Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2551
Kibo part 1 : 1J/A (STS-123) Assembly Mission             
โดย ภก.ดร. ชุมพล ธีรลดานนท์
 





สูงขึ้นไปในอวกาศ Kibo หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Japanese Experiment Module (JEM) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ International Space Station (ISS)1 ซึ่งลอยอยู่เหนือพื้นโลก 400 กิโลเมตรนั้น กำลังเป็น "ความหวัง" ที่จะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในอนาคตอันใกล้

สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยกางแผง Solar Panel ทั้ง 4 แผงออกแล้วหันปรับทิศรับแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงในขณะที่โคจรในระดับใกล้ผิวโลก 15.77 รอบต่อวัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายวัตถุทรงสี่เหลี่ยมส่องสว่างโคจรอยู่บนฟากฟ้าและสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลก2

บนสถานีอวกาศนานาชาติประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า Pressurized Module รวมกัน 14 Module ซึ่งสร้างโดยหน่วยงานด้านอวกาศชั้นนำของโลก 5 หน่วยงานอันได้แก่ National Aeronautics and Space Administration (NASA สหรัฐอเมริกา), Russian Federal Space Agency (RKA รัสเซีย), Canadian Space Agency (CSA แคนาดา), European Space Agency (ESA สหภาพยุโรป) และ Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA ญี่ปุ่น) วัตถุประสงค์สำคัญของสถานีอวกาศนานาชาติซึ่งใช้งบประมาณการสร้างด้วยมูลค่าสูงสุดเท่าที่ประวัติศาสตร์เคยบันทึกไว้ย่อมสะท้อนถึงความคาดหวังอรรถประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติในอนาคตที่ประยุกต์ใช้ได้จากผลการทดลองใดๆ ก็ตามที่ไม่สามารถกระทำได้ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก อีกทั้งประโยชน์ในระยะยาวซึ่งจะนำพาไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีต่อยอดในการสำรวจอวกาศรวมถึงการตั้งถิ่นฐานและการดำรงชีพของมนุษย์ในอวกาศ ตั้งแต่ Zarya ซึ่งเป็น Module แรกของสถานีอวกาศนานาชาติที่พัฒนาขึ้นโดย RKA ของรัสเซีย เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานไฟฟ้าและระบบนำทางในระยะต้นของโครงการถูกลำเลียงขึ้นไปเมื่อปี 1998 จนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2008 นับรวม Shuttle Mission ได้ 24 เที่ยวบิน ซึ่งนำชิ้นส่วนต่างๆ ขึ้นไปประกอบสำเร็จและอยู่ในวงโคจรแล้ว 9 Module

กำหนดการถัดไปใน Shuttle Mission ที่ 25 เป็นวาระการขนส่งส่วนประกอบแรกของ Kibo (ตามรากศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่า "ความหวัง") เมื่อสร้างเสร็จจะเป็น Single Module ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสถานีอวกาศนานาชาติและมีศักยภาพรองรับงานวิจัยขั้นสูงสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในสหสาขา เช่น สาขาฟิสิกส์ว่าด้วยเรื่องของควอนตัมฟิสิกส์ กลศาสตร์ของเหลวในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง สาขาดาราศาสตร์ว่าด้วยรังสีคอสมิคและการพัฒนาพลังงานจากอวกาศ สาขาอุตุนิยมวิทยาเพื่อการเฝ้าติดตามภาวะเรือนกระจกของโลก สาขาชีววิทยาว่าด้วยการวิจัยทางการแพทย์และเทคโนโลยีชีววิทยา

สอดคล้องไปกับส่วนประกอบหลักของ Kibo และแผนงานร่วมกันระหว่าง NASA กับ JAXA ซึ่งได้แบ่งเที่ยวบินที่จะทยอยลำเลียงชิ้นส่วนของห้องทดลองลอยฟ้าออกเป็น 3 Mission กล่าวคือ

ส่วนที่ 1 Experiment Logistics Module (ELM) โดย 1J/A (STS-123) Assembly Mission ในเดือนมีนาคม 2008

ส่วนที่ 2 Pressurized Module (PM) และ Remote Manipulator System (RMS) โดย 1J (STS-124) Assembly Mission ในเดือนมิถุนายน 2008

และส่วนที่ 3 Exposed Facility (EF) โดย 2J/A (STS-127) Assembly Mission ในเดือนเมษายน 2009

