Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2551
ผลิตภัณฑ์จากยุคตื่นทอง             
โดย มานิตา เข็มทอง
 


   
search resources

Garment, Textile and Fashion
Levi Strauss & Co.




ในช่วงยุคตื่นทองมีพ่อค้านักธุรกิจจากทั่วโลกที่เล็งเห็นช่องทางการทำมาค้าขายในดินแดนแห่งนี้ จนทำให้ซานฟรานซิสโกกลายเป็นบ้านเกิดของธุรกิจหลากหลายประเภท โดยที่บางกิจการยังคงดำเนินต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ดังเช่นธุรกิจของ Levi Strauss พ่อค้าชาว บาวาเรียน ผู้กำเนิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1829 และมีชื่อเดิมว่า "Loeb Strauss" เขาสูญเสียบิดา (Hirsch Strauss) เมื่ออายุเพียง 16 ปี หลังจากนั้นเขาเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลพร้อมมารดา (Rebecca) และพี่สาว (Fanny) เพื่อมาสมทบกับพี่ชายอีกสองคน (Jonas และ Louis) ที่บุกเบิกมาตั้งรกรากประกอบธุรกิจขายส่งในนิวยอร์กก่อนหน้านี้โดยใช้ชื่อกิจการว่า "J.Strauss Brother & Co." ต่อมาหนุ่มน้อย "Loeb" มีอายุครบ 21 ปีได้เปลี่ยนชื่อเป็น "Levi" สะสมเรียนรู้การค้าขายมาหลายปี และอยากมีกิจการเป็นของตัวเอง เขาจึงแยกตัวออกมาจากครอบครัว เดินทางออกสู่ทำเลของตนเอง แต่ยังใช้ธุรกิจของครอบครัวในนิวยอร์กเป็นฐานสำคัญ ในปี 1853 Levi ได้เป็นพลเมืองของอเมริกาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และในปีเดียวกันนั้น เขาได้เดินทางจากตะวันออกสู่ตะวันตก ดินแดนที่ครั้งหนึ่งเต็มไปด้วยทองคำล้ำค่าจำนวนมหาศาล แต่ในปีที่เขาเดินทางไปถึงเป็นช่วงที่การขุดทองเริ่มยากมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายได้ถูกจับจองขุดเอาทองออกไปหมดแล้ว เหลือแต่พื้นที่เข้าไปถึงได้อย่างยากลำบาก ประกอบกับการออกกฎหมายที่เคร่งครัดในการขุดทอง ทำให้นักแสวงโชครุ่นหลังต้องหันไปประกอบการอย่างอื่นแทน Levi Strauss ไม่ได้มุ่งมั่นเข้ามาขุดทองเหมือนคนอื่นๆ เขาต้องการขยายธุรกิจขายส่งของครอบครัว เขาเริ่มขายทุกอย่างที่เป็นของแห้งตั้งแต่ อาหารแห้ง เสื้อผ้า ร่ม และผ้าเป็นม้วนๆ เป็นต้น นอกจากนั้นเขามีความคิดที่จะขายเต็นท์และผ้าใบคลุมรถให้แก่บรรดา "Forty-niners" แต่ในไม่ช้าเขาพบว่า คนงานเหมืองเหล่านั้นต้องการกางเกงใช้งานที่ทนทานต่องานในเหมืองมากกว่าสินค้าอื่นๆ เขาจึงสั่งวัตถุดิบที่ใช้ในการตัดกางเกง โดยเฉพาะผ้าใบเข้ามาขายให้แก่ร้านตัดเสื้อผ้าในซานฟรานซิสโกเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นตัวแทนของบริษัทในนิวยอร์กจำหน่ายสินค้าส่งอื่นๆ ให้กับพื้นที่ในแคลิฟอร์เนียและตะวันตกของอเมริกา ภายใต้ชื่อบริษัทว่า "Levi Strauss"

ต่อมาเขามีหุ้นส่วนใหม่คือ David Stern ซึ่งเป็นพี่เขยของเขาเอง ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "Levi Strauss & Co."เพื่อความเหมาะสมเมื่อปี 1863 และในปี 1866 Levi ได้ย้ายที่ทำการของบริษัทมาอยู่ที่ 14-16 ถนน Battery ในซานฟรานซิสโก ซึ่งกลายเป็นที่ตั้งของบริษัท Levi Strauss & Co. ยาวนานถึง 40 ปีต่อมา ชื่อเสียงของ Levi เป็นที่โด่งดัง เขากลายเป็นบุคคลสำคัญของซานฟรานซิสโกด้วยวัยเพียง 30 กว่าๆ เท่านั้น นอกจากธุรกิจ แล้วเขายังทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคม บริจาค เงินช่วยเหลือเด็กกำพร้า ช่วยสร้างโบสถ์ "Emanu-El" ซึ่งเป็นโบสถ์ยิวแห่งแรกของเมือง Levi เป็นเจ้าของกิจการที่ติดดิน เขาพอใจให้พนักงานเรียกเขาอย่างเป็นกันเองว่า "Levi" แทน "Mr.Strauss"

