|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2551
|
|
ภาพชนแก้วไวน์ ณ อาคารสำนักงานใหญ่ บนถนนพหลโยธิน ของผู้บริหารธนาคารทหารไทย และผู้บริหารของธนาคารไอเอ็นจีจากเนเธอร์แลนด์ ในวันแถลงข่าวเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความชื่นมื่น หลังจากที่ไอเอ็นจีเข้ามาถือหุ้นทหารไทยจำนวน 26.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2550 จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง และมีกระทรวงการคลังครองหุ้นเป็นอันดับสอง 22.56 เปอร์เซ็นต์
ในงานวันนั้นเป็นการบอกกล่าวต่อสื่อมวลชน และพนักงานบางส่วนที่ประจำอยู่อาคารสำนักงานใหญ่อย่างเป็นทางการเพื่อให้รับรู้ถึงทิศทางธุรกิจการเงิน "นับจากนี้ไป ธนาคารทหารไทยจะไม่เหมือนเดิม จะเป็นธนาคารยุคใหม่ที่แข็งแกร่ง เต็มไปด้วยพลัง และมีไอเอ็นจีเข้ามาเป็น เพื่อนคู่คิด" เป็นคำกล่าวของสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการธนาคารทหารไทย ที่พูดออกมาอย่างมั่นอกมั่นใจ ไอเอ็นจีมองว่า ธนาคารทหารไทยมีบุคลิกค่อนข้าง Conservative ซึ่งไอเอ็นจีมองว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะต้องการให้ธนาคารแห่งนี้คงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยต่อไป ในขณะที่ไอเอ็นจีไม่ได้บริหารงานแบบเชิงรุกมากจนเกินไป แม้ว่าจะเป็นบริษัทที่อยู่ในยุโรปก็ตาม เพราะการตั้งเป้าหมายความสำเร็จของธนาคารทหารไทยนับจากนี้ไปจะมีไอเอ็นจีเป็นผู้ที่อยู่ทั้งเบื้องหลัง และเบื้องหน้า เหมือนกับคำว่า TMB Powering Ahead with ING ที่มีเป้าหมายพัฒนาภาพลักษณ์ธนาคาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากล ส่วน TMB Powering Ahead with ING จะกลายเป็นประโยคที่พบเห็นบ่อยมากขึ้น ตามสาขาของธนาคาร 400 สาขาทั่วประเทศ รวมไปถึงอยู่บนเอกสารแนะนำผลิตภัณฑ์ในเครือที่ตั้งอยู่บนเคาน์เตอร์ภายในสาขาของธนาคาร เพื่อตอกย้ำให้เห็นความเป็นพันธมิตรของทั้งสองธนาคาร ส่วนภาพการเปลี่ยนแปลงในด้านการบริหารงาน ไอเอ็นจีได้ส่งผู้บริหาร 2 คนเข้ามาดำรงตำแหน่งบริหารที่ธนาคารจำนวน 2 คน คือ แรมกี้ สุบราเนียน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ และบาร์ต เฮลเลมานส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความเสี่ยง ซึ่งไม่นับรวมเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการที่เข้ามาเพิ่มอีก 3-4 ราย และจะทยอยเข้ามาทำงานเพิ่มอีกประมาณ 20 คน
ผู้บริหารสูงสุดที่เข้าร่วมทำงานตั้งแต่ปลายปีที่แล้วของไอเอ็นจี คือ ฟิลลิป ดามัส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไอเอ็นจีรีเทลแบงก์เอเชีย และนั่งเป็นกรรมการอยู่ในธนาคารทหารไทย ดามัสร่วมทำงานกับไอเอ็นจีมา 9 ปี ก่อนหน้านี้เขาทำงานร่วมกับเจพีมอร์แกนมาร่วม 20 ปี และตัดสินใจเข้ามาทำงานให้กับไอเอ็นจีในเมืองไทย มองว่าเป็นความท้าทาย ส่วนตัวเขาเองก็คุ้นเคย กับเมืองไทยมานานเพราะซื้อบ้านไว้ที่จังหวัดภูเก็ต ถึงกับเอ่ยปากว่า ตัวเขาเองรักเมืองไทย
