Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์9 มิถุนายน 2551
ผ่าเกมเดือดชิง "ไทยโมบาย" ทีโอที-กสท ใครพลาดอนาคตวูบ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กสท โทรคมนาคม
โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

กสท โทรคมนาคม, บมจ.
Telecommunications
ทีโอที, บมจ.




"ไทยโมบาย" อนาคตยังไม่แน่นอนว่าจะตกอยู่ในอุ้มมือใครระหว่างทีโอทีและกสท ที่ล่าสุดเปิดเกมชิงไหวชิงพริบเพื่อชิงดำว่าใครจะได้เป็นเจ้าของตัวจริง หลังยื้อเยื้อมานาน ชิ้นเนื้อก้อนโตนี้ใครพลาดท่าอนาคตรายได้มีสิทธิ์วูบหนัก เนื่องจากขุมทรัพย์ 3G มหาศาลต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้อีกมากมาย

อนาคตธุรกิจ "ไทยโมบาย" ที่ดูแล้วว่าจะจบได้ หลังจากที่ยื้อเยื้อกันมาอย่างยาวนานถึง 6 ปี โดยบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) จะซื้อกิจการร่วมค้าไทยโมบายที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ถือครองหุ้นจำนวน 42% เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 2,400 ล้านบาท โดยผ่อนชำระภายในระยะเวลา 12 ปี ไม่มีดอกเบี้ย และให้ทีโอทีเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนหนี้สิ้นจำนวน 6,000 กว่าล้านบาท

ความพลิกผันจากสิ่งที่น่าจะบรรลุได้ไปแล้ว กสท กลับลำขอซื้อหุ้นในกิจการร่วมค้าไทยโมบาย ที่ทีโอทีถือครองหุ้นอยู่ 58% เพื่อให้ กสท เป็นผู้มีสิทธิ์ขาดการบริหารงานในไทยโมบาย 100% ด้วยมูลค่า 3,300 ล้านบาท ผ่อนชำระเป็นเวลา 5 ปี ประมาณปีละ 660 ล้านบาท และ กสท จะเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สินทั้งหมด 6,000 ล้านบาท ส่วนค่าโอนและภาษีให้ทีโอทีเป็นผู้รับผิดชอบ

เกิดอะไรขึ้นกับดิวที่น่าจะปิดฉากได้แล้ว หรือนี่คือเกมชิงไหวชิงพริบระหว่างทีโอทีและกสท ที่พร้อมจะเข้ามาเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวในกิจการไทยโมบาย ซึ่งเป็นกิจการที่ใครๆ ต่างรู้ดีว่านี่คืออนาคตขุมทรัพย์รายได้มหาศาลที่จะเข้ามาสู่ทั้งทีโอทีและกสท เมื่อยุค 3G แจ้งเกิดในประเทศไทย

เหตุผลหลักที่ กสท พลิกเกมนี้ ยกเรื่องของข้อเสนอของทีโอที ที่ขอซื้อหุ้นไทยโมบายในสัดส่วน 42% โดยบอร์ดทีโอทียื่นเงื่อนไขขอซื้อหุ้นกสท คืนมูลค่า 2,400 ล้านบาท ผ่อนชำระ 12 ปี ปีละ 200 ล้านบาท แต่หากคิดเป็นจำนวนเงินที่แท้จริง มีมูลค่าพียง 1,600 ล้านบาท เรื่องนี้ กสท ไม่สามารถยอมรับได้

งานนี้ กสท เกทับทีโอที จากคำพูดของ สถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานคณะกรรมการ กสท ที่ว่า "การที่ กสท กลายเป็นผู้เสนอซื้อหุ้นไทยโมบาย จะส่งผลดีต่อทีโอทีเองเพราะเงินที่ได้จากการขายหุ้นจะช่วยให้ทีโอทีมีสถานะการเงินและสภาพคล่องที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน"

