Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2551
ปลิว มังกรกนก The Professional             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

สุพล วัธนเวคิน The Owner
ธนชาต แบงก์ลูกครึ่งไทย-แคนาดา

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารทิสโก้

   
search resources

ปลิว มังกรกนก
Banking
ธนาคารทิสโก้




ปลิว มังกรกนก เป็นผู้บริหารที่ยังยืนหยัดร่วมทำงานกับทิสโก้มาจวบจนถึงทุกวันนี้ และเขายังเป็นความหวังที่จะนำพาให้ธนาคารแห่งนี้เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับการยอมรับจากชาวไทยและต่างชาติ เหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา

"ตอนที่แบงก์ใหญ่เริ่มรุกเข้ามาทำธุรกิจเช่าซื้อ สถานการณ์ยังไม่ชัดเจน ผมยอมถอยมาร์เก็ตแชร์ของผมลงมาเหลือแค่ครึ่งเดียว แต่หลังจากนั้น เริ่มเห็นแล้วว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ผมกลับมาบุกใหม่ แล้วกวาดมาร์เก็ตแชร์คืนกลับมาได้เกลี้ยง"

เป็นคำพูดที่สะท้อนถึงประสบการณ์กว่า 30 ปี ในธุรกิจการเงินของปลิว มังกรกนก เวลาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธนาคาร พาณิชย์ได้รับโอกาสเปิดกว้างในการทำธุรกิจ จากแผนแม่บทพัฒนาสถาบันการเงินเมื่อปี 2548 ทำให้พื้นที่การทำธุรกิจของธนาคารพาณิชย์เริ่มมีความทับซ้อนกับธนาคารน้องใหม่อย่างทิสโก้ ที่เพิ่งได้รับการยกระดับขึ้นมาจากบริษัทเงินทุน

ปัจจุบัน ปลิวมีอายุ 59 ปี ซึ่งความเป็นจริงเขาต้องเกษียณชีวิตการทำงานตั้งแต่อายุ 55 ปี แต่คณะกรรมการได้เลือกให้เขาต่ออายุการทำงานครั้งที่สอง เพื่อทำงานอีก 3 ปี จากก่อนหน้านี้ได้ต่ออายุการทำงานมาแล้วก็ตาม ความไว้วางใจของคณะกรรมการที่มีต่อปลิวนั้น แสดงให้เห็นถึงฝีมือการทำงานที่ผ่านมา ของเขาได้เป็นอย่างดี เพราะประสบการณ์ทางด้านการเงินของเขาที่มีเกือบ 30 ปี นั้นมีค่าสำหรับทิสโก้เป็นอย่างยิ่ง

ปลิวเป็นผู้บริหารที่อยู่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสุพล วัธนเวคิน ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน แต่ทั้งสองคนมีบทบาทการทำงานที่แตกต่างกัน

สุพลทำงานในเกียรตินาคินในฐานะเป็น "เจ้าของ" แต่ปลิวทำงานในบทบาทของ "มืออาชีพ" ปลิวเริ่มทำงานที่ทิสโก้ เมื่อปี 2518 เขาได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานจากรุ่นพี่หลายๆ คน ทั้งคนไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะคนไทยที่มีความสามารถหลายคน เพราะทิสโก้เมื่อในอดีตเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงที่รวมคนเก่งไว้เป็นจำนวนมาก อย่างเช่น ชุมพล ณ ลำเลียง ที่เป็นรุ่นแรกๆ

คณะกรรมการชุดแรกมีเสนาะ นิลกำแหง เป็นประธานกรรมการ และกรรมการอื่นประกอบด้วย ดร.อำนวย วีรวรรณ ประพจน์ วัชราภัย บัญชา ล่ำซำ บรรยงค์ ล่ำซำ และดร.เสนาะ อูนากูล

ส่วนผู้ถือหุ้นของทิสโก้ เริ่มก่อตั้งจากผู้ร่วมทุน 3 ฝ่าย ในยุคเริ่มต้นประกอบด้วยธนาคารแบงเกอร์ทรัสต์ (นิวยอร์ก) 60 เปอร์เซ็นต์ ธนาคารกสิกรไทย (กรุงเทพฯ) 20 เปอร์เซ็นต์ และแบนคอมดิเวลลอปเมนท์คอร์ปอเรชั่น (มนิลา) 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อปี 2512 เพื่อให้บริการรับฝากเงิน โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อกู้เงินจากประชาชน เป็นการหลีกเลี่ยงคำว่า "รับฝากเงิน"

ปลิวร่วมงานกับศิวะพร ทรรทรานนท์ บันเทิง ตันติวิท ในช่วงวิกฤติบริษัทราชาเงินทุน จำกัด ในช่วงปี 2521-2522 ในตอนนั้นเขายังมองว่าไม่หนักหนาสาหัส เพราะยังมีรุ่นพี่และผู้บริหารต่างชาติเป็นแรงหนุน

นอกจากศิวะพรและบันเทิงยังมีโอกาส ร่วมงานกับสิริฉัตร อรรถเวทย์วรวุฒิ และ จันทรา อาชวานันทกุล

ปลิวทำงานในสายงานของบันเทิง โดยมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายสินเชื่อ แต่ก็ได้ทำงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง บันเทิงก็ลาออกไปเป็นผู้บริหารอยู่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนชาตและปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ ธนาคารธนชาต

