกรไทยพบว่า
ปริมาณบัตรเครดิตทั้งหมดในระบบไตรมาส 4 ปี 2545 และไตรมาส 1 ปีนี้ ประมาณ 3.7 ล้านบัตร
และ 3.9 ล้านบัตร ตามลำดับ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปริมาณบัตรเครดิตสิ้นปีนี้ 2546 จะประมาณ 4.5 ล้านบัตร
เพิ่มขึ้นอัตราชะลอตัว คือขยายตัวประมาณ 21.6% น้อยกว่าขยายตัวประมาณ 46.5% ปี
2545 จากปี 2544
จะเป็นผลจากเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำธนา คารแห่งประเทศไทย ที่กำหนด 15,000 บาทต่อเดือน
ทำให้ฐานลูกค้าแคบลง การลดถือบัตรหลายใบของลูกค้า และมุ่งเน้นกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตร
มากกว่าขยายปริมาณบัตร ของผู้ออกบัตรหลายแห่ง
เทียบระหว่างไตรมาส ไตรมาสแรกปีนี้ การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตยังคงเติบโต แม้มี
เหตุการณ์โรคระบาด SARS และสงครามสหรัฐฯ-อิรักรอบ 2 อัตราเติบโตยังคงไล่เลี่ยไตรมาส
ก่อนๆ ปี 2545 คือประมาณ 7.8% ไตรมาส 1 ปี 2546 ใกล้เคียง ไตรมาส 2 และ 3 ปี 2545
ที่เติบโตประมาณ 6.1% และ 8% ตามลำดับ
หรือหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศครั้งแรก ยกเลิกเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำผู้ถือบัตรเครดิต
ก่อนกลับมาใช้เกณฑ์รายได้ ขั้นต่ำอีกครั้ง ครึ่งหลังไตรมาส 4 ซึ่งเป็นไตรมาสที่เติบโตที่สูงขึ้นผิดปกติของปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตร
คือเติบโตถึงประมาณ 20.7% จาก การแข่งขันเข้มข้นถึงที่สุดผู้ออกบัตรต่างๆ
ดูปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตร/บัตร/เดือน ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรลดลงมากไตรมาส 3 ปี
2545 ช่วงเวลาที่ปริมาณบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นถึง 16.1% จากไตรมาสก่อนหน้า ก่อนเพิ่มขึ้นไตรมาส
4 ปี 2545 ต่อเนื่องไตรมาส 1 ปีนี้ ตามลำดับ
บ่งชี้ให้เห็นว่า 2 ไตรมาสที่ผ่านมา การเพิ่ม ขึ้นปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตร แซงหน้าการเติบโต
ปริมาณบัตรเครดิต จากที่การเติบโตบัตรเครดิตชะลอศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ปริมาณ
ใช้จ่ายผ่านบัตรยังคงเติบโตได้แข็งแกร่ง แม้ปริมาณบัตรเติบโตชะลอ
น่าจะมีสาเหตุจากที่ การเพิ่มฐานบัตรลูกค้าใหม่ช่วงหลัง ส่วนใหญ่ เข้ามาถือบัตรกลุ่ม
ลูกค้าที่ไม่เคยถือบัตรเครดิตมาก่อน เป็นผลจากโปรโมชั่น และรายการส่งเสริมการขายผู้ออกบัตร
ช่วงปลายปี ที่ผลักดันให้การใช้จ่าย โดยรวมสูงขึ้นได้
ซึ่งต่างจากผู้ถือบัตรเดิม ที่ถือบัตรเครดิต เพิ่ม ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรไม่น่าจะมีขยับสูง
ขึ้นได้มากนัก ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรทั้งปีนี้ จะประมาณ
281,123 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 193,013 ล้านบาทปี 2545 ประมาณ 45.1% มากกว่าเพิ่มขึ้น
33.7% ปี 2545 เทียบปี 2544 จากกลยุทธ์มุ่งเน้นส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านบัตร มากกว่าเร่งเพิ่มฐานบัตรเครดิตกลุ่มผู้ออกบัตร
ไตรมาส 1 ปีนี้ ยอดคงค้างบัตรเครดิตไตรมาสแรก ยังคงเพิ่มต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าขยายตัว
3.2% เมื่อเทียบระยะเดียว กันปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นประมาณ 42.7% อย่าง ไรก็ตาม
หากดูสัดส่วนผลต่างยอดคงค้างต่อการใช้จ่ายผ่านบัตรช่วงเวลาต่างๆ การใช้จ่ายผ่านบัตรก่อเกิดยอดคงค้างเพิ่มขึ้น
ในระดับลดลง ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2545 ต่อเนื่องไตร-มาสแรกปีนี้
สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการใช้จ่ายผู้ถือบัตร ค้างชำระลดลง หรือชำระคืนเพิ่มขึ้น
อาจเกิดจาก
1. ลูกค้าใหม่ที่สมัครบัตรเครดิตช่วงหลัง จะเป็นลูกค้าประเภทเน้นใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด
