|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ต่างชาติยังเทขายหุ้นต่อเนื่องอีก 3.6 พันล้านบาท ด้าน "โกลด์แมนแซคส์" ปรับลดน้ำหนักลงทุนตลาดหุ้นไทยจากเดิมลงทุนปานกลาง "ปกรณ์" เชื่อการเมืองไทยไม่น่ากังวล ชี้หากฝรั่งเข้าใจระบอบการปกครอง หันกลับเข้าลงทุน "ภัทรียา" ชี้ต่างชาติขายระยะสั้น ด้านบล.เอเซียพลัส ปรับลดเป้าดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้เหลือ 901.68 จุด จากเดิม 1,051.96 จุด เหตุน้ำมันแพง ดันเงินเฟ้อ –ดอกเบี้ยขาขึ้น กดดันเศรษฐกิจ กำไร บจ.ลดลง
ภาวะการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (3 มิ.ย.) ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากปัจจัยลบรุมเร้านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ กดดัชนีตลาดหุ้นปิด 806.86 จุด ลดลง 3.36 จุด หรือลดลง 0.41% ปรับตัวสูงสุดระหว่างวันที่ระดับ 814.42 จุด ปรับตัวต่ำสุดระหว่างวันที่ระดับ 803.52 จุด มูลค่าการซื้อขาย 21,611.19 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 3,688.63 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 334.41 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 3,354.22 ล้านบาท
นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เปิดเผยว่า จากปัจจัยทางการเมืองเรื่องการการชุมนุมประท้วงนั้นไม่อยากให้นักลงทุนกังวล เพราะ ว่าถือเป็นเรื่องธรรมดาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายแตกต่างกันได้ และการแสดงความคิดเห็นนั้นมีหลายวิธี ตราบใดที่การแสดงออกไม่ผิดต่อกฎหมายและสันติโดยจะคลื่คลายในทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ จากการที่มีแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศออกมาต่อเนื่องส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงนั้น เพราะนักลงทุนยังไม่เข้าใจในเรื่องการปกครองของประเทศไทย โดยเชื่อว่าหากนักลงทุนมีความเข้าใจแล้วเชื่อว่าจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยเหมือนที่ผ่านมา
"ไม่อยากให้นักลงทุนกังวลในเรื่องการชุมนุมประท้วง ซึ่งถือว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องธรรมดาในการปกครองระบบประชาธิปไตยที่กลุ่มคนในประเทศสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาการประท้วงก็ไม่ใช่ไม่เคยเกิด แต่เชื่อเหตุการณ์ดังกล่าวจะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น " นายปกรณ์ กล่าว
เชื่อต่างชาติขายระยะสั้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยขณะนี้ปรับตัวลดลง 4-5% จากสิ้นปี2550ที่858 จุด ซึ่งแรงขายของนักลงทุนต่างชาติประเมินว่าน่าจะเป็นระยะสั้น เหมือนกับก่อนหน้านี้ต่างชาติจะขายสุทธิ แต่ในช่วงที่มีข่าวผลประกอบการไตรมาสแรกออกมาโตสูงถึง 30% นักลงทุนกลุ่มนี้ก็กลับเข้ามาซื้อ ส่วนกรณีการแทรกแซงของภาครัฐเรื่องค่าการกลั่นนั้น
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประทศก็ไม่อยากเห็นการแทรกแซงด้านนโยบาย แต่บางครั้งก็เข้าใจมุมมองของภาครัฐเห็นว่าจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือบางกลุ่มธุรกิจ เมื่อเป็นเช่นนี้ควรจะมีการอธิบายเหตุผลและวิธีการอย่างชัดเจน และมีกระบวนการที่โปร่งใส
"ส่วนตัวเชื่อว่าเมื่อมีแรงขายออกมาระยะหนึ่ง ค่าP/Eปรับตัวลดลงต่ำ ผลอตอบแทนจากเงินปันผลผลปรับตัวสูงขึ้น เชื่อว่านักลงทุนจะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นเหมือนปกติ ซึ่งหากดูวันต่อวันในช่วงเปิดตลาดก็มีนักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนแล้ว" นางภัทรียากล่าว
สำหรับดัชนีที่ปรับตัวลดลงมานั้นตลาดหลักทรัพย์ฯก็จะมีการรับมือ เพราะตามแผนในเดือนมิถุนายนนี้ จะร่วมเดินทางไปกับเครดิต สวิส เฟิร์สท์ บอสตัน เพื่อให้ข้อมูล(โรดโชว์) ในต่างประเทศที่สิงคโปร์ ลอนดอน และนิวยอร์ค โดยจะใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจกับผู้ลงทุนต่างประเทศอีกที โดยเชื่อว่าสถานการณ์การเมืองจะเป็นเพียงเหตุการณ์ระยะสั้นคงจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น โดยรัฐบาลคงมีวิธีการดูแลปัญหาเรื่องนี้ เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
ASPลดเป้าดัชนีปีนี้
