Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 มิถุนายน 2551
ปตท.โอดติดกับดักราคาก๊าซ เผยน้ำมันแพงแต่ขาดทุน!             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
Oil and gas




ปตท.หวั่นปัญหาด้านราคาNGVจะซ้ำรอยก๊าซหุงต้ม กลายเป็นระเบิดลูกใหม่ หากไม่สามารถปรับขึ้นราคาNGVได้ตามแผน ยันเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รู้ว่าปีหน้าNGVขยับขึ้นเป็น 12บาท/กก. ระบุปตท.อุ้มมากไปกว่านี้ไม่ได้ หลังคาดปีนี้แบกรับภาระNGV 5 พันล้าน และการขาดทุนค้าปลีกน้ำมัน 5-7 พันล้านบาท ยอมรับปัญหาก๊าซหุงต้มแก้ไขยาก ชี้รถบ้านแห่มาติดตั้งอุปกรณ์ใช้LPGเพิ่มมากขึ้น หวั่นไทยต้องนำเข้าLPGไปตลอดชาติ ประเมินปีหน้าคาดนำเข้าLPGอาจทะลุ 1 ล้านตัน หากรถแท็กซี่ยังใช้LPGและมีการลักลอบขนไปขายในประเทศเพื่อนบ้านอยู่

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวในงานสัมมนาวิกฤตพลังงาน : นโยบาย ยุทธศาสตร์และทางรอดSME”วานนี้(3 มิ.ย.)ว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการภาคการขนส่งหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์(NGV)เพิ่มขึ้น ซึ่งราคาNGVที่ตั้งไว้ 8.50 บาท/กก. ซึ่งถูกกว่าราคาเชื้อเพลิงชนิดอื่น จะกลายเป็นระเบิดเวลาในอนาคต หากราคาNGVไม่สามารถปรับขึ้นได้ตามนโยบายที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งจะซ้ำรอยก๊าซหุงต้ม (LPG) ที่อุดหนุนอยู่ สุดท้ายปตท.ก็คงไม่สามารถรับภาระตรงนี้ได้

ดังนั้น จึงต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภครู้ว่าราคาNGV จะปรับขึ้นในปีหน้าเป็นกก.ละ 12 บาท และปีถัดไปเพิ่มเป็น 13 บาท/กก. หลังจากนั้นปล่อยไปตามกลไกตลาด โดยจะไม่ยืนราคาไว้อยู่ที่ 8.50บาท/กก. มิฉะนั้น ปตท.คงไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนดังกล่าวได้ โดยปีที่แล้วปตท.ขาดทุนจากการขายNGVถึง 2 พันล้านบาท และปีนี้คาดว่าจะแบกรับภาระเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันล้านบาท ส่วนธุรกิจค้าปลีกน้ำมันแบกภาระขาดทุนในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 5-7 พันล้านบาท เนื่องจากต้นปีนี้ ค่าการตลาดน้ำมันดีเซลติดลบ 32 สตางค์/ลิตร

“ ในระยะยาวการทำธุรกิจNGV ทางปตท.ก็หวังได้ว่ามีผลตอบแทนพอคุ้มทุน แต่ระยะสั้นปตท.จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนราคาน้ำมันให้กับภาคขนส่ง แท็กซี่ เพื่อให้เขาเกิดความหวังมาหันใช้NGVมากขึ้น โดยการปรับขึ้นราคาNGVนั้นต้องเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนNGVอยู่ที่ 10บาทกว่า/กก.แล้ว และเชื่อว่าปตท.จะแบกรับภาระNGVลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น “ นายประเสริฐกล่าว

สำหรับการแก้ไขปัญหาก๊าซหุงต้มนั้น ยอมรับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะมีการอุดหนุนด้านราคาเป็นเวลานาน ซึ่งปัจจุบันโรงกลั่นน้ำมันและโรงแยกก๊าซฯขายก๊าซหุงต้มในประเทศที่ราคา 300 เหรียญสหรัฐ/ตัน ต่ำกว่าราคาตะวันออกกลางที่เป็นเจ้าของแหล่งก๊าซและน้ำมันที่ขายอยู่ตันละ 900 เหรียญสหรัฐ ซึ่งก๊าซหุงต้มทั้งระบบมีการใช้อยู่ 3 ล้านตัน/ปี เท่ากับว่าโรงกลั่นและโรงแยกฯขายในราคาต่ำกว่าตลาดโลกถึง 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4 หมื่นกว่าล้านบาท ทำให้ปตท.สูญเสียโอกาสคิดเป็นสัดส่วน 60-70%ของวงเงินดังกล่าว

