Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มิถุนายน 2551
จ้างเอกชนรีดภาษี "ประดิษฐ์"บี้ขาใหญ่             
 


   
search resources

Auditor and Taxation




“ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์” ไอเดียกระฉูดสั่งกรมสรรพากรจ้างเอาท์ซอร์สรีดภาษีบริษัทขนาดใหญ่เน้นยักษ์ข้ามชาติ หวังอุดช่องโหว่หลังพบครึ่งหนึ่งของรายได้มาจากกลุ่มนี้แต่มักเลี่ยงภาษี ด้านยอดจัดเก็บเดือนพฤษภาคมเกินเป้ากว่า 2.6 หมื่นล้านบาท รับอานิสงส์กลุ่มแบงก์ตั้งสำรองครบ "ศานิต" เผยอายัดภาษีโอ๊คเอมยังไม่คืบ

นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมสรรพากรศึกษาแนวทางในการจ้างบริษัทที่ปรึกษาหรือบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บภาษีมาเป็นที่ปรึกษาให้กับกรมสรรพากรเพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ได้พบปัญหาการที่บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้พยายามหาช่องทางเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระภาษีทำให้กรมสรรพากรสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก ขณะที่การจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรจำนวนถึง 50% มาจากการจัดเก็บจากธุรกิจขนาดใหญ่หากสามารถจัดเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจะส่งผลดีต่อภาครัฐ

"ไม่เฉพาะต่างชาติเท่านั้น บริษัทขนาดใหญ่ในไทยเองก็หลีกเลี่ยง เบื้องต้นผมมีความเห็นว่าการจ้างที่ปรึกษาเขามาช่วยกรมสรรพากรดูแลในเรื่องนี้แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายจากการจ้างที่ปรึกษาเกิดขึ้น แต่เมื่อพิจารณาถึงผลการจัดเก็บรายได้ที่กรมสรรพากรจะจัดเก็บได้ถือว่าคุ้มค่า เนื่องจากในปัจจุบันการทำธุรกิจของบริษัทยักษ์ใหญ่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นทั้งการตั้งเป็นโฮลดิ้ง และบริษัทลูกที่ทำให้โครงสร้างการเสียภาษีเปลี่ยนแปลงไปและสามารถหลีกเลี่ยงภาษีได้อย่างถูกกฎหมาย"

รมช.คลังย้ำว่า ถึงเวลาที่กรมสรรพากรต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจเพราะภาคเอกชนมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว การจ้างที่ปรึกษาที่มีความชำนาญด้านภาษีให้เข้ามาช่วยดูแลถือว่ามีความจำเป็นเพราะภาคเอกชนต่างใช้ช่องโหว่ของกฎหมายที่ยังไม่มีการแก้ไขในปัจจุบันเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีที่ควรจะต้องเสีย ในระหว่างที่กฎหมายยังปรับปรุงไม่แล้วเสร็จ จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษาเข้ามาช่วยดูแลในจุดนี้

แหล่งข่าวที่ปรึกษากฎหมายกรมสรรพากรกล่าวถึงกรณีที่ รมช.คลังสั่งกรมสรรพากรแต่งตั้งที่ปรึกษาเพิ่มยอดจัดเก็บภาษี ว่า จะต้องทบทวนดูว่าปัญหาในการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีปัจจุบันมีความโปร่งใสและมีช่องโหว่หรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมานโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องภาษีมีความขัดแย้งกันทั้งผู้จัดเก็บภาษีและผู้ที่ต้องการให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษี ที่สำคัญบริษัทที่ปรึกษาด้านกฎหมาย 4 ราย พร้อมให้คำปรึกษาอยู่แล้ว ไม่ควรสิ้นเปลืองเงินงบประมาณอีก

หากกรมสรรพากรต้องการก็สามารถทำหนังสือเชิญมาได้ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภาษีสรรพากรอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีนักวิชาการในมหาวิทยาลัยที่มีความสามารถ ที่กรมสรรพากรจะเชิญเข้ามาทำงานได้

"ปัญหาเรื่องภาษีที่เกิดขึ้นมาจากนโยบายรัฐที่สวนทางกัน ซึ่งหากต้องการส่งเสริมการลงทุนก็ควรจะหารือกับผู้จัดเก็บภาษีให้ชัดเจนก่อนประกาศใช้อย่างเป็นทางการ เพื่อให้การทำงานของกรมสัมฤทธิ์ผล ถ้าหากกรมฯ จ้างบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้ามาเป็นที่ปรึกษาเขาก็จะไปลอกงานของบริษัทอื่นมา ก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไร และสิ้นเปลืองงบประมาณ" แหล่งข่าวกล่าว

