|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คณะทำงานกองทุนฟื้นฟูฯ เลือกขายหุ้น 42.13% ในไทยธนาคารให้ทิสโก้จากทั้งหมดผู้ยื่นซื้อ 5 ราย เผยมีเพียงทิสโก้สัญชาติไทย อีก 4 รายรวมนิวบริดจ์เป็นต่างชาติ ยอมรับเลือกทิสโก้เพื่อตัดปัญหากลายเป็นต่างชาติต้องขออนุญาตคลัง ที่สำคัญเท่ากับยอมรับว่าแบงก์เจ๊ง ชงที่ประชุมบอร์ดกองทุนฟื้นฟูฯ อนุมัติสัปดาห์นี้ ลงนามภายในกลางเดือน ลุ้นราคา 1.20-1.30 บาทต่อหุ้น ต้องเร่งปิดดีลเพราะถูกการเมืองเพ่งเล็ง
แหล่งข่าวธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะทำงานกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ข้อสรุปในการขายหุ้นธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) (BT) จำนวน 42.13% ให้กับธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (TISCO) โดยจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่ออนุมัติภายในสัปดาห์นี้ หากคณะกรรมการฯ ไม่ขัดข้องคาดว่าจะลงนามการขายหุ้นในสัปดาห์ถัดไปหรือกลางเดือน มิ.ย.นี้ สำหรับราคาหุ้นคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 1.20-1.30 บาทต่อหุ้น
"จริงๆ เรายังมีเวลาถึงสิ้นเดือน แต่หลังจากแบงก์ชาติถูกฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มที่ปรึกษา รมว.คลังและนายกรัฐมนตรีให้ข่าวโจมตีกองทุนฟื้นฟูฯ และไทยธนาคารมาแล้ว 2 ครั้ง เราจึงต้องเร่งปิดดีลให้เร็วที่สุด แต่ต้องรอบคอบและไม่ให้กองทุนฟื้นฟูฯ หรือแบงก์ต้องเสียหาย"
แหล่งข่าวกล่าวถึงการข้อกล่าวหาว่าไม่มีการลดทุนก่อนนั้น ข้อเท็จจริงแล้ว ครั้งแรกไทยธนาคารมีการลดทุน เพื่อล้างขาดทุนสะสมช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 50 แล้วจากราคา 10 บาทต่อหุ้นเหลือ 3.75 บาทต่อหุ้น แต่ในช่วงปลายปี 50 ที่ผ่านมา เลือกใช้วิธีเพิ่มทุนแทนการลดทุน เพราะการลดทุนจะมีผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามา ถือเป็นการเข้ามาแชร์สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นอาจยิ่งเป็นการซ้ำเติมปัญหาได้ จึงเลือกให้ผู้ถือหุ้นรายเก่าใส่เงินเพิ่มทุนเข้ามาช่วยเหลือแทนซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก่อนจากปัญหาเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส เรโช) ต่ำแล้วค่อยหาพันธมิตรที่มีศักยภาพเข้ามาช่วยเสริมธุรกิจต่อไป
แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ไทยธนาคารมีข่าวเชิงลบในช่วงที่ผ่านมา อาจเกิดจากกลุ่มบุคคลบางพวกพยายามสร้างสถานการณ์ข่าวแง่ลบ เพื่อหวังให้ราคาขายลดลง แต่กองทุนฟื้นฟูฯ ยืนยันว่าไทยธนาคารยังมีศักยภาพที่ดี กลุ่มทีพีจี นิวบริดจ์ ในฐานะผู้ถือหุ้นเก่ารายใหญ่ 42% ก็สนใจ นอกจากนี้ยังมีต่างชาติอีก 3 แห่ง สนใจยื่นตรวจสอบฐานะ (ดิว ดิลิเจนท์) ส่วนสัญชาติไทยได้แก่ ธนาคารทิสโก้
การเลือกธนาคารทิสโก้ นอกจากเหตุผลทางด้านราคาหุ้นแล้ว คณะทำงานฯ เห็นว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ ธนาคารฯ ก็ยังเป็นของคนไทย หากเลือกขายให้รายอื่น ไทยธนาคารจะเป็นของต่างชาติ ต้องขอนุญาตกระทรวงการคลัง เข้าข่ายธนาคารมีปัญหาผลการดำเนินงาน และฝ่ายการเมืองอาจโจมตีว่าธนาคารเจ๊ง นำไปสู่ข้ออ้างการตรวจสอบการทำงานของนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าฯ ธปท.