ขณะที่การนำเข้าก๊าซหุงต้มจำเป็นต้องมีผู้รับภาระ 600 เหรียญสหรัฐ/ตัน โดยทางรัฐจะเป็นผู้รับภาระดังกล่าว โดยให้ปตท.เป็นผู้นำเข้าก๊าซหุงต้มมาก่อนแล้วได้รับเงินคืนจากการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์ที่จะสูงกว่าราคาก๊าซหุงต้มในครัวเรือน

นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ทำให้รถบ้านหันมาเปลี่ยนเครื่องยนต์เพื่อใช้ก๊าซหุงต้มที่มีราคาถูกกว่าเป็นจำนวนมาก ทำให้เป็นห่วงว่าไทยยังต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มไปตลอด แม้ว่ารัฐจะมีการปรับราคาก๊าซหุงต้มสำหรับรถยนต์ขึ้นก็ตาม เพราะรถบ้านได้มีการลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ไปแล้ว ก็คงไม่มีการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซNGV แม้ว่าราคาก๊าซหุงต้มจะปรับเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะยังคุ้มเมื่อเทียบกับราคาน้ำมัน

โดยเชื่อว่าปีหน้าไทยจะต้องนำเข้าก๊าซหุงต้มไม่น้อยกว่า 5 แสนตันและอาจสูงถึง 1 ล้านตัน ขึ้นอยู่กับว่ารถแท็กซี่จะเปลี่ยนการใช้ก๊าซหุงต้มมาเป็นNGVแค่ไหน และการควบคุมไม่ให้มีการรั่วไหลของก๊าซหุงต้มไปยังประเทศเพื่อนบ้านทำได้มากน้อยเพียงใด โดย ปีนี้ไทยมีการนำเข้าก๊าซหุงต้ม 2 แสนตัน โดยปตท.จะเป็นผู้นำเข้าก๊าซหุงต้มจากต่างประเทศโดยรัฐเป็นผู้รับภาระต้นทุนส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น เพราะรัฐคุมราคาขายก๊าซหุงต้มอยู่ที่ 300 เหรียญสหรัฐ/ตัน ขณะที่ราคานำเข้าสูงถึง 900 เหรียญสหรัฐ/ตัน รัฐรับภาระถึงตันละ 600 เหรียญสหรัฐ

“เราอาจจะให้รถแท็กซี่ให้เปลี่ยนจากใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเอ็นจีวีได้ แต่รถบ้านที่วันนี้แห่มาเปลี่ยนเป็นมาใช้ก๊าซหุงต้มจำนวนมาก คงเป็นไปได้ยาก โดยแม้ว่ารัฐจะปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์จาก 11 บาท/ลิตรเป็น 20 บาท/ลิตร ซึ่งเมื่อเทียบกับน้ำมัน 40 บาท/ลิตร ก็ยังคุ้ม ซึ่งจะเป็นปัญหาที่แก้ยาก เพราะโครงสร้างราคาทำให้เกิดปัญหา ดังนั้นคงต้องปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มสำหรับยานยนต์ให้เท่ากับราคาตลาดโลก จะทำให้แรงจูงใจน้อยลง แต่ตอนนี้คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าราคาก๊าซหุงต้มจะปรับไปได้สูงถึงขนาดนั้น”

นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ปตท.มีความพร้อมในการจำหน่ายน้ำมันอี 85 เนื่องจากจำนวนรถที่เติมอี 85 ในช่วงแรกมีจำนวนไม่มาก ทำให้ค่อยๆทยอยเปิดปั๊ม โดยในช่วง 3-5 เดือน ปตท.และบางจากจะมีปั๊มที่จำหน่ายอี 85 ประมาณ 50-60 แห่ง หลังจากนั้นค่อยเร่งผลิตเอทานอลและขยายปั๊มเพิ่มขึ้นได้ตามจำนวนรถยนต์ที่ใช้อี 85 ได้