ยอดจัดเก็บภาษี พ.ค.ทะลุเป้า

สำหรับการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายประดิษฐ์เปิดเผยว่า กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีได้จำนวน 2.53 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 3.9 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% และสูงกว่าประมาณการจำนวน 2.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งยอดการจัดเก็บที่สูงกว่าประมาณการดังกล่าวเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวที่ดีขึ้น

โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่มีการตั้งสำรองตามมาตรฐานทางบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 39 (IAS 39) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำให้การยื่นเสียภาษีมีจำนวนมากขึ้น ในขณะเดียวกันการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีการขยายตัวที่ดีเช่นกันตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งจากการนำเข้าวัตถุดิบ การบริโภค และราคาน้ำมันส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวจากปีก่อนถึง 14%

สำหรับยอดการจัดเก็บภาษีในรอบ 8 เดือนของปีงบประมาณ 2551 กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 8.2 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 9.85 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 13.6% และสูงกว่าเอกสารประมาณการ 4.4 หมื่นล้านบาทหรือ 5.7% โดยคาดว่าเมื่อสิ้นปีงบประมาณจะสามารถจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับประมาณการที่ตั้งไว้

“มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลดหย่อนภาษีประเภทต่างๆ ที่รัฐบาลประกาศออกมานั้นในเบื้องต้นคาดว่าจะทำให้การจัดเก็บรายได้ในส่วนของกรมสรรพากรหายไป 4.2 หมื่นล้านบาท แต่จากตัวเลขการจัดเก็บที่ออกมาเชื่อว่าในสิ้นปีงบประมาณจะสามารถจัดเก็บรายได้ได้ใกล้เคียงกับประมาณการ ซึ่งเมื่อพิจารณาภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันแม้ว่าประเทศเรามีปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองแต่ก็ยังสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้า หากบ้านเมืองสงบการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลน่าจะออกมาดีกว่านี้” นายประดิษฐ์กล่าว

อายัดทรัพย์"โอ๊ค-เอม"ยังไม่คืบ

นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเรียกเก็บภาษีหุ้นจำนวน 1.2 หมื่นล้านบาทจากนายพานทองแท้ และน.ส.พิณทองทา ชินวัตร ว่า ถึงขณะนี้คดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการอุทธรณ์ และยังรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ภาษี ยังไม่ทราบว่าจะมีการพิจาณาเมื่อใด อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็จะดำเนินการไปตามขั้นตอนทางกฏหมายของกรม ซึ่งจะไม่เกี่ยวพันกับเรื่องคดีที่ตนโดนฟ้องและการตีความเรื่องอำนาจของ คตส.ของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่าเรื่องดังกล่าวกรมสรรพากรดำเนินการไปตามขั้นตอนตามกฏหมายประมวลรัษฎากร

"การประชุมคณะกรรมการอุทธรณ์นั้นจะมีเป็นประจำทุกเดือน แต่จะมีเรื่องที่รอเข้าสู่การพิจารณาจำนวนมาก เรื่องของคดีนี้ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องมีการจัดเตรียมสำนวนทุกอย่างให้พร้อม ซึ่งผมไม่ทราบว่าในระดับเจ้าหน้าที่มีการดำเนินการไปถึงขั้นตอนไหน แต่ยืนยันว่าขั้นตอนต่างๆ ไม่ได้ล่าช้า หรือรวดเร็วไปกว่าคดีอื่นๆ ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการ" นายศานิตกล่าวและว่า การตีความของศาลรัฐธรรมนูญในแง่ของอำนาจ ที่มาที่ไปและอายุของ คตส.ว่า จะไม่ส่งผลใดๆ กับคดีภาษีของบุคคลทั้งสอง เนื่องจากการดำเนินการในการประเมินภาษีนั้นเป็นไปตามอำนาจของกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรที่มีต่อผู้เสียภาษี

ส่วนความคืบหน้าคดีที่นายพานทองแท้ ชินวัตรเป็นโจทก์ยื่นฟ้องตน และสรรพากรภาค 1 และภาค 5 รวม 3 คน ในความผิดฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จากกรณีที่กรมสรรพากรมีคำสั่งยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์สินของโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่ก่อนหน้านี้กรมสรรพากร เคยมีคำวินิจฉัยเรื่องการซื้อหุ้นของโจทก์นั้นไม่ต้องเสียภาษี นั้น นายศานิตกล่าวว่า คดียังอยู่ระหว่างการไต่สวนมูลฟ้อง และอัยการรับเป็นทนายให้ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทำไปตามหน้าที่ ซึ่งตนก็ไม่ได้รู้สึกกังวลใดๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายแถลงต่อศาลขอเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ออกไปก่อน ศาลจึงนัดใหม่เป็นวันที่ 9 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us