Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มิถุนายน 2551
ดัชนีหุ้นไทยดีดกลับต่างชาติซื้อจับตาค่าเงินสหรัฐน้ำมัน             
 


   
search resources

Stock Exchange




ตลาดหุ้นไทยดีดกลับ หลังต่างชาติกลับเข้ามาซื้อสุทธิ ดันดัชนีบวกไปเกือบ 8 จุด และมูลค่าซื้อขาย 3 วันทำการล่าสุดสูงถึง 56,368.70 ล้านบาท โบรกฯ เชื่อค่าเงินสหรัฐฯ เป็นตัวแปรสำคัญกับตลาดหุ้นนับจากนี้ เหตุกระทบความผันผวนของ Fund Flow รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ พร้อมจับตาตลาดหุ้นต่างประเทศและราคาน้ำมัน คาดเปิดตลาดสัปดาห์นี้ดัชนีอาจปรับตัวลงตามดาวโจนส์ที่ร่วงแรงเกือบ 400 จุด โดยประเมินกรอบที่ 800-840 จุด พร้อมแนะจับตาการเมือง ราคาน้ำมันดิบ เหตุคาดเดายาก ขณะที่ตลาด AFET วันศุกร์ที่ผ่านมาทำนิวไฮท์ 1,649 สัญญา

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (6 มิ.ย.) ปิดที่ 817.33 จุด บวกเพิ่มขึ้น 7.51 จุด คิดเป็น 0.93% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 19,533.79 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศ โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1,067.12 ล้านบาท และนักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 310.12 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนรายย่อยในประเทศขายสุทธิ 1,377.24 ล้านบาท ขณะที่เมื่อ 5 มิ.ย. ดัชนีปิดที่ 809.82 จุด เพิ่มขึ้น 0.90 จุด หรือเพิ่มขึ้น 0.11% มูลค่าซื้อขาย 16,372.47 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,347.19 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1,457.76 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,889.44 ล้านบาท ส่วนเมื่อ 4 มิ.ย. ดัชนีปิดที่ 808.92 จุด เพิ่มขึ้น 0.26 % ด้วยมูลค่าซื้อขายรวม 20,462.44 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าซื้อขายรวม 3 วันเท่ากับ 56,368.70 ล้านบาท

แสดงให้เห็นว่านักลงทุนเริ่มคลายความกังวล โดยเฉพาะแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่กลางสัปดาห์ก่อนแล้ว ขณะที่ต่างชาติแม้จะเทขายมาก่อนหน้า แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก็แรงซื้อเข้ามา ดันให้ดัชนีหุ้นปิดบวกไปเกือบ 8 จุด

จับตาค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ -ตลาดหุ้นนอก

ทีมวิเคราะห์ทางเทคนิคและกลยุทธ์การลงทุน บล.ไอร่า เปิดเผยว่า ความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นตัวแปรสำคัญหลังจากนี้ จากการที่เฟดลดดอกเบี้ยนโยบายมาตลอดตั้งแต่ปี 49 ที่ 5.25% จนกระทั่งปัจจุบันอยู่ที่ 2% ซึ่งทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่อง และต้องยอมรับว่าสาเหตุนี้เป็นส่วนหนึ่งที่มีน้ำหนักมากในการผลักดันให้ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ทะยานขึ้นจากปี 49 ที่บริเวณ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ไปทำจุดสูงสุดเมื่อเร็วๆ นี้ที่เกือบ 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

โดยก่อนหน้านี้ประธานเฟดได้ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย เพื่อรักษาค่าเงินดอลลาร์สหรัฐไม่ให้อ่อนค่าเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ สิ่งนี้ทำให้ทางประธานธนาคารกลางยุโรป(ECB ) ส่งสัญาณว่าแนวโน้มการตรึงดอกเบี้ยก่อนหน้านี้ไม่แน่นอน บางธนาคารอาจสนันสนุนการขึ้นดอกเบี้ยเช่นกัน ความผันผวนของค่าเงินส่งผลให้เกิดความผันผวนของ Fund Flow ไหลเข้าออกแหล่งต่างๆ เพื่อปกป้องค่าเงินสหรัฐฯที่อ่อนค่า รวมถึงตลาดโภคภัณฑ์ต่าง ๆ