กสท ได้โชว์ให้เห็นว่าสถานการณ์เงินที่เข้มแข็งและเครือข่ายซีดีเอ็มเอของกสท ที่มีอยู่สามารถนำมาต่อยอดให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่า เนื่องจากสามารถนำอุปกรณ์มาติดตั้งไว้บนสถานีฐานซีดีเอ็มเอที่มีอยู่ใน 51 จังหวัด

ความครบเครื่องด้านการให้บริการ 3G เป็นสิ่งที่ กสท ได้มีการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นให้เห็นว่า กสท คือผู้ให้บริการที่มีความพร้อม แต่ในลึกๆ แล้ว การได้มาของสิทธิ์การเป็นเข้าของไทยโมบายแต่เพียงผู้เดียว จะทำให้ กสท กลายเป็นผู้ประกอบการที่มีเทคโนโลยี 3G ให้ผู้บริโภคเลือกได้ถึง 3 รูปแบบ ได้แก่ จากระบบซีดีเอ็มเอบนคลื่นความถี่ 850 MHZ การใช้บริการ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ในส่วน 850 MHZ ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค และ 3G ของไทยโมบาย

"เราเชื่อว่า กสท สามารถให้บริการ 3G ได้รวดเร็วตามนโยบายของ รมว.คลังและรมว.ไอซีที ต้องการให้บริการมือถือ 3G ในประเทศไทยเกิดขึ้นได้เร็วที่สุด อีกทั้งเป็นการใช้โครงข่ายที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพราะ กสท ไม่จำเป็นต้องสร้างสถานีฐานเพื่อให้บริการใหม่ทั้งหมด เพราะสามารถใช้สถานีฐานร่วมกับซีดีเอ็มเอได้" สถิตย์กล่าวย้ำถึงความได้เปรียบของ กสท ที่เหนือกว่าทีโอที

นอกจากการรุกเพื่อให้ได้สิทธิ์การเป็นเจ้าของไทยโมบายของกสท แล้ว อีกทางหนึ่งกับการปรับเปลี่ยนและวางยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจของกสท นั้น ขณะนี้ กสท กำลังเตรียมปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนโลโก้ "CAT Telecom" มาเป็น "CAT" ด้วยงบเบื้องต้นในการเปลี่ยนโลโก้ 3.3 ล้านบาท ทั้งนี้ กสท เตรียมเปิดตัวโลกโก้ใหม่อย่างเป็นทางการในวันที่ 14 สิงหาคม 2551

ในด้านการทำตลาดของกสท ขณะนี้ กสท มีลูกค้าซีดีเอ็มเอ 40,000 ราย ส่วนลูกค้าฮัทช์มี 1 ล้านราย ในการทำตลาดต่อไปทางกสท เตรียมเปิด CDMA Shop อีก 7-8 แห่งภายในเดือนกรกฎาคม 2551 และจะปรับกลยุทธ์บริการลูกค้าและปรับโฉมใหม่ของชอปที่มีอยู่ 23 แห่งทั้งหมดภายในสิ้นปีนี้

อย่างไรก็ตามความพยายามของ กสท ที่จะพลิกเกมมาเป็นผู้ซื้อหุ้นทั้งหมดนั้นคงจะไม่ง่ายดายนัก เนื่องจากทีโอทีคงจะไม่ยอมอย่างแน่นอน เนื่องจากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า 3G คือขุมทรัพย์ที่จะเป็นอนาคตของทีโอที หากปล่อยให้คลื่นความถี่นี้ไปอยู่ในมือของ กสท เพียงรายเดียว อนาคตของทีโอทีก็ไม่รู้ว่าจะเป็นเช่นไร