นักวิชาการแนะรัฐปรับตัว

ดร.วรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมของไทยควรต้องมีการปรับตัวเช่นเดียวกับประชาชน และเห็นภาครัฐควรปล่อยให้ราคาพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาด เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงได้ โดยประชาชนและภาคอุตสาหกรรมไทยควรต้องมีการปรับตัวเช่นกัน

ปัจจุบันไทยนำเข้าน้ำมันคิดเป็น 8%ของจีดีพี สูงสุดในเอเชีย ขณะที่มูลค่าการส่งออกข้าวของไทยเพียงพอชำระค่าน้ำมันได้เพียง 1 เดือนครึ่ง หรือถ้ารวมการส่งออกพืชผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเพียงพอชำระค่าน้ำมันได้แค่ 9 เดือนเท่านั้น ทำให้ไทยต้องขาดดุลการค้าหนัก หากปล่อยให้ดุลการค้าขาดดุลไปนาน จะส่งผลให้โครงสร้างเศรษฐกิจทรุดได้เพราะสำรองเงินตราที่มีอยู่คงไม่เพียงพอ

ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาด้านพลังงาน คือ 1. รัฐควรปล่อยให้ราคาพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาด 2.โครงสร้างเศรษฐกิจพึ่งพิงน้ำมันให้น้อยที่สุด และ 3.สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะการผลักดันการใช้อี 85 โดยประเมิณว่าราคาน้ำมันอี 85 น่าจะอยู่ที่ 22-23 บาท/ลิตร ถ้าประชาชนบริโภคน้ำมันอี 85 แค่ 60%จะประหยัดการนำเข้าน้ำมันได้ถึง 1 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันภาคการเกษตรก็จะมีเงินเพิ่มขึ้น 1แสนล้านบาทจากการปลูกพืชทดแทน และเชื่อว่าพื้นที่เพาะปลูก 65 ล้านไร่เพียงพอ แต่รัฐต้องมีการจัดสรรพื้นที่ให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการแย่งชิงพื้นที่

จากการที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงตั้งแต่เดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้เงินเฟ้อพ.ค.ปรับตัวเพิ่มสูงสุดในรอบ 10ปี มาอยู่ที่ 7.6% แต่เชื่อว่าเงินเฟ้อจะส่งผลกระทบชัดเจนในช่วงส.ค.-ก.ย.นี้ และเมื่อมีปัญหาน้ำมันและเงินเฟ้อจะส่งผลต่อบริษัทจดทะเบียนทำให้สามารถทำกำไรลดลง และการจัดเก็บภาษีของรัฐลดลง ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ดังนั้นบริษัทจดทะเบียนต้องปรับตัวมีการคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ควบคุมต้นทุนการผลิตสินค้าและมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น

สำหรับธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SME) การทำธุรกิจต้องมีการระมัดระวังค่าใช้จ่ายให้ดี รวมถึงการหาตลาดใหม่ เพราะกำลังซื้อลดลง ต้นทุนสินค้าเพิ่มและดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้กำไรน้อยลง ส่งผลให้การเสียภาษีลดลงไปด้วย

ปตท.ยันยังไม่ลดราคาดีเซล

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. ยังกล่าวอีกว่า ปตท.จะยังไม่มีการปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในประเทศช่วงนี้ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตะวันออกกลางจะปรับตัวลดลงมาบ้างแล้ว แต่ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงและยังมีความผันผวน ประกอบกับช่วงที่น้ำมันราคาสูงปตท.ตรึงราคาและขายต่ำกว่าหน้าโรงกลั่น 2-3 บาทอยู่แล้วจึงไม่สามามารถลดลงได้เร็วแม้ค่าการตลาดจะกลับมาเป็นบวกเล็กน้อยแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันดิบสำเร็จรูปในตลาดสิงคโปร์มีแนวโน้มปรับลดลงเหลือ 150 เหรียญต่อบาร์เรล อาจมีการปรับลดลงได้ จากปัจจุบันที่ยังอยู่ในระดับ 156 เหรียญต่อบาร์เรล จึงต้องจับตาดูต่อไปว่าราคาน้ำมันในภูมิภาคจะลดลงกว่านี้หรือไม่ เนื่องจากขณะนี้เริ่มมีสัญญาณการใช้น้ำมันชะลอตัวลง