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)เอเซียพลัส จำกัด (มหาชน)หรือ ASP กล่าวว่า บริษัทได้มีการปรับลดประมาณการดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้ลดลงอยู่ที่ 901.68 จุด จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ที่ 1,051.96 จุด และปรับลดค่าP/E จาก 14 เท่า เหลือ 12เท่า เนื่องจาก อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคม 2551 ทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 7.6%สูงสุดในรอบ9 ปี จากแรงกดดันของราคาสินค้าทั้งในหมวดอาหารและที่ไม่ใช่หมวดอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนด้านน้ำมัน ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังต้นทุนการผลิตทุกภาคเศรษฐกิจ โดยพบว่าราคาน้ำมันดูใบได้ปรับตัวสูงขึ้น 50% จากสิ้นปี 2550 และสูงถึง 130%จากปี2549
ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันยังคงทรงตัวในระดับสูงต่กไป คาดว่าเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือปี2551มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2 หลักใกล้เคียงกับระดับสูงสุดที่ 10.6%ในเดือนมิถุนายน 2541 การที่ต้นทุนน้ำมันปรับตัวสูงสุดรุนแรงนั้นได้กดดันเงินเฟ้อทั่วโลก และกดดันให้ผลตอบแทนสุทธิในตลาดเงินมีแนวโน้มติดลบผลักดันให้ธนาคารกลางหลายแห่งของโลกต้องหันมาใช้นโยบายเงินตึงตัวมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยนั้นหากพิจารณาจากผลตอบแทนสุทธิ (RP-1วัน หลังหักเงินเฟ้อ)พบว่าติดลบสูงถึง 4.3% ถือว่าติดลบสูงมาก และเป็นการทำสถิติที่สูงสุดครั้งใหม่เช่นเดียวกับเงินเฟ้อ หากเทียบกับปี 2548 พบว่าติดลบเพียง 2.85% จากปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาณยืนยันว่าดอกเบี้ยในประเทศกำลังเข้าสู่วงจรขาขึ้น ซึ่งจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2551 หลังจากที่คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 3.25%ติดต่อกัน 11 เดือน โดยคาดว่าดอกเบี้ยของไทยมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1-1.5%ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจมีการปรับตัวสูงขึ้น ทั้งจากดอกเบี้ยขาขึ้น ราคาน้ำมันสูงกดดันกำไรของบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มลดลง
ดังนั้น จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นและปัจจัยทางการเมืองคาดว่าจะกดดันให้ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมไม่สดใสเหมือนกับที่รัฐบาลได้มีการคาดการณ์ไว้ ซึ่งหากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยในประเทศอย่างรวดเร็วนั้นมีความเป็นไปได้ที่อาจจะทำให้สำนักวิจัยทั้งของภาครัฐและเอกชนจะต้องมีการทบทวนตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจลง
โกลด์แมนแซคส์ลดน้ำหนักหุ้นไทย
นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลุยทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงเนื่องจาก เนื่องจาก ปัจจัยลบหลายอย่างที่ส่งผลกระทบการลงทุน เช่น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการใช้จ่ายภาคประชาชน อีกทั้งธนาคารพาณิชย์บางแห่งได้มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว ทำให้ต้นทุนของบริษัทต่างๆ เพิ่มขึ้น และปัจจัยทางการเมือง รวมถึงการที่โกลด์แมนแซคส์แอนด์โค ลดคำแนะนำการลงทุนตลาดหุ้นไทย จากปานกลาง เป็นลดน้ำหนักการลงทุน
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ (4มิ.ย.)คาดว่าหากไม่มีปัจจัยลบใหม่เชื่อว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ 10-20 จุด เนื่องจากตลาดได้ซึมซับปัจจัยลบต่างๆพอสมควรแล้ว อีกทั้ง ผบ.ทบ.ได้ออกมาระบุจะไม่ใช้กำลังสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ และยืนยันไม่มีปฎิวัติ โดยประเมินแนวรับที่ 800 จุด แนวต้านที่ระดับ 820 จุด
นางสาววราภรณ์ วิบูลคณารักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีมิโก้ กล่าวว่า ในช่วงเปิดตลาดดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ หลังจากนั้นมีแรงเทขายหุ้นออกมาต่อเนื่องทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง จากการเมืองในประเทศที่จะยังไม่คลี่คลายในระยะสั้น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่ม ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่ธนาคารกรุงเทพ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว โดยจากดัชนีปรับลดลงมาอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ทำให้บริษัทอาจจะปรับลดเป้าหมายดัชนีปีนี้ลดลงจากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 1,000 จุด แต่ตัวเลขที่ชัดเจนต้องรอบทวิเคราะห์ของบริษัทก่อน
สำหรับ ทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าดัชนีมีโอกาสปรับลดลงได้ต่อ แต่อาจรีบาวน์กลับในบางช่วง ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆโดยประเมินแนวรับที่ระดับ 800 จุด และแนวต้านที่ 820 จุด
|
|
 |
|
|