บอร์ดของทีโอที เตรียมประชุมเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ เนื่องจากการเจรจาระหว่างทีโอทีและกสท ก่อนหน้านี้มีการตกลงว่ากสท จะขายหุ้นให้กับทีโอที ซึ่งเรื่องดังกล่าวประธานบอร์ด กสท ได้ปรึกษากับ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.คลัง ซึ่งรมว.คลังเห็นชอบกับวิธีดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานบอร์ดทีโอที ได้มีการแจ้งให้บอร์ดได้รับทราบเรื่องการสรุปราคาซื้อขายหุ้นไทยโมบาย พร้อมทั้งได้มอบหมายให้ฝ่ายบริหารได้ศึกษารายระเอียดเกี่ยวกับแผนดำเนินงาน 3G โดยให้กรอบไว้ 3 แนวทาง คือ 1.ทีโอทีจะเป็นผู้ดูแลและบริหารเอง 2.หาพันธมิตรเพื่อร่วมดำเนินการในบางส่วนที่คิดว่าทีโอทีไม่เชี่ยวชาญ และ 3.สัมปทานให้กับเอกชน

ทีโอทียังเตรียมปรับแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 5 ปี เพื่อปรับแผนฉบับเดิมให้สมบูรณ์มากขึ้นจากแผนฉบับเดิมยังเน้นด้านปฏิบัติการและลงทุนอย่างเดียว ทั้งนี้การปรับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อให้รับกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบัน เพราะแนวโน้มรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ อีกทั้งรายได้ของทีโอทีไม่ควรพึ่งพารายได้ที่มาจากสัมปทานอย่างเดียว ควรปรับเรื่องศูนย์การให้บริการลูกค้าให้สามารถดูแลผู้ใช้บริการได้ตลอด 7 วัน 24 ชั่วโมง

การที่ทีโอทีต้องการไทยโมบายนั้น เหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่หลายมองว่าเป็นการเอื้อประโยชน์การให้บริการ 3G ให้กับเอไอเอส ก่อนหน้านี้ วิเชียร เมฆตระการ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส ได้กล่าวไว้ว่าการให้บริการระบบ 3G เอไอเอสพร้อมที่จะพัฒนาหรือให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 1900 เมกะเฮิรตซ์ของไทยโมบาย เนื่องจากเอไอเอสเป็นคู่สัญญาของทีโอที และการเป็นพันธมิตรเพื่อให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานและมือถือร่วมกัน หรือฟิกซ์-โมบายคอนเวอร์เจนซ์

ความตกลงร่วมกันระหว่างเอไอเอกับทีโอที มีการเจรจากันตั้งแต่การเซ็นเอ็มโอยูแล้ว โดยเอไอเอสมีสิทธิ์ในการร่วมให้บริการหากทีโอทีมีแผนธุรกิจใหม่ๆ บนคลื่น 1900 สำหรับรูปแบบความร่วมมือนั้น เป็นสิ่งที่ต้องติดตามดูกันว่าจะเป็นอย่างไร ซี่งหากเป็นลักษณะที่ทีโอทีเป็นผู้ลงทุนพัฒนาโครงข่าย เอไอเอสเช่าเพื่อทำการตลาด ก็ต้องเป็นไปภายใต้เงื่อนไขที่ว่าทีโอทีต้องสามารถขยายโครงข่ายหรือดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ตามความต้องการการใช้งานของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นได้ทันที ไม่ล่าช้าแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่หากเป็นให้เอไอเอสเป็นผู้ลงทุนพัฒนาโครงข่ายก็ต้องศึกษาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

ก่อนหน้านี้ มั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้กล่าวไว้ว่าทิศทางการพัฒนาโทรคมนาคมไทย กระทรวงไอซีทีจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย โดยทีโอทีและ กสท ในฐานหน่วยงานใต้สังกัด ต้องปฏิบัติตามนโยบายที่กระทรวงมอบหมาย

