Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 มิถุนายน 2551
แบงก์ไทยผสมโรงเก็งบาท ธปท.ฮึ่ม!แทรกแซงแตะ 33             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
สุชาดา กิระกุล
Currency Exchange Rates




ธปท.แถลงพบ "แบงก์พาณิชย์ไทย-ต่างประเทศ" รวม 4 ราย เก็งกำไรบาทอ่อนค่า ใช้ช่องโหว่ที่ธปท.อนุญาตให้นำเงินบาทแลกเงินดอลลาร์สหรัฐออกไปสร้างประโยชน์หลังบาทเริ่มแข็งค่า พร้อมยอมรับเข้าไปแทรกแซงต่อเนื่อง ชี้ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนดูแลเงินเฟ้อสูง เผยวานนี้ ธปท.ปรามและแทรกแซงอยู่หมัดจนบาทกลับมาแข็งค่าที่ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ แฉแบงก์พาณิชย์ตัวดีเป็น "ขาประจำ" คอยฟันกำไรส่วนต่าง

นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ค่าเงินบาทอ่อนผิดปกติ ทำให้ ธปท.ได้ตั้งข้อสังเกตว่ามีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยพฤติกรรมกู้เงินบาทออกมาเพื่อซื้อเงินดอลลาร์รอทำกำไรจากเงินบาทที่คาดว่าจะอ่อนค่าลงนั้น ขณะนี้ธปท.ได้ตรวจสอบพบธนาคารต่างประเทศและธนาคารไทยในต่างประเทศจำนวน 3-4 รายมีพฤติกรรมเข้าไปเก็งกำไรค่าเงิน ซึ่ง ธปท.ได้มีการออกหนังสือเตือนแบบเฉพาะเจาะจงแล้ว เพื่อให้ติดตามดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งการเปิดช่องทางให้นำเงินบาทออกไป เพื่ออำนวยความสะดวก ไม่ใช่เปิดช่องให้เก็งกำไรค่าเงินบาท

“สถานการณ์ในขณะนี้เห็นได้ชัดว่านักลงทุนต่างชาติเหล่านี้มีเจตนาในการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยในช่วงที่เงินบาทอ่อนค่าจะมีการกู้เงินบาท เพื่อซื้อเงินดอลลาร์มากกว่าธุรกรรมเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ หรือบางรายมีการกู้เงินบาท เพื่อซื้อเงินดอลลาร์ ทั้งๆ ที่ไม่มีธุรกรรมรองรับ ธปท.จึงได้เตือนไป เพื่อทำความเข้าใจ และให้ทราบว่าธปท.ได้มีการติดตามพฤติกรรมนี้อย่างใกล้ชิด”

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเมื่อวานนี้ (10 มิ.ย.) นางสุชาดากล่าวว่า เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นจากวันก่อนที่อ่อนค่า โดยยอมรับว่าธปท.ได้เข้าไปดูแลค่าเงินบ้าง แต่น้อยกว่าเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ขณะนี้ตลาดเริ่มมีความสมดุลมากขึ้น โดยผู้ส่งออกเริ่มมีการขายเงินดอลลาร์บ้างจากวันก่อนที่ไม่มีเลย และผู้นำเข้าเองก็เริ่มมีการซื้อเงินดอลลาร์ จึงมีทั้งสองด้านกลับเข้ามา แต่อาจเห็นปริมาณการทำธุรกรรมไม่สูงกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ยังไม่ได้มีการนำเงินกลับออกไป

อย่างไรก็ตาม เงินบาทที่อ่อนค่าลงจะช่วยให้ภาคการส่งออกมีรายได้จากสกุลเงินตราต่างประเทศมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากเงินบาทแข็งจะช่วยให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าจากต่างประเทศไม่แพงนัก ดังนั้นเมื่อค่าเงินบาทไปในทิศทางที่แข็งค่าก็ช่วยลดแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้มาก ทำให้ในขณะนี้ธปท.ไม่ได้กังวลว่าเงินบาทในเคลื่อนไหวในทิศทางใด แต่ไม่ต้องการให้เกิดความผันผวนหรือเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากกว่า ขณะเดียวกันการดำเนินนโยบายการเงินของธปท.ยังคงเน้นอยู่ภายใต้กรอบเงินเฟ้อ โดยผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายเช่นกันในการดูแลภาวะเศรษฐกิจ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารพาณิชย์ที่ถูก ธปท.ตักเตือนครั้งนี้เป็น 2 ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและใหญ่ ซึ่งเคยถูก ธปท.ตักเตือนเมื่อปีที่ผ่านมา ผู้บริหารฝ่ายค้าเงินรายหนึ่งเปิดเผยว่า ช่วงที่เงินบาทมีอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องรอบล่าสุด การทำกำไรค่าเงินมีเกือบทุกธนาคาร ส่วนธนาคารไหนเข้าข่ายเก็งกำไรคือมีกำไรมากเกินไป ขึ้นอยู่กับ ธปท.จะพิจารณาจากสัดส่วนซึ่งคิดจากปริมาณการซื้อขายและทำประกันความเสี่ยงของลูกค้า หาก ธปท.เห็นว่ามากเกินไปแล้ว ก็จะส่งหนังสือเตือน

ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทในรอบนี้ เชื่อว่า ธปท.สามารถรับมือได้ เนื่องจากมีประสบการณ์และปริมาณการซื้อขายครั้งยังไม่สูงมากนัก

นักค้าเงินเปิดเผยการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.ว่า เงินบาทอ่อนค่าจาก 32.57 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อวันจันทร์ที่ 2 มิ.ย. มาอยู่ที่ 33.21 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ก่อนจะกลับมาแข็งค่าเมื่อวานนี้ (10 มิ.ย.) ที่ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ ท่ามกลางการแทรกแซงอย่างหนักจาก ธปท.

เขาว่า วานนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงเปิดตลาด หลังจากนั้นเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ตลอดการซื้อขาย โดยเงินบาทเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 33.18-33.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวไปแตะระดับแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.98 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 33.00-33.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการแข็งค่าของเงินบาทเป็นการแข็งค่าขึ้นสวนทางค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค

"การเคลื่อนไหวของเงินบาทมีความผันผวนน้อยลง ธปท.ประกาศชัดเจนว่าเข้าดูแลค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน และจะยังคงดูแลต่อไปหากพบมีการเก็งกำไรค่าเงิน"

ทั้งนี้ ลักษณะการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเริ่มแข็งค่าสวนทางกับภูมิภาค ซึ่งมาจากการเข้ามาดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้น่าจะอยู่ในกรอบ 32.95-33.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

"การเข้ามาดูแลของแบงก์ชาตินั้น ไม่ได้เพิ่งเข้ามาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน แต่เข้ามาดูเป็นระยะๆอยู่แล้ว แต่ไม่มากเท่าตอนที่บอกออกมา ซึ่งหลังจากที่บอกแล้วธุรกรรมที่ส่อเข้ามาเก็งกำไรก็น่าจะน้อยลง นักลงทุนจะชะลอเพื่อดูท่าทีของแบงก์ชาติมากกว่า"นักค้าเงิน กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us