STS-123 Mission ในครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การ NASA ของสหรัฐอเมริกา, JAXA ของญี่ปุ่นและ CSA ของแคนาดา ซึ่งออกเดินทางจากฐาน Kennedy Space Center (KSC) เมื่อ 11 มีนาคม 2008 (เวลาในประเทศญี่ปุ่น) โดยใช้เวลาปฏิบัติการทั้งสิ้น 15 วัน 18 ชั่วโมง นับเป็น Mission ที่โคจรอยู่ในอวกาศยาวนานที่สุดในโครงการและเป็นครั้งแรกที่ใช้ Station-to-Shuttle Power Transfer System โดยถ่ายพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ผลิตโดยแผง Solar Panel ของ Station เข้าสู่กระสวยอวกาศ Endeavour เพื่อใช้เป็นพลังงานเดินทางกลับสู่พื้นโลก

ภายใต้ชื่อ STS-123 Mission นี้ยังมีอักษรย่อ 1J/A กำกับอยู่ที่แสดงถึง Assembly Mission ที่หนึ่ง (1) เพื่อประกอบชิ้นส่วนของ Elemental Module ในส่วนความรับผิดชอบของญี่ปุ่น (J) และอเมริกา (A) นอกจากนี้ยังมีอีกชิ้นส่วนที่โดยสารไปกับเที่ยวบิน STS-123 คือ Dextre หรือ Special Purpose Dexterous Manipulator (SPDM) แขนหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นโดย CSA ของแคนาดา ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า Canadarm 1 และ Canadarm 2 เพื่อใช้งานภายนอกสถานีอวกาศนานาชาติแทน Spacewalk บางอย่างได้เช่น การเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม เป็นต้น

ส่วนประกอบแรกของ Kibo
ที่เรียกว่า Experiment Logistics Module (ELM) ออกแบบและสร้างขึ้นที่ Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่นแล้วส่งไปยัง Kennedy Space Center (KSC) สหรัฐอเมริกาในวันที่ 12 มีนาคม 2007 เพื่อตรวจสอบและฝึกฝนการติดตั้งเป็นเวลาหนึ่งปีก่อนการเดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติ

การติดตั้ง ELM ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

(1) Experiment Logistics Module Pressurized Section (ELM PS) มีขนาดความยาว 3.9 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.4 เมตร หนัก 4,200 กิโลกรัม เป็นส่วนสำหรับเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือที่จะใช้สำหรับการทดลองในงานวิจัยต่างๆ ซึ่งใน 1J/A Mission นี้จะต่อ ELM เข้ากับ Harmony Module ของสหรัฐอเมริกา และรอจนกว่า Kibo part 2 จะมาถึงจากนั้นจึงจะย้ายไปในตำแหน่งที่ถูกต้องซึ่งจะกลายเป็นส่วนบนของ Pressurized Module (PM)

(2) Experiment Logistics Module Exposed Section (ELM ES) ทำหน้าที่เป็น Storage Transportation Module ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบเข้ากับ Kibo part 3 และหลังจาก Kibo ได้ติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติเสร็จสมบูรณ์แล้วจะถอด ELM ES ออกและส่งกลับมายังพื้นโลกในขั้นตอนการติดตั้ง ELM ซึ่งเป็นส่วนประกอบแรกของ Kibo นั้นชื่อของนักบินอวกาศ Takao Doi ได้รับการกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งในสื่อของประเทศญี่ปุ่นและสื่อต่างชาติ Dr.Takao Doi สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี โท และเอกสาขา Aerospace Engineering จาก The University of Tokyo และปริญญาเอก สาขา Astronomy จาก Rice University, Houston เคยเดินทางไปกับ STS-87 ในปี 1997 และครั้งนี้เป็นการเดินทางไปอวกาศครั้งที่ 2 ในฐานะ Mission Specialist รับผิดชอบการติดตั้ง ELM

1J/A (STS-123) Assembly Mission ได้เสร็จสิ้นภารกิจหลังจากที่กระสวยอวกาศ Endeavour พร้อมลูกเรือทั้ง 7 คนเดินทางกลับสู่ฐาน Kennedy Space Center (KSC) อย่างปลอดภัยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2008 (เวลาในประเทศญี่ปุ่น) พร้อมความสำเร็จในการติดตั้งส่วนประกอบแรกของ Kibo

ฉบับถัดไปติดตาม Kibo part 2 โดย 1J (STS-124) Assembly Mission ที่จะออกเดินทางในวันที่ 1 มิถุนายน 2008


หมายเหตุ
1. อ่านเพิ่มเติม : นิตยสารผู้จัดการคอลัมน์ Japan Walker ฉบับพฤศจิกายน 2548
2. ค้นหาช่วงเวลาที่สามารถเห็นสถานีอวกาศได้ด้วยตาเปล่า โดยเลือก "Thailand" แล้วคลิก Go To Country ได้ที่ http://spaceflight.nasa.gov/realdata/sightings/index.html   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us