Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2543
เมื่อ GM-BMW เข้ามาปักหลักผลิตรถยนต์ในไทย             
 


   
search resources

บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย), บจก.
เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย), บจก.
Auto Manufacturers




การขนานนามประเทศไทยเป็น "ดีทรอยจ์แห่งเอเชียตะวันออก" นั้น อาจไม่เกินเลยไปนัก เพราะปัจจุบัน อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ของโลก ทั้งจากซีกยุโรป และสหรัฐอเมริกา ต่างเข้ามาตั้งฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย

อุตสาหกรรมเหล่านี้เล็งเป้าหมายไป ที่การเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีการยกเลิกกำแพงภาษีนำเข้ายานยนต์ระหว่างประเทศในกลุ่มนี้ ซึ่งจะกลายเป็น ตลาดหลัก ที่มีขนาดใหญ่คุ้มค่ากับการลงทุนตั้งโรงงานผลิต เพื่อส่งรถ ซึ่งประกอบจากโรงงานในประเทศไทย ออก ไปขายยังประเทศต่างๆ เหล่านี้

ล่าสุด ในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา โรงงานประกอบรถยนต์ของค่ายรถยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา และยุโรป 2 แห่ง ก็ได้ฤกษ์เปิดเดินสายการผลิต โดยรถยนต์คันแรก ที่ผ่านการประกอบออกมาจากโรงงานทั้ง 2 แห่ง เริ่มทยอย ส่งมอบให้กับลูกค้าได้ในช่วงระยะเวลาห่างกันไม่ถึง 2 สัปดาห์ < dd>

บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) : GM ค่ายรถสัญชาติอเมริกัน ได้เปิดโรงงานประกอบรถยนต์ อย่างเป็นทางการในวันที่ 8 พฤษภาคม ถัดมาอีก 11 วัน บริษัทบีเอ็มดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) : BMW จากประเทศเยอรมนี ก็เริ่มเดินสายพานประกอบรถยนต์อย่างเป็นทางการในวันที่ 19 พฤษภาคม

โรงงานของทั้ง 2 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ในจังหวัดระยองทั้งคู่ โดย GM ตั้งโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ขณะที่โรงงานของ BMW อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม อมตะ ซิตี้

GM นั้น ได้เริ่มเข้ามาก่อสร้างโรงงานแห่งนี้ ตั้งแต่ปี 2539 ใช้พื้นที่โรงงานรวม 440 ไร่ เงินลงทุนรวม 640 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (25,000 ล้าน บาท) กำหนดเป้าหมายประกอบรถเชฟโรเร็ต ซาฟิรา ซึ่งเป็นรถอเนกประสงค์ขนาด 7 ที่นั่ง เป็นรถรุ่นแรก ที่จะออกมาจากสายการผลิตจากโรงงานแห่งนี้ ด้วยกำลังการผลิตปีแรก 8,000 คัน แบ่งมาขายในประเทศ 1,200 คัน ส่วน ที่เหลือจะถูกส่งออก โดยมีตลาดอยู่ทั้งประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย และละตินอเมริกา

ปีต่อไป จะขยายกำลังการผลิตขึ้นเป็น 40,000 คัน ในจำนวนนี้ 85% เป็นการผลิต เพื่อการส่งออก ส่วนอีก 15% ขายภายในประเทศ

ส่วนโรงงานของ BMW เริ่มก่อสร้างโรงงานเมื่อปลายปีที่แล้ว และใช้เวลาก่อสร้างโรงงานเพียงประมาณ 5 เดือน เงินลงทุน 26.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1,0 00 ล้านบาท) มีเป้าหมายการประกอบรถ BMW ซีรี่ส์ 3 ซีดาน ใหม่ ซึ่งมีทั้งรุ่น 318 ไอ และ 323 ไอ กำลังการผลิต 10,000 คันต่อปี จำหน่ายทั้งในประเทศ และส่งออกไปขายในกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นหลัก

และยังมีแผนที่จะขยายการประกอบรถรุ่นอื่นๆ ของเครือ BMW ออกมาอีกในอนาคต

ผลประโยชน์ ที่ประเทศไทยได้รับจากการเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานประกอบของค่ายรถยนต์ทั้ง 2 แห่งดังกล่าว คือ การจ้างงานโดยตรง โดยในเบื้องต้น โรงงานของ GM มีการจ้างแรงงานชาวไทยไปแล้วประมาณ 600 คน และ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,100 คน หากสามารถเดินเครื่องได้เต็มกำลังการผลิต

ขณะที่โรงงานของ BMW ปัจจุบันมีการจ้างแรงงานชาวไทยจำนวน 200 คน และมีแผนจะเพิ่มตำแหน่งงานขึ้นเป็น 500-600 คน ในปี 2547

ส่วนอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของคนไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาจไม่ได้รับผลประโยชน์ โดยตรงจากโรงงาน 2 แห่งนี้มากนัก เพราะโรงงานทั้ง 2 แห่ง มีการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศเข้ามาประกอบ เป็นส่วนใหญ่ โดยโรงงานของ GM นั้น สัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนนำเข้ากับ ที่ผลิตภายในประเทศยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ของ BMW ใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเพียง 20% ของมูลค่ารถยนต์เท่านั้น ซึ่งชิ้นส่วนดังกล่าว ประกอบด้วย ยาง เบาะนั่ง และ ชิ้นส่วนอื่นๆ อีกเล็กน้อย

สิ่งที่ต้องติดตามต่อไป คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพราะหากไม่มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโรงงานทั้ง 2 แห่งให้กับคนไทย ก็นับได้ว่าผลประโยชน์ ที่จะได้รับจากการลงทุนของค่ายรถยนต์ทั้ง 2 แห่งนี้ สำหรับประเทศ ไทยแล้วมีไม่มากเท่าใดนัก

สไตล์ ที่แตกต่างระหว่างอเมริกัน - ยุโรป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us