Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน27 มิถุนายน 2546
พิเชษฐเล็งรื้อระบบเอเย่นต์คาร์โก้ อุดช่องโหว่หวังเพิ่มรายได้อีก3,000ล้าน/ปี             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
พิเชษฐ สถิรชวาล
ทัศนัย สุทัศน์ ณ อยุธยา
Aviation




"พิเชษฐ" เตรียมรื้อเอเย่นต์คาร์โก้การบินไทย เผยระบบมีช่องโหว่ทำให้บริษัทเสียหายปีละเกือบ 3,000 ล้านบาท แฉมีการร้องเรียนเอเย่นต์คิดส่วนต่างเก็บลูกค้าอัตราสูงแต่ลงบัญชีให้การบินไทยในอัตราต่ำสุด ลงนามการบินร่วมกับสายการบินวลาดิวอสต็อก ฟุ้งบุกตลาด ใหญ่ดึงผู้โดยสารจากรัสเซียเพิ่ม

นายพิเชษฐ สถิรชวาล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญาทวิภาคีการบริการ เชื่อมต่อ หรือ Bilateral Interline Agreement ระหว่างบริษัท การบิน ไทย จำกัด (มหาชน) กับสายการบินวลาดิวอสต็อก (Vladivostok Air) ว่า การบินไทยต้องเร่งหารายได้ในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะด้านการตลาด ซึ่งได้มีการปรับปรุงเรื่องตัวแทนจำหน่ายตั๋วโดยสาร หรือ เอเย่นต์ จากนี้จะให้ความสำคัญเรื่อง การขนส่งสินค้า หรือคาร์โก้ ซึ่งที่ผ่าน มาได้มีการปรับปรุงด้านบุคลากรเพื่อให้มีความเหมาะสมมากขึ้นไปก่อนแล้ว

และขณะนี้ ได้มีเอกชนร้องเรียนถึงการให้บริการคาร์โก้ของการ บินไทยว่ามีการอาศัยช่องโหว่ของระบบให้กลุ่มเอเย่นต์คาร์โก้หาผลประโยชน์เข้าตัวเอง เนื่องจากการให้บริการด้านคาร์โก้ การบินไทยจะ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การขนส่งแบบปกติ อัตรา 30 บาทต่อกก. ขนส่งแบบด่วน จะคิดในอัตรา 60 บาทต่อ กก. ในทางปฏิบัติเอเย่นต์จะเรียกใน แบบด่วนพิเศษจากลูกค้า แต่เก็บจริงในราคาประมาณ 45 บาทต่อกก. ในขณะที่ไปลงบัญชีจริงที่อัตรา ปกติเกิดส่วนต่างประมาณ 15 บาท ต่อกก.

นายพิเชษฐกล่าวว่า จุดนี้แทน ที่การบินไทยจะมีรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยกลับมีรายได้ส่วนใหญ่จากเป็นการขนส่งแบบปกติ ปัญหาเพราะระบบเอื้อให้เกิดช่องโหว่ซึ่งตรวจสอบยาก เป็นการรั่วไหล ที่เกิดจากระบบโครงสร้าง ดังนั้นจะต้องจัดการปรับปรุงรื้อระบบและเอเย่นต์คารโก้กันใหม่เช่นกัน ซึ่งอาจจะต้องยกเลิกตัวแทนทั้งหลายที่ตั้งจากภายนอกจำนวนหลายร้อยราย มาจัดระบบใหม่ ซึ่งคาดว่าเมื่อปรับปรุงระบบแล้วจะทำให้การบินไทยมีรายได้ด้านคาร์โก้เพิ่มอีก 10% หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่การบินไทยมีรายได้จากคาร์โก้ปีละประมาณ 30,000 ล้าน บาท

"ผมรู้ปัญหาคาร์โก้และเฝ้าดูอยู่ระยะหนึ่ง เห็นปัญหาหลักคือเอเย่นต์ ซึ่งตั้งโดยกรมศุลกากร การบินไทยไม่ได้ตั้ง แต่ก็ยอมรับว่า เรื่องนี คนการบินไทยก็ต้องเกี่ยว ข้องด้วย ซึ่งต้องลงมาดูแม้ว่าอาจ จะถูกมองว่าล้วงลูก แต่เป็นสิ่งที่ทำ ให้บริษัทเสียหาย" นายพิเชษฐกล่าว

สำหรับการลงนามการบินร่วม กับสายการบินวลาดิวอสต็อกนั้น นายพิเชษฐกล่าวว่า เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการบุกตลาดใหม่ ทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพสูง เช่นสหพันธรัฐรัสเซียและกลุ่มประเทศซีไอเอส และในอนาคตจะบุกไปยังประเทศแถบยุโรป ตะวันออกต่อไป โดยการบินไทย มีเส้นทางบินกรุงเทพฯ-โซล และส่งต่อผู้โดยสารให้กับสายการบิน วลาดิวอสต็อกจากโซล-วลาดิ- วอสต็อก ซึ่งเป็นผลดีทั้งสองสายการบิน

นายทัศนัย สุทัศน์ ณ อยุธยา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์การบินไทยกล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้แต่ละสายการบินสามารถขายเที่ยวบินของอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยใช้บัตรโดยสารของตนเองแก่ผู้โดยสาร ในเส้นทางที่บิน คือ กรุงเทพฯ-โซล/ ปูซาน-วลาดิวอสต็อก ส่วนสัญญาส่วนแบ่งรายได้ (Special Prorate Agreement หรือ SPA) การบินไทยให้ราคาพิเศษในเส้นทางโซล-กรุงเทพฯ และปูซาน-กรุงเทพฯ ส่วนวลาดิวอสต็อกให้ราคาพิเศษเส้นทาง โซล-วลาดิวอสต็อกและ ปูซาน-วลาดิวอสต็อก โดยราคาค่าโดยสารเฉลี่ย วลาดิวอสต็อก-กรุงเทพฯจะอยู่ที่ประมาณ 600-700 เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งถูกกว่าปัจจุบันที่ค่าโดยสารรวมประมาณ 800-900 เหรียญสหรัฐ

โดยปีแรกคาดว่าจะมีผู้โดยสาร เพิ่มขึ้นประมาณ 5,000-6,000 คนจากปัจจุบันผู้โดยสารรัสเซียเข้าไทย มีประมาณ 8,000-10,000 คนต่อปี การบินไทยจะมีรายได้เพิ่มเฉพาะเส้นทางบินนี้ ประมาณ 2 ล้านเหรียญ สหรัฐฯหรือประมาณ 80-90 ล้าน บาท โดยภายใน 2 สัปดาห์จะสามารถ ขายตั๋วโดยสารตามโครงการได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us