“สถานการณ์เงินเฟ้อในภูมิภาคเอเชียที่สูงขึ้นมากเป็นแรงกดดันให้เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวและประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ทำให้การใช้น้ำมันเริ่มชะลอตัวลง จึงต้องรอดูว่าหลังการแข่งขันโอลิมปิคจีน รวมถึงอินเดียจะมีการใช้ลดลงอีกหรือไม่ หากแนวโน้มการใช้ลดลงราคาน้ำมันก็น่าจะปรับลดลงได้ ซึ่งปตท.จะรีบปรับราคาลงทันทีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน”นายประเสริฐกล่าว

ส่วนการที่โรงกลั่นของปตท.จัดสรรน้ำมันดีเซลช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤติน้ำมันแพงตามนโยบายของกระทรวงพลังงานในช่วง 6 เดือนนี้รวม 700 กว่าล้านลิตร มูลค่า 200 ล้านบาทนั้น ถือเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น ทางนักลงทุนและผู้ถือหุ้นของปตท.น่าจะข้าใจและไม่ส่งผลกระทบกับการดำเนินงานเพราะปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องสนองนโนยาบรัฐบาล

อย่างไรก็ตามการที่มีผู้เรียกร้องให้ปตท.ต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าเหมือนเอกชนรายอื่นๆนั้นคงต้องคำนึงด้วยว่าปตท.จะไม่สามารถขายน้ำมันดีเซลได้ต่ำกว่าทุนเหมือนในปัจจุบัน เพราะหากดำเนินการดังกล่าวทางผู้ประกอบการรายอื่นสามารถฟ้อร้องผู้บริหารและผู้มอบนโยบายได้เช่นเดียวกันและจะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นทันทีลิตรละ 3 บาท

ปิยสวัสดิ์แนะลดบริโภคน้ำมัน

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์น์ ประธานที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนาคารกสิกรไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สถานการณ์ของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบันน่าจะเกิดขึ้นจากความต้องการบริโภคที่สูงกว่าปริมาณการผลิต ไม่ใช่การเก็งกำไรที่หลายฝ่ายมีความเห็นออกมาก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ หากเป็นการเก็งกำไรแล้วปัจจัยที่จะนำมาวิเคราะห์ก่อนการลงทุนจะเป็นเรื่อง ความต้องการบริโภค และกำลังการผลิตที่จะเป็นตัวกำหนดราคา และหากไม่มีการบริโภคจริงการเก็งกำไรจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากจะทำให้ราคาไม่เป็นตามที่คาดไว้

สำหรับความต้องการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ใช่แค่เฉพาะประเทศเกิดใหม่อย่างจีน และอินเดียเท่านั้น แต่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันเองก็มีการบริโภคสูงเช่นกัน แต่ในส่วนกำลังการผลิตกลับไม่สามารถขยายได้ตามความต้องการ ซึ่งหากกลุ่มประเทศโอเปกมีการเพิ่มการผลิตจริงน่าจะทำได้เพียงแค่ 5 แสนบารร์เรรลต่อวัน ในขณะที่ความต้องการขณะนี้มีสูงถึง 1 ล้านบาร์เรลล์ต่อวัน

นายปิยสวัสดิ์ กล่าวอีกว่า ปัญหาการบริโภคน้ำมันของประเทศไทยในสถานการณ์ปัจจุบันรัฐบาลควรมีนโยบายที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากกว่าด้านคุณภาพอย่างเดียว ซึ่งบางนโยบายที่รัฐบาลนำออกมาใช้ก่อนหน้านี้มิได้เอื้อต่อการลดการบริโภคในระยะยาวจึงควรที่จะมีการทบทวนใหม่ และนำแนวทางที่มีสามารถลดการบริโภคน้ำมันอย่างจริงจังได้มาใช้แทน โดยเชื่อว่าจะสามารถลดผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นได้

“นโยบายบางตัวต้องทบทวนอย่างการให้กู้เงินซื้อเครื่องไฟฟ้าดอกเบี้ยต่ำ มันไม่ได้ช่วยในเรื่องการลดการบริโภค เป็นเพียงแค่ลดตัวเลขการใช้ไฟฟ้าในระยะสั้นเท่านั้น ซึงการแก้ปัญหาด้านราคาน้ำมันของประเทศไทยในระยะยาวแล้วควรที่จะหาทางลดการบริโภคน้ำมันของประชาชนลงมากกว่า”นายปิยสวัสดิ์กล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us