|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ค่าบาทอ่อนต่อเนื่องแตะ 32.91 อ่อนสุดในรอบ 3 เดือน คาดวันนี้หลุด 33 นักค้าเงินชี้ปัจจัยหลักเป็นการรีบาวน์ของดอลลาร์และการเมืองที่ยังไม่นิ่ง รมว.คลังระบุเป็นไปตามภูมิภาค ไม่เข้าแทรกแซงทั้งเงินบาท-ทิศทางดอกเบี้ย ด้าน"ธาริษา" ยัน ธปท.มีวิธีการดูแลอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ยึดแนวทางกลไกตลาด ขณะที่ "กรุงไทย" รั้งท้ายแบงก์ใหญ่ประกาศขึ้นดอกกู้-ฝากมีผล 6 มิ.ย.นี้
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในขณะนี้ว่า เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งทางการไม่ควรจะเข้าไปแทรกแซง แต่ควรปล่อยให้เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ เพราะการปล่อยให้กลไกตลาดมีประสิทธิภาพจะเหมาะสมมากที่สุด
“ค่าเงินบาทขณะนี้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงอะไร ซึ่งการที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ก็จะมีความเหมาะสม การที่จะเข้าไปแทรกแซงให้อ่อน มันก็จะไม่เหมาะสม และอย่าให้ค่าเงินบาทผันผวนด้วยฝีมือของเราเอง มันทำให้กลไกตลาดไม่มีประสิทธิภาพ" นพ.สุรพงษ์กล่าว
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศ คงต้องให้อิสระกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)จะเป็นผู้พิจารณา โดยขณะนี้มีผู้ที่ให้ความเห็นต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายในสองทางทั้งควรจะปรับลดลงและปรับขึ้น แต่ในความเห็นส่วนตัวมองว่าจากปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากในขณะนี้ การใช้นโยบายการเงินเข้าไปแก้ปัญหาอาจได้ผลไม่มาก ควรใช้นโยบายการคลังเข้าไปดูแลระบบเศรษฐกิจ
ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ อยากเห็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก เพราะถ้าธนาคารปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ ก็จะทำให้ผู้กู้หันไประดมเงินทุนจากแหล่งเงินอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ที่สามารถออกหุ้นกู้แทนได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาระบบแบงก์อย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ในขณะนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนภายในประเทศ เพราะเชื่อว่าภาคเอกชนจะสามารถเปลี่ยนวิธีระดมทุนไปสู่วิธีการอื่น เช่น การออกหุ้นกู้ แทนการกู้เงินจากระบบสถาบันการเงินได้ อย่างไรก็ตาม ก็ต้องการให้ธนาคารปรับดอกเบี้ยเงินฝากด้วย
ธปท.ชี้บาทอ่อนตามทิศทางภูมิภาค
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การที่เงินบาทอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติที่เคยลงทุนซื้อหุ้นก่อนหน้านี้ได้มีการขายหุ้นออกไป ทำให้มีการนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์กลับออกไปนอกประเทศ ซึ่งแนวโน้มนี้ก็เป็นไปตามทิศทางเดียวกับภูมิภาค
สำหรับกรณีที่ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกมาระบุให้ธปท.ทำหน้าที่ดูแลค่าเงินบาท โดยไม่ควรเข้าไปแทรกแซงปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดนั้น ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของธปท.ก็ยึดแนวทางให้เป็นไปตามกลไกตลาดอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ธปท.มีวิธีการดูของเราอยู่แล้ว แต่จะให้บอกลงลึกถึงรายละเอียดคงไม่ได้ ส่วนการเคลื่อนไหวของเงินบาทเมื่อวานนี้ ธปท.ไม่ได้เข้าไปดูแลแต่อย่างใด
ค่าบาทอ่อนสุดรอบ 3 เดือน
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทวานนี้ ยังคงอ่อนค่าลงต่อจากช่วงเช้าเปิดตลาดที่ 32.80-32.87 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดในช่วงเย็นที่ระดับ 32.89-32.91 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่อ่อนค่าสุดของวันและถือเป็นการอ่อนค่าที่สุดในรอบ 3 เดือน ส่วนระดับแข็งค่าสุดของวันนี้อยู่ที่ 32.58 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทเป็นการอ่อนค่าตามภูมิภาคที่สวนทางกับดอลลาร์สหรัฐที่รีบาวน์ รวมถึงการที่นักลงทุนต่างชาติที่เทขายหุ้นและนำเงินทุนออกไปต่างประเทศแล้วส่วนหนึ่ง ส่วนแนวโน้มการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 32.85-33.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่มีผลต่อค่าเงินบาท นอกจากความไม่มั่นคงทางการเมืองแล้ว ยังมีปัจจัยที่ดอลลาร์สหรัฐเริ่มรีบาวน์ หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาพูดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเริ่มดีขึ้น
KTBรั้งท้ายแบงก์ใหญ่ขึ้นดบ.
ฝ่ายสื่อสารการตลาดและประชาสัมพันธ์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายนนี้เป็นต้นไป ธนาคารจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภท โดยเงินฝากประจำประเภท 3 เดือน วงเงินฝากต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปรับเป็น 2.375% ต่อปี วงเงินฝากตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับเป็น 2.625% ต่อปี ประเภท 6 เดือน วงเงินฝากน้อยกว่า 3 ล้านบาท ปรับเป็น 2.50% ต่อปี วงเงินฝากตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับเป็น 2.75%ต่อปี และประเภท 12 เดือน วงเงินต่ำกว่า 3 ล้านบาท ปรับขึ้น 0.50% จาก 2.25 %ต่อปี เป็น 2.75%ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ปรับขึ้น 0.75% จาก 2.25%ต่อปี เป็น 3.00 %ต่อปี
เงินฝากประจำ 24 เดือน ปรับขึ้น 1% วงเงินต่ำกว่า 10 ล้านบาท จาก 2.50%ต่อปี เป็น 3.50%ต่อปี วงเงินตั้งแต่ 10 ล้าน ปรับขึ้น 1.25% จาก 2.50%ต่อปี เป็น 3.75%ต่อปี เงินฝากประจำ 36 เดือน ปรับขึ้น1.25% จากเดิม 2.50%ต่อปี เป็น 3.75% ต่อปี และเงินฝาก KTB 15 Bonus ปรับเป็น 3.163%ต่อปี
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ธนาคารปรับเพิ่มขึ้น 0.375% โดยอัตราดอกเบี้ยรายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จาก 6.875% ต่อปี เป็น 7.25% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยประเภทเบิกเกินบัญชี (MOR) จาก 7.125%ต่อปี เป็น 7.50%ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) จาก 7.375% ต่อปี เป็น 7.75% ต่อปี
|
|
 |
|
|