|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เคทีบีลีสซิ่งพอใจผลการดำเนินงาน 5 เดือนที่ผ่านมา มั่นใจสิ้นปีปล่อยกู้ได้ตามเป้าหมาย 1.5 หมื่นล้านบาท ส่วนเอ็นพีแอลยังอยู่ในระดับที่คุมได้ พร้อมพิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยเช่าซื้อรถยนต์ แต่สินเชื่อเช่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ขยับ
นายภิญญาวัฒน์ จันทรกานตานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคทีบี ลีสซิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาทิศทางของดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในวันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายนนี้ ภายหลังจากที่มีธนาคารบางแห่ง ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว ซึ่งคงจะยังไม่สามารถกำหนดสัดส่วนที่ชัดเจนได้ โดยขณะนี้ดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์อยู่ระหว่าง 2.8-2.9% สินเชื่ออุปโภคบริโภคนั้นยังไม่มีนโยบายในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ เนื่องจากปัจจุบันมีส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย หรือ สเปรดยังสูงอยู่ที่ กว่า10% แต่หากเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดสเปรดจะอยู่ที่ กว่า 5% โดยดอกเบี้ยสินเชื่ออุปโภค-บริโภคปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 0.99%ต่อเดือน ขณะที่ตลาดอยู่ที่ระดับ2-2.5% ต่อเดือน
สำหรับการดำเนินธุรกิจในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาบริษัทมียอดปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อใหม่อยู่ที่ 5.2-5.3 พันล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปีตั้งไว้ที่ 1.5 หมื่นล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 30 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปี 140 ล้านบาท จึงคาดว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน พร้อมกันนั้น บริษัทยังได้มีการตั้งสำรองตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ที่ระดับ 50 ล้านบาท
ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ของบริษัทปัจจุบันอยู่ที่ 1.6% เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนที่ 1.5% แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ โดยทั้งปีจะควบคุมให้อยู่ที่ไม่เกิน 2% โดยเอ็นพีแอลที่ปรับเพิ่มขึ้นนั้นมาจากปัญหาภายในซึ่งอยู่ในช่วงการแก้ไข แต่สัญญาณของตลาดโดยรวมไม่มีอะไรที่น่ากังวล ขณะที่บริษัทเองจะระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้า รวมทั้งบริษัทยังเน้นลูกค้าที่มีรายได้ประจำเป็นหลัก
ส่วนนโยบายในการทำธุรกิจของบริษัทตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบันยังดำเนินไปกับธนาคารกรุงไทยโดยตลอดทั้งการจัดโปรแกรมทำการตลาด ส่วนการขายสินค้าจะใช้สาขาของธนาคารในการขาย ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี จึงจะดำเนินงานในรูปแบบนี้ต่อไป รวมทั้งบริษัทมีแผนจะเปิดสาขาภายในปีนี้ให้ครบ 8 สาขา จากปัจจุบันมีอยู่ 3 สาขา และสิ้นเดือนมิถุนายนนี้จะเปิดสาขาที่ 4 โดยสาขาจะทำหน้าที่ในการประสานงาน แก้ไขปัญหาแทนสำนักงานใหญ่ ไม่ได้ทำหน้าที่ในการขาย โดยสาขาจะพนักงานประมาณ 5 คน และใช้งบลงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อสาขา
"ยอด 14-15 เดือนที่ผ่านมาสินเชื่อคอนซูมเมอร์เติบโตขึ้นทุกเดือน เพราะได้เริ่มทำตลาดเชิงรุกมากขึ้น ให้ลูกค้าได้รับรู้มากขึ้น โดยได้มีการทำแผนการตลาดร่วมกับแบงก์กรุงไทย มีการจัดกิจกรรมซึ่งการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งมียอดขายเพิ่มขึ้น 5 เท่าตัว และหลังจัดงานจะมียอดขายเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าตัว ซึ่งภาพรวมของคอนซูมเมอร์ถือว่าโดดเด่น สามารถเดินต่อไปได้เพราะเป็นปัจจัยดำรงชีวิต"นายภิญญาวัฒน์กล่าว
สำหรับพอร์ตสินเชื่อคงค้างในปัจจุบันอยู่ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท เป็นพอร์ตเช่าซื้อรถยนต์ 30% แต่เป็นพอร์ตที่ทำกำไรต่ำสุด พอร์ตคอนซูมเมอร์อยู่ที่ 20-25% ซึ่งเป็นพอร์ตที่ทำกำไรสูงสุด ที่เหลือเป็นพอร์ตลูกค้าบริษัท โดยคาดว่าสิ้นปียอดสินเชื่อคงค้างจะอยู่ที่ 1.8-1.9 หมื่นล้านบาท
|
|
|
|
|