Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน6 มิถุนายน 2551
ซิงเกอร์พบฟ้าใหม่กำไร10ล.โวปีนี้ล้างตัวแดงสะสม1.7พันล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซิงเกอร์ (ประเทศไทย)

   
search resources

ซิงเกอร์ ประเทศไทย, บมจ.




ซิงเกอร์โวลั่น ปรับหางเสือเดินมาถูกทาง ดันกำไร 10 ล้านบาท เป็นครั้งแรกในไตรมาสที่หนึ่งปี 2551 นี้ หลังเผชิญภาวะขาดทุนสะสมกว่า 1,700 ล้านบาทมานาน ลั่นปีนี้ล้างขาดทุนสะสมหมดแน่ ด้านบัญชีเช่าซื้อจักรยานยนต์คาดอีก 2 ปีเคลียร์หมดแน่ พร้อมเดินหน้าตลาดรีเพลซเม้นท์เต็มเหนี่ยว

นายดาเนียล ไมเคิล ฟิลิโปเนท์ รองประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิงเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การปรับกลยุทธ์และทิศทางของบริษัทฯเดินมาถูกทางแล้ว จากการที่หันกลับมามุ่งตลาดการให้เช่าเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่ถนัด และตัดสินค้าที่ไม่ถนัดออกไปคือ รถมอเตอร์ไซค์ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานช่วงไตรมาสแรกปีนี้เห็นภาพความสำเร็จที่ชัดเจนมากขึ้น

โดยบริษัทฯมีเป้าหมายระยะยาวที่จะกลับไปสู่ผลประกอบการที่รายรับเกือบ 10,000 ล้านบาท โตประมาณ 30% ต่อปีโดยเฉลี่ยให้เหมือนในอดีตที่เคยทำมาแล้ว คาดว่าต้องใช้เวลาอาจจะ 10 ปี แต่เป้าหมายระยะสั้นในช่วง 1-2 ปีนี้คือ การผลักดันยอดรายได้รวมให้ได้ประมาณ 4,000 ล้านบาท ขณะที่คาดว่าจะสามารถล้างขาดทุนสะสมที่เหลือยู่ 20 กว่าล้านบาทได้ภายในปีนี้ โดยจะให้ความสำคัญกับตลาดรีเพลซเม้นท์เป็นหลัก หรือตลาดทดแทนที่เป็นตลาดใหญ่

ทั้งนี้บริษัทฯมีผลประกอบการที่ขาดทุนสะสมมาตลอดตั้งต่ ปี 2549 ขาดทุน 1,233 ล้านบาท ส่วนปี 2550 ขาดทุนเหลือ 502 ล้านบาท แต่ไตรมาสแรกปีนี้กลับดีขึ้นและมีกำไรด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้บริษัทฯก็ยังมีกำไรสะสมอยู่ประมาณ 1,700 ล้านบาท ดังนั้นเมื่อรวมๆแล้วจึงเหลือขาดทุนสะสมอีกเล็กน้อยเท่านั้นเองมั่นใจว่าจะสามารถล้างขาดทุนได้หมดในปีนี้

สำหรับผลประกอบการของไตรมาสแรกปี 2551 มีรายได้ 59.4 ล้านบาท ลดลง 20.6% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่มี 755.3 ล้านบาท เนื่องจากยอดขายรถจักรยานยนต์ที่ลดลง 76.3% แต่ทั้งนี้บริษัทฯกลับมีกำไร 10.5 ล้านบาท จากเดิมที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วยังขาดทนสูงถึง 196.5 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนที่สูงขึ้นอีก 35.7 ล้านบาท หรือ 9.1% โดยสัดส่วนลูกค้าเงินสดมีเพียง 5% แต่เป็นลูกค้าเงินผ่อนสูงถึง 95%