เขามาทำงานในเมืองไทย ไม่มีระยะเวลากำหนดว่าจะต้องทำกี่ปี แต่เป้าหมายของเขาเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของแบงก์ทหารไทยมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ธนาคารกลับมามีผลกำไรอีกครั้ง 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารทหารไทยมีผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกัน ในปี 2550 ขาดทุน 43,676.94 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2549 ขาดทุน 12,292.20 ล้านบาท ส่วนรายได้เองก็ลดลงเช่นเดียวกัน ในปี 2550 รายได้ 40,315.22 ล้านบาท ปี 2549 รายได้ 42,415.57 ล้านบาท
สิ่งที่ไอเอ็นจีให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ก็คือ เรื่องรายได้และ ผลกำไร มากกว่ามูลค่าสินทรัพย์ แต่ไอเอ็นจีก็ยังคาดหวังว่าจะติด ระดับต้นของธนาคารในเมืองไทย
ภาพของแบงก์ทหารไทยยังคงความเป็น universal banking ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย กองทุน ประกันชีวิต เงินฝาก ปล่อยสินเชื่อ โดยมุ่งเน้นลูกค้ารายย่อยไอเอ็นจีให้ความสำคัญลูกค้ารายย่อยค่อนข้างมาก ซึ่งสังเกต ได้จากผู้บริหารที่ถูกส่งเข้ามาทำงานในธนาคาร 2 คน คือ ดามัส กับ สุบรามาเนียน มีความชำนาญลูกค้ารายย่อยโดยตรง เพราะเขามองเห็นว่า เป็นเป้าหมายการแข่งขันในอนาคต จุดแข็งอีกอย่างหนึ่งของแบงก์คือ สาขากว่า 400 แห่งที่กระจายไปทั่วประเทศ จะเป็นช่องทางหนึ่งในการนำสินค้าของไอเอ็นจี มาทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ที่อยู่ภายใต้การดูแล ของบริษัทไอเอ็นจี ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีสาขาอยู่ในเมืองไทย หรือผลิตภัณฑ์กองทุนรวม ที่มีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ที่ดูแลอยู่ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในสาขาของธนาคาร บางผลิตภัณฑ์ก็จำหน่ายซ้ำซ้อนกัน เช่น ผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่ธนาคารก็มีผลิตอยู่แล้วที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทในเครือ คือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนทหารไทย จำกัด ซึ่งดูเหมือนว่าผู้บริหารจะไม่วิตกกังวลเรื่องนี้ เพราะกลับมองว่าทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือก
"เหมือนกับร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นที่จำหน่ายนมยี่ห้อโฟร์โมสต์ กับเมจิ ที่เป็นสินค้าคู่แข่งกัน แต่สามารถวางคู่กันได้" สุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารทหารไทย ให้ความเห็นกับสื่อมวลชน การเข้ามาของไอเอ็นจี ธนาคารทหารไทยเองมองว่าเป็นการติดเทอร์โบ เพื่อให้เห็นการทำงานที่รวดเร็ว แต่ช่วงจังหวะ ณ เวลานี้ ต้องบอกว่าเหมือนรถแข่งที่กำลังติดเครื่อง อยู่ระหว่างการออกตัว ที่กำลังเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ก่อนที่จะพุ่งตัวออกไปข้างหน้าอย่างแรง
ปรากฏการณ์ความร่วมมือกันระหว่างไอเอ็นจีและธนาคารทหารไทย เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น เพราะการจะนำพาพนักงานกว่า 5 พันคนของธนาคารไทยลงสนามแข่งขันในสมรภูมิทางด้านการเงิน คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากต้องการให้ทหารไทยคงความเป็นแบงก์ที่มีเอกลักษณ์ไทย และผู้บริหารต่างชาติคงต้องใช้เวลาหาคำตอบ เพราะมีนายธนาคารท่านหนึ่งเคยบอกว่า "วัฒนธรรมไทย เป็นวัฒนธรรมแบบลูกทุ่ง"
|
|
|
|
|