ปลิวทำงานในทิสโก้ประมาณ 7 ปีก็ลาออกไปร่วมงานกับบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในปี 2525 ตามคำชักชวนของศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ ซึ่งขณะนั้น ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจที่เพิ่งเกิดขึ้น ใหม่

หลังจากนั้น ปลิวถูกศิวะพรเรียกตัวกลับมาทำงานที่ทิสโก้เหมือนเดิม โดยมารับตำแหน่งเป็นรองกรรมการอำนวยการ รองจากศิวะพรและจันทรา ปลิวเริ่มมีโอกาสแสดงฝีมือในการแก้ปัญหาในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เมื่อประเทศไทยประกาศค่าเงินบาทลอยตัว ซึ่งในขณะนั้นผู้บริหารรุ่นเก่าเริ่มลาออกบางส่วน และบางคนก็เกษียณอายุไปแล้ว ดูเหมือนว่าจะเหลือเขาเพียงคนเดียวเป็นผู้บริหารในยุคต้นๆ เมื่อครั้งเป็นบริษัทเงินทุนทิสโก้ จำกัด การแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ปลิวค่อนข้างโชคดี เพราะหลังจากมีการประกาศให้บริษัทเงินทุน 12 แห่งยุติการดำเนินงานชั่วคราวก่อนลอยตัวค่าเงินบาท ทำให้เงินฝากไหลเข้ามาอยู่ในบริษัทเงินทิสโก้ แทน

ว่ากันว่า คนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าทิสโก้มีสถานะการเงินดีที่สุดและมีผู้ถือหุ้น เป็นธนาคารกสิกร และแบงเกอร์ทรัสต์ (นิวยอร์ก)

ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเรื่องของการบริหารงานที่มี "ระบบ" การบริหารงานที่มีผู้บริหารที่เป็นระดับมือโปรเฟสชั่นแนล ไม่ได้เห็นแก่พวกพ้อง และการทำงานที่สามารถตรวจสอบได้ ปลิวเลือกเดินบนเส้นทางธุรกิจการเงิน ซึ่งไม่ตรงกับสิ่งที่เขาเรียนมาแม้แต่น้อย เขาจบ ปริญญาตรีวิศวอุตสาหการ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (วศ.11) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิศวะรุ่นเดียวกับอนันต์ อัศวโภคิน แห่งแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กับบุญคลี ปลั่งศิริ ของชินคอร์ป

หลังจากจบปริญญาตรี ปลิวเดินทางไปเรียนต่อปริญญาโทสาขาเดียวกันที่มีมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โดยมีศิรินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย และเป็นผู้ชักชวนให้เขาเรียนต่อปริญญาโทเอ็มบีเอ สาขาไฟแนนซ์ ต่ออีกใบจาก UCLA

ปลิวเริ่มรู้จักศิวะพรโดยมีศิรินทร์เป็นผู้แนะนำ และศิวะพรก็เริ่มชักชวนให้เขาไปทำงาน ด้วย โดยมีผู้บริหารของแบงเกอร์ทรัสต์ สัมภาษณ์เขาที่นิวยอร์ก หลังจากจบปริญญาโทเขาเริ่มงานที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ในปี 2518

เกือบชีวิตการทำงานของปลิวทั้งหมดอยู่บนถนนสายการเงิน และยังมีเพื่อนๆ หลายคน ที่กระจายไปอยู่ในแบงก์และสถาบันการเงินต่างๆ หากมองในด้านบวก ผู้บริหารบางคน ที่เป็นอดีตผู้บริหารทิสโก้ อาจช่วยสายสัมพันธ์ ต่อยอดธุรกิจก็อาจเป็นได้ ถึงแม้ว่าในตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นความจำเป็น แต่ด้วยประสบ การณ์การทำงานของปลิว ในฐานะผู้บริหาร สูงสุดของทิสโก้ รวมทั้งคณะกรรมการที่ได้ไว้วางใจให้เขาทำงานต่อ ย่อมต้องการให้ปลิว สร้างความเติบใหญ่ให้กับทิสโก้ในทศวรรษนี้

แต่สิ่งที่ปลิวต้องทำอย่างเร่งด่วนที่สุด คือการเร่งสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพให้มากขึ้น เพราะในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ บุคลากรของทิสโก้ถูกซื้อตัวไปทำงาน 70-80 คน ส่วนเป็นบุคลากรต่างจังหวัด และย้ายไป อยู่กับแบงก์เป็นส่วนใหญ่

แม้ว่าเขาจะบอกว่าไม่เดือดร้อนอะไร แต่ก็อาจเป็นสิ่งที่เขากังวลอยู่ในใจลึกๆ เหมือนกัน เพราะการสร้างบุคลากรให้มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องใช้เวลา โดยเฉพาะปลิว มีความคิดที่จะรับคนใหม่ๆ เข้ามาทำงาน เป็นสิ่งที่เขาคาดหวังไว้ในใจว่า คนเหล่านั้นจะรักองค์กรเช่นเดียวกับเขาที่ทำงานกับทิสโก้ มาเกือบ 30 ปี

รายละเอียดเพิ่มเติม ปลิว มังกรกนก อ่านเรื่อง "ปลิว มังกรกนก Back to the Light" นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2548 หรือใน www.gotomanager.com)   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us