Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2551
หนึ่งประเทศสองเพลงชาติในนิวซีแลนด์             
โดย ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
 





สำหรับชาวไทยทุกท่านคงไม่มีใครที่ไม่รู้จักหรือร้องเพลงชาติไทยไม่ได้ แต่ถ้าใครได้ไปต่างประเทศโดยเฉพาะออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา แคนาดา หรือแม้แต่อังกฤษ ปัจจุบันจะพบว่าเพลงชาติจะถูกใช้ในพิธีการสำคัญจริงๆ เท่านั้น เช่น การรับแขกบ้านแขกเมือง พิธีจบการศึกษา และการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศ แต่ถึงกระนั้นก็ตามถ้าท่านผู้ชมได้ชมตามจอโทรทัศน์จะเห็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือนักกีฬาฝรั่งร้องเพลงชาติของตนเองไม่เป็น ที่เป็นข่าวไม่นานมานี้ก็คือนักกีฬาฟุตบอลชื่อดังระดับโลกชาวอังกฤษคนหนึ่งออกมายอมรับว่าการที่เขาไม่ร้องเพลงชาติตอนที่ลงเล่นในนามทีมชาติเพราะเขาร้องไม่เป็น เนื้อร้องก็ยังไม่รู้ ตรงนี้อาจจะฟังดูน่าขำ แต่นี่คือสภาพความเป็นจริงในต่างประเทศ ท่านผู้อ่านลองสังเกตดูได้ว่าเวลาที่มีการแข่งกีฬา เวลาที่กล้องถ่ายนักกีฬาตอนร้องเพลงชาติจะมีนักกีฬาจำนวนไม่น้อยที่ทำหน้าขึงขังแต่ไม่ขยับปาก เพราะร้องไม่ออก

ยิ่งถ้าให้ผมถามวัยรุ่นชาวนิวซีแลนด์และคนไทยที่มาศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ว่า เมืองกีวีมีเพลงชาติกี่เพลงผมเชื่อว่าคงหาคนตอบถูกได้ยากพอสมควร เพราะว่านิวซีแลนด์มีเพลงชาติที่เป็นทางการ 2 เพลงและ 3 เนื้อร้อง ฟังดูน่าปวดหัวไหมครับ หลายคนคงเริ่มสงสัยแล้วว่าเวลาร้องเพลงชาติจะไปออกกันในทิศทางไหน เพลงชาติของนิวซีแลนด์สองทำนองคือ God Defend New Zealand กับ God Save the Queen และมีเนื้อร้องที่สามคือ Aotearoa หลายท่าน อาจสงสัยว่า God Save the Queen ซึ่งเป็น เพลงชาติของอังกฤษมาเกี่ยวอะไรด้วยผมจึงขออธิบายง่ายๆ ว่าประเทศที่ยังยอมรับควีนของอังกฤษเป็นพระประมุขของชาติ จะถือเอาเพลงของอังกฤษเป็นเพลงชาติ แต่เนื้อร้อง อาจจะต่างกันไปในบางประเทศ เช่นประเทศ แคนาดาและนิวซีแลนด์เองก็มีท่อนที่สามที่แตกต่างจากของอังกฤษ

ในนิวซีแลนด์เองแม้ว่าเพลง God Defend New Zealand จะเป็นเพลงที่ชาวนิวซีแลนด์ร้องเหมือนเพลงชาติมาตั้งแต่ปี 1876 แต่ที่จริงมีสถานะเป็นเพลงชาติที่สอง ตามหลังเพลงชาติอังกฤษ ประวัติของเพลงนี้เริ่มมาจากคำกลอนของโทมัส แบรคเกน นักหนังสือพิมพ์ชาวไอริชที่นิยมเขียนบทกลอน เกี่ยวกับสังคมของนิวซีแลนด์ในยุคนั้น แบรคเกนมีบทความที่มีชื่อเสียงมากคือการยกย่องประเทศนิวซีแลนด์ว่าเป็น God's Own Country ซึ่งเป็นบทความที่เขียนยกย่องนิวซีแลนด์เป็นสรวงสวรรค์ ด้วยธรรมชาติที่งดงามและมีเสรีภาพกับความเสมอภาค

ความคิดของแบรคเกนไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะว่าสังคมยุโรปในศตวรรษที่ 19 นั้น ยังคงเต็มไปด้วยศักดินา มีท่านเคาท์ ท่านเซอร์ นั่งรถม้าไปทั่วท้องถนนและยังเป็นเจ้าของที่ดินส่วนมากในประเทศ สังคมเมืองก็เป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ในยุคนั้นกรุงลอนดอนจะมีคนยากจนและตกงานไปทั่ว ตกดึกก็มีอาชญากรรม เมืองก็เต็มไปด้วยควัน จากการเผาถ่านหิน นอกจากนี้ยังมีการดูถูกทางเชื้อชาติ เช่น ชาวไอริชมักจะโดนดูถูกว่า เป็นฝรั่งบ้านนอก แต่ชาวฝรั่งต่างมีความฝันที่อยากจะมีที่ดินทำกินเป็นของตนเองและอยู่ในสังคมที่มีความเสมอภาคทางชนชั้นและเผ่าพันธุ์ มีธรรมชาติที่สะอาด มีงานทำ มีความปลอดภัยจากอาชญากรรม ชาวสกอต ติช ไอริช เวลส์ หรืออังกฤษเองจำนวนไม่น้อยตกลงใจขึ้นเรือมาแสวงโชคในแผ่นดินใหม่กัน และเมื่อพวกเขาเดินทางมาถึงนิวซีแลนด์ ซึ่งมีสิ่งที่เหมือนอังกฤษในหลายๆ อย่างทั้งภูมิอากาศ ภูมิประเทศ บ้านเมืองที่สะอาดและสงบ สังคมที่เต็มไปด้วยความเสมอภาคและภูมิประเทศที่สวยงาม แบรคเกน จึงเขียนกลอนให้กับแผ่นดินใหม่นี้ว่าแผ่นดินของพระเจ้า บทกลอนดังกล่าวแพร่หลายขนาดที่นักการเมืองในยุคนั้นรวมถึงนายกรัฐมนตรีในสมัยต่อมาชื่อ ริชาร์ด เซดดอน ก็เอาคำว่า แผ่นดินของพระเจ้ามาหาเสียงในช่วงที่คำกลอนของแบรคเกนได้รับความนิยมมากเขาจึงแต่งกลอน 5 บทชุดใหม่ ชื่อ God Defend New Zealand ออกมาซึ่งแปลย่อๆ ได้ว่า "พระเจ้าได้ประทานแผ่นดินที่ไร้ซึ่งความอิจฉาริษยา คอร์รัปชั่น ความ อัปยศและความแตกแยก ให้กับประชาชนทุกเผ่าพันธุ์ได้อยู่อย่างเสมอภาค ยุติธรรม ตั้งอยู่ในความถูกต้อง, รักสันติภาพและกล้าหาญ ดังนั้นพระเจ้าจึงปกป้องนิวซีแลนด์" บทกลอนนี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทำให้หนังสือพิมพ์ประกาศให้รางวัลกับคนที่แต่งทำนองเพลงให้เข้ากับบทกลอนเป็นทองคำ 10 กิเนียร์ ซึ่งคิดเป็นทองคำหนักถึง 5 บาททีเดียว ซึ่งคนที่ชนะรางวัลคือครูสอนดนตรีชื่อ จอห์น วู้ด จากนั้นวงดุริยางค์ทหาร บกได้นำเพลงดังกล่าวมาแสดงที่โรงอุปรากรในเมืองดันเนดินเป็นครั้งแรกในวันคริสต์มาสในปี 1876 โดยให้นักร้องโอเปร่าของนิวซีแลนด์ ในยุคนั้นเป็นคนร้อง และได้รับความชื่นชอบกันอย่างแพร่หลาย

อย่างไรก็ตาม เพลงดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด เป็นเพียงเพลงนิวซีแลนด์ยอดนิยมเท่านั้น จนกระทั่งถึงปี 1940 จอห์น แมคเดอมอต อธิบดีกรมการไปรษณีย์ในยุคนั้นได้ใช้งบของกรมซื้อลิขสิทธิ์เพลงและนำมาเล่นในงานฉลองครบรอบ 100 ปีนิวซีแลนด์แทนเพลงชาติที่มาจากอังกฤษ ส่งผลให้รัฐบาลต้องประกาศว่าเพลง God Defend New Zealand เป็นเพลงปลุกใจประจำชาติ แต่ไม่ได้มีสถานะเป็นเพลงชาติตามกฎหมาย แม้ว่าในการแข่งขันกีฬาเครือจักรภพหรือโอลิมปิกนักกีฬาจะร้องแต่เพลง God Defend New Zealand แทนเพลงชาติจริงก็ตาม