ส่วนยอดบัญชีของบริษัทฯ จากการเข้มงวดในการปล่อยเชื้อและการเรียกเก็บค่างวด ส่งผลให้มียอดบัญชีเช่าซื้ออยู่ที่ 220,904 บัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 251 ลดลงจากเดิมที่มี 230,957 บัญชีเมื่อสิ้นปี 2550 ขณะที่ยอดบัญชีของการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์นั้นสิ้นสุดไตรมาสแรกปี 2551 อยู่ที่ 40,388 บัญชี จากเดิมช่วงเดียวกันปีที่แล้วอยู่ที่ 75,077 บัญชี คาดว่าอีกอย่างน้อย 2 ปีจึงจะหมดได้ โดยจำนวนรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วเหลืออยู่ในสต๊อคเพียง 3,503 คัน ขณะที่อัตราการเก็บเงินซึ่งคำนวนจากบัญชีชำระต่อจำนวนบัญชีเช่าซื้อทั้งหมดเพิ่มขึ้น 2.7%

การที่ลดความสำคัญของตลาดจักรยานยนต์นั้น ทำให้สัดส่วนยอดขายตามประเภทสินค้าเปลี่ยนไป เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2550 กับ 2551 คือ จักรเย็บผ้าจาก 4% เพิ่มเป็น 5% ตู้เย็นจาก 21% เพิ่มเป็น 35% เครื่องซักผ้าจาก 18% เพิ่มเป็น 27% โทรทัศน์สี 13% เท่าเดิม เครื่องปรับอากาศจาก 2% เพิ่มเป็น 4% ส่วนจักรยานยนต์จาก 30% เหลือแค่ 9% อื่นๆจาก 12% เหลือ 7%

นายดาเนียลกล่าวต่อว่า การที่มุ่งเน้นตลาดทดแทนหรือการเทิร์นนั้น ที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ประสบความสำเร็จอย่างมากโดยที่ผ่านมาเริ่มมีสัดส่วนของลูกค้าที่เข้ามาแบบรีเพลสเม้นท์แล้วมากกว่า 40%

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องนั้น นายดาเนียลยอมรับว่า มีผลกระทบต่อบริษัทฯบ้างเล็กน้อย เนื่องจากซิงเกอร์เป็นธุรกิจที่พนักงานขายซึ่งมีกว่า 5,000 คน ต้องออกเดินทางพบปะลูกค้าตลอดเวลา บริษัทฯช่วยเหลือด้านการเพิ่มค่าน้ำมันให้เป็นรายเดือนโดยดูจากยอดขายโดยให้เป็นตามขั้นบันได ขณะที่ปัญหาทางด้านการเมืองหรือการชุมนุมนั้น กระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม แต่ยังมีปัจจัยบวกอยู่ตรงที่ลูกค้าหลักของซิงเกอร์คือ เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ในต่างจังหวัด ซึ่งปัจจุบันราคาสินค้าพืชผลทางการเกษตรมีราคาสูงขึ้นส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้มีรายได้สูงขึ้น

กลุ่มลูกค้าของซิงเกอร์แยกเป็นสัดส่วนตามรายได้ต่อเดือนได้ดังนี้ รายได้ต่ำกว่า 5,500 บาท จำนวน 53.8% รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทจำนวน 27.2% ซึ่งเป็น 2 กลุ่มลูกค้าหลัก นอกนั้นก็เป็นลูกค้ารองเช่น รายได้มากกว่า 30,000 บาท จำนวน 2.2% รายได้ 20,000-30,000 บาท จำนวน 4.2% รายได้ 10,000-15,000 บาท จำนวน 7.8%

หากแยกสัดส่วนลูกค้าออกเป็นพื้นที่ตามภูมิภาค จะพบว่า พื้นที่สัดส่วนลูกค้ามากที่สุดคือ ภาคตะวันออก ประมาณ 38.45% รองมาคือ ภาคกลาง 36.10% ภาคเหนือ 18% น้อยที่สุดคือ ภาคใต้ 7.97%

นายบุญยง ตันสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด กล่าวว่า แผนครึ่งปีหลังจะเน้นกลยุทธ์ 6P คือ Product Price Place Promotion People Partnership และสานต่อการทำเทิร์นสินค้าทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น ทุกประเภท ตั้งเป้าหมายเพิ่มพนักงานขายระดับผู้จัดการหน่วยจาก 3 หน่วยต่อสาขา เป็น 5 หน่วยต่อสาขา และสร้างเครือข่ายให้ครบ 10,000 คนในอีก 2 ปี พร้อมใช้งบตลาด 10 ล้านบาท เปิดตัวหนังโฆษณาชุดใหม่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us