|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ มิถุนายน 2551
|
|
การท่องเที่ยวที่กำลังรุ่งเรืองในตลาดเกิดใหม่จะสร้างผลกำไรมหาศาล แต่อาจไม่เป็นเช่นนั้นหากไม่รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดของตลาดที่เคยรุ่งเรืองมาก่อน
เมื่อสายการบินต้นทุนต่ำ (low cost) เริ่มเจริญรุ่งเรืองในยุโรป ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มีเรื่องเล่ากันเล่นๆ ว่า ทูตเยอรมันกับทูตอังกฤษในกรีซเคยแข่งกันว่า นักท่องเที่ยวจากเยอรมันหรืออังกฤษที่มาท่องเที่ยวในกรีซ จะมีพฤติกรรมที่เลวร้ายมากกว่ากัน แต่ก็ไม่อาจตัดสินได้ว่าประเทศใดชนะ เป็นความจริงที่การท่องเที่ยวในประเทศยุโรปที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นธุรกิจที่ใหญ่มาก แต่อาจไม่เป็นที่น่าพิสมัย เสมอไป อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศติดทะเลแถบนี้ ถูกโทษ ว่าเป็นตัวการสร้างมลพิษให้แก่พื้นที่โดยรอบ ทำให้หาดทรายสกปรกและทำให้ศีลธรรมของคนในท้องถิ่นเสื่อมทรามลง อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการกระทำของประเทศ นั้นๆ ในช่วงทศวรรษ 1960 รัฐบาลสเปน โปรตุเกส อิตาลีและกรีซ ต่างส่งเสริมการสร้างโรงแรมและโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวกันอย่างยกใหญ่ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุดที่จะทำให้สามารถตามทันชาติเพื่อนบ้านทางเหนือที่เจริญกว่าได้ ตลอดช่วง 40 ปีของการพัฒนาอย่างบ้าคลั่งหลังจากนั้น ทำให้ชายฝั่งทะเลอันยาวเหยียดของสเปนกลายสภาพไปเป็นป่าคอนกรีต และสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่รักแสงแดด ทะเลและหาดทรายได้สมใจ และกับการที่เกาะ หลายแห่งในกรีซต้องกลายสภาพไปคล้ายกับเกาะฮ่องกง นั่นคือเต็มไปด้วยโรงแรมสูงๆ และ การจราจรที่ติดขัด หลายคนที่อยู่ในธุรกิจท่อง เที่ยวต่างรับทรัพย์ล่ำซำไปถ้วนหน้า แต่ในช่วง ไม่กี่ปีมานี้ แม้กระทั่งคนที่เคยร่ำรวยจากการท่องเที่ยวต่างก็เริ่มสังเกตเห็นแล้วว่า ความน่าเกลียดและความอึกทึกในแหล่งท่องเที่ยวของตนกำลังทำให้นักท่องเที่ยวหนีห่าง รัฐบาลสเปนเริ่มวิตกมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงกับลงทุนกว้านซื้อที่ดินติดทะเลมาเก็บไว้เสียเอง เพื่อกันไม่ให้นักพัฒนาที่ดินเข้าไปยุ่มย่ามกับพื้นที่อันมีค่าเหล่านั้น ขณะนี้การท่องเที่ยวกำลังเตรียมจะรุ่งเรืองอย่างสุดขีดในชาติกำลังพัฒนา รัฐบาล ชาติกำลังพัฒนาจึงสมควรจะใส่ใจกับบทเรียน ข้างต้น ในช่วง 20 ปีถัดจากนี้ การเติบโตในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในชาติตลาดเกิดใหม่จะเพิ่มขึ้น 2 หรือ 3 เท่าของชาติพัฒนาแล้ว นั่นเป็นเรื่องที่ควรฉลองอย่างแน่นอน เพราะการท่องเที่ยวเป็นเส้นทางที่นำไปสู่การพัฒนา เป็นหนึ่งในผลพวงของความร่ำรวย ที่เพิ่มพูนขึ้น เมื่อคนเริ่มร่ำรวยขึ้นก็จะเดินทาง มากขึ้นไม่ว่าจะเพื่อประสบการณ์ใหม่ๆ หรือเพื่อได้พบเห็นวัฒนธรรมที่แตกต่าง หรือเพียงเพื่อเพื่อความเพลิดเพลิน อย่างไรก็ตาม ความ เจริญรุ่งเรืองของการท่องเที่ยวมีอันตรายอยู่ที่ความรุ่งเรืองนั้น อาจย้อนกลับมาทำลายสิ่งที่เคยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาชื่นชม