ในปี 1973 นายกรัฐมนตรีนอร์แมน เคิร์กได้พยายามเปลี่ยนเพลงชาติเป็น God Defend New Zealand อย่างไรก็ตาม เคิร์ก เสียชีวิตในตำแหน่งก่อนที่จะผลักดันนโยบาย ดังกล่าวได้สำเร็จ เมื่อทางรัฐบาลไม่ทำประชาชนก็ลงมือเอง โดยในปี 1976 เพื่อเป็น การครบรอบ 100 ปีของเพลง God Defend New Zealand ประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนเพลงชาติได้ออกล่ารายชื่อผู้ร่วมอุดมการณ์และนำเสนอต่อรัฐสภาทำให้รัฐบาลนิวซีแลนด์ ได้นำไปเสนอต่อผู้สำเร็จราชการเพื่อทูลเกล้าฯ ต่อควีน ซึ่งพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเพลงชาติเพลงที่สอง ในช่วงแรกทางการได้มีมติให้เล่นเพลงชาติทั้งสองเพลงควบคู่กัน จนกระทั่งกระทรวงวัฒนธรรมออกมาชี้แจงถึงการใช้เพลงชาติทั้งสอง กล่าวคือในวันชาติ วันแอนแซค วันเปิดประชุมสภา ในพิธีการรับรองอาคันตุกะจากต่างประเทศ หรือในพิธีการมอบสัญชาตินิวซีแลนด์ถึงจะเล่นเพลงชาติทั้งสองเพลง ขณะที่ในพิธีที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือพระราชวงศ์อังกฤษ เสด็จเป็นประธานให้เล่นเพลง God Save the Queen ขณะที่พิธีอื่นๆ ที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีไปเป็นประธานให้เล่นเพลง God Defend New Zealand นอก จากนี้ยังมีกฎที่น่าปวดหัวคือ หากควีนอังกฤษ ทรงเสด็จเยือนนิวซีแลนด์ในโอกาสที่พระองค์ ทรงเป็นประธานในฐานะควีนของเครือจักรภพ หรือของอังกฤษให้เล่นเพลงชาติที่หนึ่ง แต่ถ้าพระองค์ทรงเป็นประธานในฐานะพระราชินีของนิวซีแลนด์ให้เล่นเพลงชาติเพลงที่สองแทน หลังจากที่ประชาชนต้องปวดหัวกับประกาศของกระทรวงวัฒนธรรมแล้ว ชาวเมารีก็กลัวที่จะตกรถไฟเที่ยวพิเศษจึงขอเสนอ เวอร์ชั่นเมารีเข้าไปด้วยในปี 1979 โดยเอากลอน God Defend New Zealand ซึ่งแปลเป็นภาษาเมารี ในปี 1878 นำมาปัดฝุ่นใหม่โดยปรับเนื้อเพลงให้เข้ากับทำนองและใช้ชื่อเพลงว่า Aotearoa และยื่นเสนอต่อกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อขอสิทธิที่ชาวเมารีพึงจะได้รับทำให้กลายเป็นเพลงชาติเพลงที่สามที่นำมาบรรเลงในพิธีการที่เกี่ยวกับชาวเมารีอีกต่างหาก

แค่ฟังประวัติเพลงชาติของนิวซีแลนด์ ผมก็เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะปวดหัวไม่น้อยและยิ่งชาวนิวซีแลนด์เองก็คงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมถึงมีหลายคนที่ร้องเพลงชาติไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะร้องเพลงไหน แต่ที่ร้ายที่สุดคือความจริงแล้วแม้แต่เพลงชาติยอดนิยมอย่าง God Defend New Zealand เองก็มีถึง 5 ท่อน แต่เพื่อความกะทัดรัด รัฐบาลจึงมีมติให้ร้องเพียงท่อนแรกในพิธีการต่างๆ แต่ถ้าให้ประชาชนร้องหมด 5 ท่อนผมเชื่อว่าคงไม่มีใครร้องเพลงชาตินิวซีแลนด์ได้ พอมองดูประเทศต่างๆ ทั้งนิวซีแลนด์ อังกฤษ อเมริกา แคนาดา หรือออสเตรเลีย ผมก็อดที่จะภูมิใจไม่ได้กับคนไทยซึ่งไปร่วมงานที่ไหน ไปแข่งกีฬาที่ไหน เพลงชาติไทยร้องกันเป็นหมดทั้งคนดู นักกีฬาและสตาฟโค้ช และผมเองก็เชื่อว่าที่กรุงปักกิ่งในปีนี้ อเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ จะกวาดไปกี่เหรียญทอง ก็ไม่สำคัญเพราะเวลาที่เชิญธงสู่ยอดเสา ผมจะดูว่าชาติที่ได้เป็นสิบเป็นร้อยเหรียญทองจะหาคนที่ร้องเพลง The Star Spangled Banner, Advance Australia Fair หรือ God Save the Queen ได้สักกี่คน แต่ผมเชื่อว่าทุกเหรียญทองที่ไทยได้มาจะมีเสียงคนร้องเพลงชาติไทยกระหึ่มไปทั่วสนามกีฬาอย่างแน่นอน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us