Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2532








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2532
ดร.สาธิต พิชญางกูร"เมืองไทย ต้องการเขา"             
 


   
search resources

สาธิต พิชญางกูร
Organic Farming




สาธิต พิชญางกูร เป็นคนหนุ่มอายุ 36 ปี มีความรู้และประสบการณ์ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิคุ้มกัน (Immunology) หนึ่งในสาขาของวิทยาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังตื่นตัวไปทั่วประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ

เขาเดินทางเข้าสู่เมืองไทยเมื่อ 5 เดือนมาแล้ว เพื่อศึกษาลู่ทางในอาชีพด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่เขามีอยู่เต็มตัวจากประสบการณ์ วิธีในห้องค้นคว้าวิจัยของวอล์คลีไบโอไซน์ เมืองดัลลัส สหรัฐฯ ที่เขาสังกัดทำงานอยู่

"ผมเดินทางมาบ้านครั้งนี้ ตั้งใจจะมาใช้ประสบการณ์และความรู้ด้านวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพแก่ประเทศชาติ เพราะเห็นแล้วว่า ยังมีหลายสิ่งเหลือเกินไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพอนามัยของคนไทยและผลผลิตทางเกษตร และอุตสาหกรรมที่หากว่ามีการใช้ผลการค้นคว้าวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพแล้ว จะเป็นประโยชน์มหาศาลแก่คนไทยและเศรษฐกิจของชาติ"

ในระหว่างที่ทำงานอยู่กับวอล์คล ไบโอไซน์ เขามีผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพภายใต้การสนับสนุนการเงินของบริษัทยักษ์ใหญ่น้ำมันฟิลลิป ปิโตรเลียม ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ แล้วคือ การค้นพบอินเตอร์เฟอร์ออน (INTERFERON) ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่สร้างโดยเม็ดเลือดขาวที่มีคุณสมบัติเป็นตัวสกัดกั้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ FDA สหรัฐฯ คือ สารโปรตีน T CELL GROWTH FACTOR, TUMOR MECROSIS FACTOR และ COLONY STIMULATING FACTOR

"ผลงานวิจัยสารโปรตีนเหล่านี้จัดอยู่ใน LYMPHOKINE ที่ผมค้นคว้าพัฒนามาจากงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกที่นอร์ทเท็กซัส ยูนิเวอร์ซิตี้ เป็นเวลาถึง 5 ปี" ดร.สาธิต กล่าว

ผลงานวิจัยของเขาเหล่านี้แม้จะเน้นหนักการใช้ในทางการแพทย์ แต่เขาก็ยืนยันว่า หลักการตรวจสอบวินิจฉัย (DIAGNOSTIC) สามารถนำไปปรับใช้ในงานวิจัยตรวจสอบเพื่อผลทางธุรกิจอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์ได้

"ในข้าวโพด มันจะมี GENE อยู่ตัวหนึ่งที่สามารถควบคุมให้ข้าวโพดทนทานต่อยาฆ่าวัชพืช ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพจะสามารถช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ด้านพันธุกรรม สามารถนำ GENE ในข้าวโพดที่ว่านี้ไปใช้กับพืชผลเกษตรอื่น ๆ ที่ประสบปัญหาไม่สามารถทนทานต่อยาฆ่าวัชพืชได้ ก็จะทำให้การสูญเสียของผลผลิตลดลงไป" ดร.สาธิต ยกตัวอย่างการปรับใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการเชิงธุรกิจของไทย

ตรงนี้มีคำถามอยู่เพียงว่า บริษัทเอกชนใหญ่ ๆ ของไทยพร้อมหรือยังที่จะลงทุนพัฒนาวิจัย ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพ ? - มองไปที่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรด้านพืชและสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะอยู่ในฐานะที่ลงทุนด้านนี้ได้มากที่สุด เพราะหนึ่ง - กลุ่มนี้มียอดขายหลายหมื่นล้านบาท การตัดค่าใช้จ่ายเพียง 10% ของรายได้ เพื่อลงทุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพก็ทำให้โครงการวิจัยฯ นี้เป็นไปได้แล้ว และสอง - กลุ่มนี้มีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรที่เป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ การลงทุนงานด้าน R&D เทคโนโลยีชีวภาพย่อมเป็นประโยชน์ต่อตัวเองมากที่สุด และส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตทางเกษตรและปศุสัตว์ของเกษตรกรด้วย

"ผู้จัดการ" ทราบว่า ขณะนี้ในเกาหลีใต้ รัฐบาลให้การสนับสนุนและส่งเสริมเอกชนอย่างเต็มที่ในโครงการ R&D ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีวิศวกรรมทั้งด้านการเงินและภาษีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้เอกชนและรัฐร่วมกันดึงมันสมองพวกนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมทั้งด้านการเงินและภาษีสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้เอกชนและรัฐร่วมกันดึงมันสมองพวกนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรเกาหลีใต้ที่ไปทำงานตามสถาบันวิจัยและบริษัทเอกชนในสหรัฐฯ กลับสู่ประเทศเพื่อเสริมสร้างระดับการพัฒนาเทคโนโลยีให้กับอุตสาหกรรมแขนงต่าง ๆ ของประเทศ

"ที่ผมทราบอย่างบริษัทซัมซุงได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทไทรอนทำการวิจัยและพัฒนาวิธีการตรวจสอบไวรัสดีซ่านชนิดไม่ใช่ A และ B โดยมีเงื่อนไขว่า ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพอันนี้จะต้องถ่ายทอดให้กับนักวิทยาศาสตร์เกาหลีด้วย และผมทราบว่า ผลการวิจัยวิธีการตรวจสอบไวรัสดีซ่านชนิดไม่ใช่ A และ B ของบริษัทไทรอนนี้เป็นผลสำเร็จแล้วรายแรกของโลก" ดร.สาธิต เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ผลสำเร็จจากการวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพไม่ใช่จะเป็นการค้นพบสารทางพันธุกรรมและภูมิต้านทาน จะถูกนำไปผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ของเจ้าของเงินทุนในเชิงอุตสาหกรรมได้อย่างปัจจุบัน ในสิงคโปร์นักวิทยาศาสตร์ชีวภาพของสิงคโปร์ สามารถค้นพบวิธีการตาวจสอบการตั้งครรภ์แบบใหม่ได้ หรือในไต้หวัน นักวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ไต้หวันสามารถค้นพบวิธีการตรวจสอบไวรัสลงตับที่ชาวไต้หวันเป็นกันมากได้

สิ่งเหล่านี้เป็นคุณประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของคนในประเทศ และสามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ อันเป็นการช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการสั่งซื้อสินค้าเหล่านี้ไปในตัวด้วย

คุณสมบัติและความรู้ประสบการณ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพ สาขาภูมิคุ้มกัน ของ ดร.สาธิต เป็นทรัพยากรที่ดีที่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์แก่คนไทยและธุรกิจไทยได้

เพียงแต่ว่าวันนี้จะมีใครในเมืองไทยต้องการเขาไว้

"ถ้าไม่มีใครต้องการผม ผมก็จะกลับสหรัฐฯ ตามเดิม" ดร.สาธิต กล่าวถึงโครงการอนาคตของเขา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us