|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ศรีอยุธยาประกันภัย" อิมพอร์ตซีอีโอ นายฝรั่งคนใหม่ จากฝั่งผู้ถือหุ้นใหญ่ "กลุ่ม อลิอันซ์" ประเทศเยอรมัน หลังจากต้องประสานผลประโยชน์จาก "หุ้นใหญ่" กลุ่มจีอี จากอเมริกา แทนตระกูล "รัตนรักษ์" ที่ถอนตัวออกไปจากแบงก์กรุงศรีอยุธยาและบริษัทในเครือ เตรียมล้างวัฒนธรรมการตลาดเดิม ที่เน้นจับกลุ่มลูกค้าองค์กร หันมาปักหลักยึดแนวทางขยายช่องทางหลากหลาย ผ่านการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ที่ท้าทายกว่า อย่าง ช่องทาง "ไดเร็คมาร์เก็ตติ้งและเทเลเซลส์" โดยมีสาขาแบงก์กรุงศรีอยุธยาเป็นแบ็คอัพ....
ทั้งๆที่ผ่านวัยล่วงเข้าปีที่ 50 "บมจ. ศรีอยุธยาประกันภัย" กลับยังไม่เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาในตลาดและลูกค้าทั่วไป ตรงกันข้าม ที่ผ่านมาตลาดหลักจึงยังเกาะกลุ่มอยู่ในธุรกิจประกันภัยประเภท "นอน มอเตอร์" ที่มีช่องทางหลักจาก ตัวแทน โบรกเกอร์ และสาขาแบงก์แม่ อย่างกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงภายใน "ศรีอยุธยาประกันภัย" เริ่มเห็นชัดเจนขึ้น ภายหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น ในธนาคารกรุงศรีอยุธยา แบงก์แม่ ผู้ถือหุ้นหลักของบมจ.ศรีอยุธยาฯ จากเดิมคือ "ตระกูลรัตนรักษ์" มาเป็น กลุ่ม จีอี ยักษ์ใหญ่ รีเทล แบงกิ้ง จากอเมริกา
และเมื่อไม่นานมานี้ "ศรีอยุธยาประกันภัย" ก็ได้เปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารใหม่จากทีมงานเดิม โดยมีการนำเข้า ซีอีโอ คนใหม่จากต่างประเทศเข้ามาแทนชุดเดิม ที่อยู่ในช่วงเกษียณวัย และส่วนใหญ่ก็เป็นคนเก่าแก่ที่นั่งเก้าอี้นี้มานาน
โรวัน ดี อาซี่ คือ นายฝรั่งคนแรก ที่ผ่านการคัดสรรโดยคณะทำงานภายในบอร์ด ที่จะมานั่งในตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. ศรีอยุธยาประกันภัย
ผลงานในแวดวงประกันภัยมากกว่า 30 ปี ทำให้ โรวัน กลายมาเป็น ซีอีโอ ที่ผ่านงานมาแล้ว 3 ประเทศ ภายใต้สังกัด กุล่ม อลิอันซ์ จากเยอรมัน นับจาก แอฟริกาใต้ มาถึงสิงคโปร์ จนล่าสุดในเมืองไทย
ถ้าจะบอกว่า โรสัน ผ่านเข้ามาจากสายธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่โดยตรงก็ไม่ผิดนัก เพราะอลิอันซ์ ก็คือ พันธมิตรหลักที่ถือหุ้นใน บมจ.ศรีอยุธยาฯถึง 16% ขณะที่แบงก์กรุงศรีฯในนาม จีอี ถือหุ้นอยู่ราว 12%
" ตลาดไทยน่าจะโตได้อีกมาก และค่อนข้างน่าสนใจ เพราะคนยังทำประกันภัยน้อย ในขณะที่ยังมีผลิตภัณฑ์ประกันภัยหลากหลาย ที่จะนำมาปรับใช้กับตลาดเมืองไทยได้อีกมาก "
โรวัน บอกว่า ยุคเดิมๆนั้น ตลาดประกันภัยในประเทศไทย ยังมีสินค้าไม่หลากหลาย ครอบคลุม แต่ปัจจุบันสินค้าประกันภัยมีหลายรูปแบบ ที่เหมาะกับแต่ละคนมากขึ้น เช่น ประกันภัยโรคมะเร็ง ประกันรายได้ หรือแม้แต่ ประกันภัยจากฝนตก เป็นต้น
" การจะโฆษณาเพื่อทำให้คนรู้จัก เราก็ทำได้ทั้งนั้น แต่การเขียนกรมธรรม์ขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุม ไม่ใช่เรื่องง่าย ธุรกิจประกันภัยจะต้องรู้จัก ความเสี่ยงอย่างดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้นออกกรมธรรม์มาก็ขาดทุนหมด"
โรวัน วิเคราะห์ว่า คนไทยยังมองการทำประกันภัยเป็นค่าใช้จ่าย ต้องจ่ายเบี้ยแพง ไต่ไม่เคยมองว่าเป็นการทำประกันความเสี่ยง ชดเชยรายได้ ที่สูญเสียไป ทั้งๆที่ในต่างประเทศกลับเห็นความสำคัญตรงนี้มาก
" ผู้บริหารชุดเดิมทำให้ธุรกิจเติบโต แต่ที่จะต่างไปก็คือ เราจะเน้นการเติบโตมั่นคง ขยายช่องทางจำหน่ายให้มากขึ้น มีการเปิดรับข้อมูลจากพนักงานและลูกค้ามากขึ้น"