ก่อนหน้านี้ นายปลิว มังกรกนก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทิสโก้ ยอมรับว่าแสดงความสนใจเข้าไปซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ ทั้ง 42.13% โดยเสนอซื้อไปยังกองทุนฟื้นฟูฯ แล้ว ทั้งนี้ หากธนาคารทิสโก้ซื้อหุ้นจากกองทุนฟื้นฟูฯ ได้แล้ว ตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธนาคารฯ จะต้องเข้าไปทำการเสนอซื้อหุ้น (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) จากทีพีจีนิวบริดจ์และผู้ถือหุ้นรายย่อย
ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. ให้เหตุผลที่การเพิ่มทุนครั้งล่าสุด ไม่เลือกใช้วิธีลดทุนก่อนว่า เนื่องจากในช่วงนั้นไทยธนาคารมีเงินกองทุนต่ำกว่ามาตรฐานที่ ธปท.กำหนด คือ 8.5% หากลดทุนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่ เพราะต้องเอาเงินใหม่มาเติม ถือว่าไม่ยุติธรรมสำหรับผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่ต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
ส่วนฐานะไทยธนาคารปัจจุบัน แม้จะเข้าไปลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง (ซีดีโอ) แต่ได้มีการกันสำรองมาโดยตลอดตามคำสั่งของ ธปท.จึงเป็นเรื่องยากที่จะเลือกใช้วิธีการลดทุน เพื่อบรรเทาความเสียหาย เพราะต้องมีการตัดรายการในงบการเงินออก ซึ่งหากทำเช่นนี้จะยิ่งทำให้งบการเงินไม่สมดุล
ส่วนกรณีที่มีการระบุว่าในช่วงปลายปีที่มีการตกลงซื้อขายหุ้นตามราคาตลาดสูงถึง 1.36-1.38 บาทต่อหุ้น แต่แท้จริงราคาหุ้นตามบัญชีกลับต่ำกว่ามากถึง 0.30 บาทต่อหุ้นนั้น การคำนวณราคาตลาดมาเทียบกับราคาตามบัญชีไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะราคาตามบัญชีเป็นเพียงการอ้างอิงพื้นฐานของหุ้น แต่การตกลงซื้อขายกันของนักลงทุนจะตกลงกันในราคาตลาดมากกว่า
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของสายกำกับสถาบันการเงิน พบว่า ราคาหุ้นในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.50 ถือเป็นช่วงแรกที่กองทุนฟื้นฟูฯ จะตัดสินใจเพิ่มทุน ซึ่งช่วงนั้นราคาหุ้นในตลาดอยู่ที่ระดับ 1.73-1.75 บาทต่อหุ้น แต่ในช่วงกลางปีมีปัญหาเรื่องสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ของสหรัฐ ทำให้มูลค่าหุ้นลดลงส่งผลให้ต้องมีการตกลงราคากันใหม่และจบการเจรจาด้วยราคา 1.36 บาทต่อหุ้นช่วงเดือน ธ.ค.50 ถือว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงที่ผู้ถือหุ้นรายเก่านำเงินใส่เข้าไปมูลค่าหุ้นราคาตลาดตกลงแค่ 0.09 บาทต่อหุ้นเท่านั้น จากระดับ 1.27 บาทต่อหุ้นในช่วงเดือน ม.ค.51
ขณะที่ราคาตามบัญชีของหุ้นไทยธนาคารปลายเดือน ธ.ค.อยู่ที่ระดับ 0.64 บาท แต่หลังจากเพิ่มทุนแล้วในช่วงเดือน ม.ค.ราคากลับเพิ่มเป็น 1.05 บาท
|
|
|
|
|