ปี 1872 เป็นปีสำคัญของ Levi เขาได้รับจดหมายจาก Jacob Davis ช่างตัดเสื้อที่อยู่ที่เมืองรีโน (Revo) รัฐเนวาดา (Nevada) ซึ่งเป็นลูกค้าคนหนึ่งที่สั่งซื้อผ้าจาก Levi Strauss & Co. เป็นประจำ Jacob ได้เขียนมาเล่าถึงวิธีการตัดกางเกงให้แก่คนงานเหมืองซึ่งเป็นลูกค้าของเขา ว่าเขาตอกกระดุมโลหะเล็กๆ (Riveting) ที่มุมกระเป๋า และที่โคนเป้ากางเกง เพื่อความคงทนในการใช้งานของกางเกง ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคใหม่ในยุคนั้น และเนื่องจาก Jacob ไม่มีเงินมาก พอที่จะขอจดสิทธิบัตรในเทคนิคนี้ เขาจึงขอให้ Levi ช่วยออกค่าใช้จ่ายในการขอเอกสาร และ Levi กับ Jacob จะถือสิทธิบัตรร่วมกัน เมื่อทราบเช่นนั้น Levi ไม่รอช้า รีบช่วยดำเนิน การให้ Jacob และในที่สุดทั้ง Levi และ Jacob ได้ถือสิทธิบัตรร่วมกันเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1873 อันเป็นจุดกำเนิดของ "บลูยีนส์" (Blue Jean)

Levi มองการณ์ทะลุไปไกลว่า การผลิตกางเกงยีนส์ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า "waist overalls" ด้วยเทคนิคใหม่นี้จะต้องเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างล้นหลามแน่นอน เขาจึงซื้อตัว Jacob เข้ามาร่วมงานกับเขาในซานฟรานซิสโก โดยให้ดูแลศูนย์การตัดเย็บกางเกงยีนส์ (waist overalls) แห่งแรกในตะวันตกของอเมริกา โดยได้ผ้าฝ้าย Denim มาจากโรงทอผ้า Amoskeag ใน New Hampshire ซึ่งในช่วงเริ่มต้นช่างส่วนใหญ่ตัดเย็บจากที่บ้านของตนเองด้วย ต่อมา Levi ได้ขอเช่าโรงงานบนถนน Market เพื่อขยายการผลิต และกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501? ซึ่งตอนนั้นเรียกง่ายๆ ว่า "XX" ตามประเภทของ ผ้าที่ใช้ในการตัดเย็บคือ "XX Blue Denim" ได้กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก ต่อมาในปี 1875 บริษัท Levi Strauss & Co. เข้าซื้อกิจการของ โรงทอผ้า Mission & pacific Woolen Mills จาก William Ralston และใช้ผ้าที่ทอจากโรงงานนี้ผลิตกางเกงและเสื้อโค้ท "blanket-lined"

นอกจากงานบริหารกิจการของตนเอง แล้ว Levi ยังรับหน้าที่ตำแหน่งสำคัญให้แก่องค์กรอื่นๆ ด้วย โดยในปี 1877 ทำหน้าที่เป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและเหรัญญิกให้แก่สภาหอการค้าแห่งซานฟรานซิสโก เป็นผู้อำนวยการธนาคาร บริษัทประกันภัย และบริษัทแก๊สและไฟฟ้าในซานฟรานซิสโก นอกจากนั้นในปี 1890 Levi เริ่มให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาของ University of California, Berkeley เป็นจำนวน 28 ทุน โดยทุนนี้ยังคงมีสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน Levi เสียชีวิตในปี 1901 ด้วยวัย 73 ปี เขามอบกิจการ Levi Strauss & Co. ให้บรรดาหลานชายผู้เป็นทายาทของพี่สาวของเขากับ David Stern เป็นผู้ดูแลต่อไป หลังจาก Levi เสียชีวิตเพียงไม่กี่ปี เกิดเหตุธรณีพิโรธครั้งรุนแรงที่สุดของซานฟรานซิสโกขึ้นในปี 1906 เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำลายทั้งชีวิต และอาคารบ้านเรือนสูญเสียเป็นจำนวนมาก รวมไปถึงสำนักงานใหญ่และโรงงานของ Levi Strauss & Co. ทั้งหมด แต่ความหายนะในครั้งนั้นหาได้เป็นจุดจบของบริษัทไม่ พี่น้อง Stern หลานชายของ Levi ได้รวบรวมกำลังสร้างทั้งสำนักงานใหญ่และโรงงานขึ้นมาใหม่ โดยยังคงจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง และช่วยเหลือเพื่อนธุรกิจอื่นที่ร่วมชะตากรรมเดียวกันให้พอตั้งหลักเองได้ ซึ่งพวกเขาคิดว่า พวกเขาได้ทำในสิ่งที่ลุงของพวกเขาจะทำเช่นกัน ณ วันนี้ "Levi's" ถือเป็นแบรนด์กางเกงยีนส์ชื่อดังที่เก่าแก่ที่สุดของอเมริกา ที่มีประวัติศาสตร์เคียงคู่ซานฟรานซิสโกมายาวนาน และกางเกงยีนส์ลีวายส์ 501? เองก็มีอายุเก่าแก่นานถึง 135 ปีแล้ว...ลองสังเกตที่ด้านในกระดุมของกางเกงยีนส์ลีวายส์ของแท้ทุกตัวจะต้องมีสัญลักษณ์ "S.F." ซึ่งเป็นอักษรย่อจาก "San Francisco" นั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us