ผู้บริหารระดับสูงของ บมจ.ศรีอยุธยาประกันภัย บอกถึงเส้นทางการเปลี่ยนตัว ซีอีโอคนใหม่ เพราะภาครัฐเริ่มจะเปลี่ยนกฎหมายใหม่ มีคู่แข่งจากต่างประเทศมากขึ้น และอยากได้ประสบการณ์ใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ จากผู้บริหารคนใหม่
สมัยก่อนช่องทางหลักของ ศรีอยุธยาประกันภัย คือ ตัวแทน โบรกเกอร์ และสาขาแบงก์ แต่ต่อไป จะเพิ่มการเติบโตจากฝั่ง การตลาดขายตรง ไดเร็คมาร์เก็ตติ้งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ เทเลมาร์เกตติ้ง และโฟกัสไปลูกค้าที่เดินเข้ามาที่สาขาแบงก์มากขึ้น
" การเติบโต จะทำได้ต้องมีหลายช่องทาง เพื่อสร้างวอลุ่มให้มากขึ้น แต่เราก็ยังไม่ต้องการเติบโตเร็วนัก แต่จะโตแบบมั่นคง และขยายช่องทางขายให้มากขึ้นเรื่อยๆ "
ศรีอยุธยาฯอาจเป็นธุรกิจประกันภัยมากราย ที่ไม่ทำตลาดกระจุกตัวในกลุ่ม มอเตอร์ หรือประกันภัยรถยนต์ เป็นสัดส่วนที่สูงเหมือนค่ายอื่น เพราะก็ไม่ทิ้งเสียทีเดียว เพราะประกันภัยรถยนต์มักจะเป็นจุดเริ่มต้นเพื่อต่อยอดไปยังประกันภัยประเภทอื่นในอนาคต
โรวัน บอกว่า พอร์ตใหม่ที่คิดเอาไว้ก็คือ สัดส่วนประกันภัยรถยนต์ 30% อัคคีภัย 30% ประกันภัยขนส่งทางทะเล 10-12% และเบ็ดเตล็ด 30%
ว่ากันว่า หมวดที่จะขยายตัวมากขึ้น นอกจากจะไม่ใช่ มอเตอร์หรือประกันภัยรถยนต์แล้ว สินค้าใหม่ที่หยิบยกเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นโปรดักส์ใน กลุ่มเบ็ดเตล็ด อาทิ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันสุขภาพ รวมถึงประกันภัยเดินทาง ที่จะใช้ช่องทางขายผ่านสาขาแบงก์กรุงศรีอยุธยาทั้งหมด
" ปีนี้เราจะออกสินค้าใหม่ ครั้งละไตรมาส รวม สามไตรมาส ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มเบ็ดเตล็ด"
โรวัน อธิบายว่า การจะเข็นองค์กรให้ขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆ จำเป็นต้อง หันมาจับตลาดประกันภัยรถยนต์เท่านั้น แต่ศรีอยุธยา จะทำตรงกันข้าม คือ ไม่โฟกัสไปที่ตลาดประกันภัยรถยนต์มากนัก
แต่สิ่งหนึ่งที่ยืนยันว่าในระยะกลางจะก้าวขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 5 ภายในเวลา 3-5 ปีก็คือ ประสบการณ์ในตลาดที่อยู่มา 50 ปี เงินกองทุนแข็งแกร่ง มีพนักงานที่ดี และมีสาขามากมาย
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การจะก้าวขึ้นมายืนในตำแหน่งนี้คงทำได้ยาก ถ้าจะเติบโตด้วยตนเอง นอกจากการควบรวม ที่อาจจะต้องหันมาพิจารณาจากเงินกองทุนที่มีอยู่ด้วย
โรวัน บอกว่า ภายใน 2-3 เดือน กำลังวางแผนจะทำ "รีแบรนดิ้ง" ในรูปของการ ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ในกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงภายใน ศรีอยุธยาประกันภัย ครั้งนี้ จึงไม่ใช่แค่ การอิมพอร์ตซีอีโอที่มีประสบการณ์โชกโชนจากต่างประเทศเข้ามาเท่านั้น
เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการส่งสัญญาณมาจากฝั่ง จีอี ผู้ถือหุ้นใหญ่ของแบงก์กรุงศรีอยุธยา โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะเข้ามาดูแล เพื่อกำหนดทิศทาง ศรีอยุธยาประกันภัยให้ชัดเจนมากกว่าในอดีต
ดังนั้น เมื่อใดก็ตาม ที่บังเอิญเพ่งมองดู ศรีอยุธยาประกันภัย ในระยะหลัง จึงไม่ควรมองข้าม กลุ่มอลิอันซ์ พันธมิตรหลักที่เหนียวแน่นมาตลอด
ขณะเดียวกันก็ไม่ควรละสายตาไปจาก "จีอี" เจ้าของตัวจริงของแบงก์กรุงศรีอยุธยา ธนาคารเก่าแก่ที่ กำลังเปลี่ยนฌฉมหน้าหน้าแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ในรอบ 60 กว่าปี....
|
|
|
|
|