ข้อสรุปเกี่ยวกับการซื้อหุ้นกิจการร่วมค้าไทยโมบายระหว่างทีโอทีและกสท ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ทางกระทรวงไอซีทีโดยรมว.ไอซีทีจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะเลือกแนวทางใด จากเบื้องต้นที่มีทางเลือก 3 แนวทาง คือ 1.ทีโอทีซื้อกิจการร่วมค้าไทยโมบาย จากกสท มูลค่า 2,400 ล้านบาท 2.ให้กสท เป็นฝ่ายซื้อกิจการร่วมค้าไทยโมบายจากทีโอที และ 3. ให้กสท และทีโอที ดำเนินธุรกิจร่วมกันเหมือนเดิม

ส่วนการดำเนินธุรกิจของทั้ง 2 แห่ง รมว.ไอซีที ได้มีการวางเป้าหมายสำหรับทีโอทีและกสท โดยเป้าหมายแรกทั้ง 2 หน่วยงานต้งอเร่งปรับตัว ให้สามารถเลี้ยงตัวเองและอยู่รอดได้ ต้องไม่พึ่งพาส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานเพื่อรับมือกับการเปิดเสรี มุ่งที่การเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายเป็นหลัก ซึ่งเป็นการพัฒนาและยกระดับการให้บริการโทรคมนาคมในภาพรวม ขณะที่การให้บริการโทรคมนาคม ทีโอที และกสท จะหาพันธมิตรธุรกิจกับบริษัทเอกชนเป็นผู้ให้บริการ

"ทีโอทีและกสท ต้องทั้งร่วมมือกันในการเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย และต้องแข่งขันกันในบางเรื่องเพื่อยกระดับการให้บริการ รวมถึงการหาพันธมิตร ซึ่งตามนโยบายนี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องเอาทั้งทีโอทีและกสท เข้าตลาดหลักทรัพย์อีกต่อไป" รมว.ไอซีทีกล่าว

สำหรับความคืบหน้าของการอนุมัติใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) นั้นทางกทช. ได้วางหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาต 3 จีไว้ 4 แนวทาง ได้แก่ 1.ผู้ยื่นขอก่อนจะได้ก่อน (First come First serve) 2.พิจารณาตามคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูล (Beauty contest) 3.เปิดให้ทุกรายประมูลคลื่นอย่างเท่าเทียมกัน (Auction) และใช้วิธีผสมระหว่างบิวตี้ คอนเทสต์และออกชั่น (Hybrid)

เรื่องดังกล่าว ผู้บริหารของเอไอเอสมองว่าการให้ไลเซ่นส์ 3Gบนคลื่นความถี่ใหม่ 2.1 เมกะเฮิรตซ์ กทช.ควรใช้วิธีผสมระหว่างบิวตี้ คอนเทสต์ และออกชั่น น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะหากใช้วิธีอื่น เช่นการเปิดประมูลคลื่นความถี่ในราคาแพงจะส่งผลให้ผู้ให้บริการต้องไปเรียกเก็บค่าบริการจากประชาชนในราคาแพลงตามไปด้วย ซึ่งไม่เป็นผลดี รวมทั้งไม่ควรให้ใบอนุญาตเกิน 3 ราย เพราะปัจจุบันมีผู้ให้บริการเพียง 3 รายที่สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ได้

เมื่อสถานการณ์การให้ใบอนุญาต 3G ใหม่ยังหาความแน่นอนไม่ได้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด ทิศทางใด ความพยายามในการครอบครองสิทธิ์จากธุรกิจที่มีไลเซนต์ 3G อยู่แล้วอย่างไทยโมบาย จึงเป็นเสมือนขุมทรัพย์สำคัญที่ใครๆ ก็ต้องการ และไม่เพียงแต่ ทีโอทีและกสท ที่ต้องการคว้าสิทธิ์นี้เท่านั้น ในฟากฝั่งเอกชนอย่างเอไอเอสก็ต้องการมีเอี่ยวในไทยโมบายเช่นกัน เพราะอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อยุค 3G มาถึงรายได้จากการให้บริการจะไหลมาเทมาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us