มากกว่าได้วงเงิน ซึ่งเป็นไปได้ว่า ลูกค้า กลุ่มดังกล่าว อาจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
2. ดอกเบี้ยตลาดต่ำลง และมีแหล่งเงินทุนอื่นๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในตลาด ทำ
ให้ผู้ถือบัตรมีทางเลือกมากขึ้น ชำระหนี้บัตรเครดิตที่ดอกเบี้ยสูงกว่า และ
3. ผลจิตวิทยา จากกฎเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ควบคุมธุรกิจบัตรเครดิต และกระแสผ่านสื่อต่างๆ
เตือนใจผู้ถือบัตรระวังการใช้จ่ายเกินตัว อาจก่อหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นได้ ทำให้ตื่นตัวระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
และจากพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงของผู้ถือบัตร
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า สิ้นปีนี้ ยอดสินเชื่อคงค้างบัตรเครดิตจะประมาณ 72,458
ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 27.3% เทียบปีก่อนหน้า น้อยกว่าเพิ่มขึ้น 38.7% ปี 2545
จากปี 2544
จากวิสัยผู้ถือบัตรเปลี่ยนไป ค้างชำระบัตรเครดิตน้อยลง ซึ่งอาจเกิดจากทั้งลูกค้าเก่า
ที่วิสัยใช้จ่ายดีขึ้น หรือลูกค้าใหม่ที่เข้ามาในระบบ ช่วงหลังๆจุดประสงค์ใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด
มากกว่าได้วงเงินจากบัตร อาจเกิด จากแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ที่มีให้ลูกค้าเลือก
มากขึ้นปัจจุบัน สามารถชำระหนี้บัตรเครดิต ที่ดอกเบี้ยสูงกว่าได้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ข้อมูลบัตรเครดิตไตรมาส 1 ปี บ่งชี้ปริมาณบัตรเครดิตระบบธนาคารพาณิชย์
ยังคงเติบโต ปริมาณใช้จ่ายผ่านบัตรพุ่งสูงขึ้น ขณะที่ยอดคงค้างบัตรเครดิต ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
ศูนย์วิจัย กสิกรไทยคาดตัวเลขบัตรเครดิตทั้งปีนี้ ดังนี้
คาดการณ์แนวโน้มบัตรเครดิตปี 2546
ปัจจัยหลัก ฐานลูกค้าแคบลง จากเกณฑ์ รายได้ขั้นต่ำใหม่ธนาคารแห่งประเทศไทย ลดการถือบัตรเครดิตหลายใบ
เพื่อเลือกบริการหรือโปรโมชั่นผู้ออกบัตร ที่ถูกใจที่สุดของผู้ถือบัตร การมุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร
มากกว่าการเพิ่มปริมาณบัตรเครดิตของผู้ออกบัตร มุ่งเน้นรายการส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้ออกบัตร
การเพิ่มขึ้นของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรจากฐานบัตรใหม่ ที่ส่วนใหญ่ไม่เคยถือบัตรเครดิตมาก่อน
ซึ่งย่อมจะทำให้ปริมาณการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้มาก ถึงแม้การเติบโตของบัตรจะชะลอตัวลง
พฤติกรรมผู้ถือบัตรเปลี่ยนไป จากการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตที่น่าจะลดลง จากการกระตุ้นผ่านสื่อต่างๆ
การเพิ่มขึ้นของกลุ่มลูกค้าใหม่ในช่วงหลัง ที่มีลักษณะเน้นการใช้บัตรเครดิตแทนเงินสด
มากกว่าการได้วงเงินจากบัตร
จากสภาวะดอกเบี้ยต่ำและการมีแหล่งเงิน ทุนอื่นๆที่สามารถเป็นแหล่งนำเงินมาจ่ายชำระ
บัตรเครดิตที่ถือว่ามีการคิดดอกเบี้ยที่สูงได้
แนวโน้มธุรกิจบัตรเครดิตดังกล่าว รายได้หลักของผู้ออกบัตรในอนาคตจึงน่าที่จะขึ้นอยู่กับรายได้จากค่าธรรมเนียมเป็นหลัก
ในขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยน่าที่จะยิ่งลดความสำคัญลงไปเรื่อยๆ อันเป็นผลจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
ทั้งนี้ บัตรเครดิตก็จะกลายเป็นบัตรอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถืออย่างแท้จริง นั่นคือ
การใช้บัตรเครดิตจะมีต้นทุนในการถือถูกลง จากที่มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีของผู้ถือบัตร
การมีภาระดอกเบี้ยน้อยลงจากการค้างชำระที่ลดลงของผู้ถือบัตร ซึ่งในที่สุด บัตรเครดิตน่าที่จะสามารถเป็นเครื่องมือแทน
เงินสดที่เสนอวงเงิน และความสะดวกให้แก่ผู้ถือบัตรได้ในต้นทุนค่าบริการที่ต่ำ