|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“สมชัย สัจจพงษ์” ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงธุรกรรม FRCD 490 ล้านเหรียญ เผยผลประชุมเบื้องต้นผู้บริหารส่อโดนเชือดทั้งจากเอสเอ็มอีแบงก์และสแตนชาร์ตหลังพบแนวโน้มฮั้ว กังขาผู้ช่วยเอ็มดี “จิรพร สุเมธีประสิทธิ์” เสนอเรื่องให้บอร์ดอนุมัติแต่ปกปิดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นหากเกิดวิกฤตในสหรัฐฯ
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะประธานกรรมการบริหาร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนกรณีที่ ธพว.เกิดความเสียหายอย่างมากจากการออกบัตรเงินฝากแบบดอกเบี้ยลอยตัว (FRCD) จำนวน 490 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การออก FRCD ดังกล่าว ธพว.ได้ดำเนินการ 2 ครั้งคือ ครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนและกรกฎาคม 2548 จำนวน 190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีธนาคารบาร์คเลย์เป็นผู้ดำเนินการ และในครั้งที่สองจำนวน 300 ล้านเหรียญโดยมีธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด (ไทย) SCBT เป็นผู้ดำเนินการ ในจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นนั้นพบว่าการออก FRCD ครั้งที่ 2 นั้นมีสถาบันการเงินเข้าร่วมประมูลทั้งสิ้น 5 แห่ง และSCBT เป็นผู้ชนะการประมูลโดนได้คะแนนเต็ม 500 คะแนน ในขณะที่สถาบันการเงินแห่งอื่นได้คะแนนในสัดส่วนที่แตกต่างกันมากและมี ประเด็นที่คณะกรรมการสอบสวนตั้งข้อสงสัยคือการปรับราคาจากที่เสนอในเอกสารประกวดราคาของ SCBT เสนอราคาต่างจากธนาคารบาร์คเลย์ที่เป็นคู่แข่งเพียง 0.01% เท่านั้นจึงชนะการประมูลในครั้งนี้ไป ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในการเปิดประมูลเพราะหากมีการต่อรองราคาจะต้องต่อรองกับผู้ประมูลทุกรายแต่กรณีนี้มีลักษณะของการนำข้อมูลของผู้ร่วมประมูลไปให้อีกฝ่ายรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการเสนอราคาเพื่อให้ชนะการประกวดราคา
นอกจากนี้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตถึงการออก FRCD ในครั้งนี้ว่าเป็นการออกบัตรเงินฝากประเภทหนึ่งเท่านั้นเหตุใดผู้ที่ดำเนินการจึงต้องจัดให้มีการโรดโชว์ในหลายๆ ประเทศ ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งการออกบัตรเงินฝากนั้นโดยทั่วไปก็จัดให้มีการประมูลได้เลยไม่เหมือนการออกหุ้นกู้ที่ต้องมีการโรดโชว์เพื่อให้ข้อมูลแก่นักลงทุน
“ตอนนี้กำลังดูว่าคนของเอสเอ็มอีแบงก์มีส่วนในการทำให้แบงก์เกิดความเสียหายในครั้งนี้ด้วยหรือไม่ ถ้าข้อมูลการสอบสวนที่ออกปรากฎว่าคนของแบงก์ผิดจริงก็ต้องเอาผิดให้ถึงที่สุดแต่ก็ต้องพิจารณาด้วยว่าการดำเนินการในครั้งนี้มีการฮั้วกับสแตนชาร์ตเพื่อให้เอสเอ็มอีแบงก์เกิดความเสียหายหรือไม่จะต้องดูรายละเอียดในส่วนนี้อย่างรอบคอบ” แหล่งข่าวกล่าว
มีการตั้งข้อสังเกตว่าผู้บริหารของธนาคารคือนางจิรพร สุเมธีประสิทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เอสเอ็มอีแบงก์เป็นผู้เสนอเรื่องการประมูล FRCD ในครั้งนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารโดยอธิบายถึงรายละเอียดและข้อมูลในการดำเนินการทั้งหมด แต่มีความพยายามปกปิดข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับความเสี่ยงในการทำธุรกรรมในครั้งนี้
ซึ่งความเสี่ยงในการออก FRCD ในครั้งนี้มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐที่เป็นตัวแปรที่ไม่สามารถควบคุมได้หากมีการเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามที่เอสเอ็มอีแบงก์คาดการณ์ไว้จะทำให้ธนาคารเกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อฐานะการดำเนินงานและความเพียงพอของเงืนกองทุนของธนาคาร และอัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปนั้นไม่เป็นไปตามระดับที่กำหนดไว้ในสัญญาจะทำให้เอสเอ็มอีแบงก์ต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมจากอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้
“ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องที่อ่อนไหวอีกเรื่องหนึ่งเนื่องจากคุณจิรพรที่เสนอเรื่องนี้เข้ามาและเป็นบอร์ดการเงิน หากจะทำธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านบาทกลับไม่ยอมอธิบายถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากมีความเสี่ยงอื่นๆ เกิดขึ้นจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะปัญหาซับไพรม์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐที่ส่งผลกระทบโดยตรง ซึ่งเรื่องนี้หากมีการเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดของธนาคารก็อาจมีการท้วงติงเพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นได้” แหล่งข่าวกล่าว
ภายหลังจากที่คณะกรรมการ ธพว.ได้อนุมัติให้ SCBT เป็นผู้ระดมเงินด้วยการออกตราสารบัตรเงินฝากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ประจำปี 2549 จำนวนทั้งสิ้น 300 ล้านเหรียญเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 แล้วนั้น ผู้บริหารและซีเอฟโอก้ได้ดำเนินการจัดทำสัญยาดังกล่าวนี้ขึ้นมาโดยไม่ได้รายงานต่อคณะกรรมการว่าได้ทำอนุพันธ์ผูกติดสัญญาดังกล่าวด้วย
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับลดดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0.75% เนื่องจากวิกฤตซับไพรม์ที่เกิดขึ้นทำให้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของตลาดการเงินสหรัฐต่ำกว่าขอบเขตที่กำหนดในสัญญาที่ธพว.ทำไว้กับ SCBT ส่งผลให้ธพว.มีภาระเบี้ยปรับเกิดขึ้นวันละ 2.5 ล้านบาทตามจำนวนวันที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าขอบเขต 3.5% ที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งเป็นวันที่ซีเอฟโอของธนาคารได้ยื่นหนังสือลาออกและขอให้มีผลบังคับใช้ในวันเดียว.
|
|
|
|
|