ขณะที่นับจาก พ.ค.47 ที่ต่างชาติเริ่มซื้อสะสมสุทธิเพิ่มขึ้นมาตลอดและทำ ALL TIME HIGH มาตลอดสอดคล้องกับค่าเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลงมาตลอด การทำ ALL TIME HIGH เริ่มเปลี่ยนเป็นเคลื่อนตัวออกด้านข้างนับแต่กลางปี50 เป็นต้นมา หากแนวโน้มค่าเงินบาทเริ่มเปลี่ยนทิศทางเป็นอ่อนค่าลง ก็จะส่งผลต่อทิศทางตลาดหุ้นแน่นอน สำหรับภาวะตลาดหุ้นระยะยาวจะผันผวนตามทิศทางค่าเงินและโภคภัณฑ์ ระยะสั้น-ระยะกลาง มองการรีบาวน์รอบนี้ที่บริเวณ 828 จุดก่อน

อย่างไรก็ตาม ดัชนีอาจไม่ได้ปรับขึ้นแบบ V-SHAPE รีบาวน์ทีเดียวก็ได้ อาจลงมาทำรูปแบบ DOUBLE BOTTOM แล้ว รีบาวน์ต่อก็ได้ตามความผันผวนและจากท่าทีต่างชาติที่กลับมาซื้อสุทธิเพียงเล็กน้อย 310 ล้านบาท จากที่ขายมาก่อนหน้านี้อย่างหนัก และค่าเงินบาทก็อ่อนตัวเข้าใกล้แนวต้านที่บริเวณ 33.42 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มีโอกาสที่ต่างชาติจะหยุดขายระยะสั้นๆได้ แต่ยังไม่มีสัญญาณกลับตัวยืนยัน ทั้งนี้ต้องติดตามแนวโน้มค่าเงินสหรัฐฯอย่างใกล้ชิดต่อไป ซึ่งล่าสุดดอลลาร์สหรัฐกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง และผลักดันราคาน้ำมันดิบกลับไปที่ 138 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กดดันดัชนีดาวน์โจนส์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาลบไปเกือบ 400 จุด รวมทั้งอัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น และคาดว่าจะกดดันให้ตลาดหุ้นไทยเปิดสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลงได้

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.เอเชีย พลัส กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้คาดว่าจะเคลื่อนไหวผันผวน โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกับบรรยากาศการลงทุนยังคงเป็นปัจจัยเดิมเหมือนช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้แก่ ประการแรก ปัญหาการเมืองในประเทศ เมื่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ท่าทีของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนว่าจะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก ประการที่สอง ราคาน้ำมันดิบ ซึ่งส่งผลกระทบกับราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งมีน้ำหนักกับตลาดหุ้นไทยเป็นอย่างมาก ประการสุดท้าย ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ

แม้วันศุกร์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย แต่ยังไม่เห็นสัญญาณซื้อสุทธิที่ชัดเจน เนื่องจากบรรยากาศการลงทุนยังถูกกดดันจากปัจจัยลบที่ชัดเจน อาทิ อัตราเงินเฟ้อที่สูงถึง 7.6% แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น บวกกับปัญหาการเมืองในประเทศที่คาดว่าจะไม่คลี่คลายในเวลาอันรวดเร็ว สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ คาดว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวผันผวน โดยมีแนวรับที่ 800 จุด และแนวต้านที่ 840 จุด โดยประเมินว่าเมื่อดัชนียืนเหนือ 820 จุด มีโอกาสที่จะมีแรงขายออกมา ส่วนกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนระยะสั้นระวังแรงขายทำกำไรบริเวณ 820 จุด ขณะที่นักลงทุนระยะยาวแนะนำ"ทยอยซื้อ "แต่ต้องถือยาว ในกลุ่มพลังงาน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัวที่ราคาปรับลดลงมามาก และกลุ่มที่มีความปลอดภัยเมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นสูง

นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ เชื่อว่าดัชนีจะปรับขึ้นต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาดัชนีปรับลดลงมาแรงและเร็ว เพื่อรับข่าวลบต่าง ๆ ไปพอสมควรแล้ว เมื่อดัชนีลงมาใกล้ 800 จุด ซึ่งเป็นระดับที่น่าสนใจลงทุน ทำให้มีแรงซื้อกลับเข้ามาประกอบ ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิแล้ว ทำให้ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้น่าจะค่อย ๆ ขยับขึ้น

โดยปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ คือ การชุมนุมของพันธมิตรของประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ประกอบกับท่าทีของรัฐบาล ขณะที่น้ำหนักของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะลดลงแล้ว เมื่อนักลงทุนส่วนใหญ่น่าจะรับรู้แล้วว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น พร้อมกันนี้ยังต้องติดตามทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ที่ยังถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยประเมินแนวรับที่ 807-813 จุด และแนวต้านที่ 830 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุน หากเปิดตลาดมาดัชนีปรับเพิ่มขึ้นแรงๆ "ไม่แนะนำเข้าซื้อ" สำหรับกลุ่มที่น่าสนใจ ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์บางตัวที่ราคาหุ้นลดลงมามาก กลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ PTTEP และ BANPU

AFET ทำนิวไฮท์ 1,649 สัญญา

นายนิทัศน์ ภัทรโยธิน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET เปิดเผยว่าเมื่อวานที่ศุกร์ที่ผ่านมา (6 มิ.ย.) การซื้อขายสัญญาล่วงหน้าข้าวขาว 5% (BWR5) มีปริมาณซื้อขายสูงสุดนับแต่เปิดซื้อขาย โดยมีปริมาณซื้อขาย 1,263 สัญญา และสัญญายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) จำนวน 386 สัญญา ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายรวมทำ New High เท่ากับ 1,649 สัญญา โดยสัญญาข้าวที่มีการซื้อขายมากสุด คือ สัญญาข้าวส่งมอบเดือนกรกฏาคม 972 สัญญา ส่วนสัญญายางส่งมอบเดือนมกราคม จำนวน 293 สัญญา

สำหรับสาเหตุที่มีการซื้อขายข้าวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากจากการปรับตัวของสภาวะตลาดและการคาดการณ์เกี่ยวกับนโยบายข้าวของภาครัฐ ส่วนราคายางพาราเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและการอ่อนค่าของเงินเยน ทั้งนี้บรรยากาศการซื้อขายในช่วงเช้าคึกคัก สัญญาข้าวได้รับความสนใจอย่างมาก โดยมีแรงซื้อขาเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณการซื้อขายรวมเกือบแตะ 1,000 สัญญา อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความร้อนแรงของราคาข้าวตั้งแต่เมื่อวันพฤหัสบดีที่ราคาสูงขึ้นถึง 1.50 บาท/กก. อันเป็นการปรับตัวจนชนราคาเพดานของตลาด ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 10% ในช่วง 2 วันที่ผ่านมา

ส่วนสินค้ายางพาราก็ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงบ่าย ส่งผลให้มีปริมาณการซื้อขายรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งการปรับตัวของราคานี้เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 127 ดอลลาร์ ประกอบกับค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลงอีกครั้งในรอบ 3 เดือน กดดันให้ราคายางพาราในช่วงเดือนส่งมอบ ธ.ค. 51 และ ม.ค.52 มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นชนราคาเพดาน(Ceiling price) อย่างไรก็ตามในระยะนี้ราคาซื้อขายใน AFET ยังมีการแกว่งตัวตามภาวะตลาด จึงนับเป็นโอกาสของนักลงทุนและผู้ประกอบการในการสร้างผลตอบแทนและบริหารความเสี่ยงจากกลไกการซื้อขายล่วงหน้าใน AFET   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us