ชาติกำลังพัฒนารู้สึกสงสัยในสิ่งที่โลกพัฒนาแล้วบอกพวกเขาว่า ให้ทำสิ่งต่างๆ อย่างรับผิดชอบ พวกเขาสงสัยว่า ทำไมจึงไม่ควรจะแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของพวกเขาเอง ชายหาดที่ห่างไกลและยังคงความเป็นธรรมชาติแท้ๆ โดยมีโรงแรมเล็กๆ เพียงแห่งเดียว อาจเป็นเพียงสิ่งเดียวที่นักท่องเที่ยวผู้ร่ำรวยจากชาติตะวันตกต้องการ ในขณะที่ชาวประมงในท้องถิ่นอาจเพียงต้องการโรงเรียนแห่งใหม่สำหรับลูกหลาน แต่สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว ยังไม่แน่ชัดว่า การพัฒนาที่รวดเร็วจะเป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อคนในท้องถิ่นจริงหรือไม่ หากรัฐบาลทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก็เหมือนกับการที่ผู้จัดการกองทุนจ่ายเงินปันผลสูงๆ ให้แก่คุณโดยดึงมาจากเงินทุนของคุณเอง มันอาจจะดีในตอนแรก แต่คุณจะขาดทุนในระยะยาว
นี่คือสิ่งที่มีค่าควรจดจำ เพราะบทเรียนจากการท่องเที่ยวที่ได้จากชาติตะวันตก ก็คือ ไม่มีใครคิดที่จะระวังรักษา "สิ่งที่เป็นทุน" ของตน หาดทราย โบราณสถาน แนวปะการัง และน้ำจืด หาคนที่เป็นเจ้าของที่จะคอยคุ้มครองมันไม่ได้ เจ้าของโรงแรมยักษ์ขนาด 1,000 ห้องจะจ่ายก็แต่เพียงค่าอิฐหินปูนทราย แต่ไม่ได้จ่ายค่าที่ทำให้เกิดทัศนะอุจาดหรือค่าทำลายอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์ คำถามที่ผู้กำหนดนโยบายในตลาดเกิดใหม่ควรจะถามตนเอง คือ พวกเขาต้องการให้การท่องเที่ยวในประเทศของตนเป็นไปในทิศทางใดในอีก 20 ปี ขณะนี้นักท่องเที่ยวที่มาจากชาติตลาดเกิดใหม่ เองต่างมีรสนิยมที่เป็นของตัวเอง ชาวรัสเซียชอบใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์บนหาดทรายที่มีแดดจัด ปาร์ตี้และชอปปิ้งอย่างสุดเหวี่ยง แต่คนจีนชอบท่องเที่ยวในเมืองมากกว่าทะเลหรือชายหาด ส่วนชาวอาหรับจากชาติในอ่าวเปอร์เซียชอบเดินทางเป็นครอบครัวใหญ่และต้องการรับประทานอาหารฮาลาล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเศรษฐกิจ ของชาติเกิดใหม่เหล่านี้เจริญรุ่งเรืองมาก ทำให้นักท่องเที่ยวจากชาติเหล่านี้ร่ำรวยขึ้น และอาจเปลี่ยนไปคล้ายนักท่องเที่ยวชาวยุโรปหรืออเมริกันมากขึ้น คือชอบสิ่งแวดล้อมที่ดีและสวยงาม หรือสนใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมากขึ้น ดังนั้น หากการพัฒนาการท่องเที่ยวของรัฐบาลชาติตลาดเกิดใหม่ไปทำลายมรดกและสิ่งแวดล้อม ของประเทศ ก็ระวังว่าจะต้องเสียใจภายหลัง เรื่องเล่าสอนใจจากเม็กซิโกมีอยู่ว่า เดิมทีชายฝั่งทะเลแคริบเบียนของเม็กซิโกเคยเป็นสวรรค์บนดิน แต่หลังจากนั้นข้อมูลต่างๆ ถูกป้อนเข้าสู่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของรัฐบาล หลังจากย่อยข้อมูลสถิติต่างๆ ที่ได้รับเข้าไปแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ก็สรุปออกมาเป็นชื่อสถานที่ที่มีศักยภาพจะเป็นเหมืองทองคำแห่งการท่องเที่ยวได้ นั่นคือชายหาดที่มีชื่อว่า Cancun วันนี้ Cancun มีจำนวนห้องพักในโรงแรมเกือบ 24,000 ห้อง มีนักท่องเที่ยวมาเยือนประมาณ 4 ล้านคนต่อปี และมีเที่ยวบินขึ้นลงเฉลี่ยวันละ 190 เที่ยว แม้ว่าธุรกิจท่องเที่ยวอาจต้องการการพัฒนาขนานใหญ่ แต่อย่ายอมแลกสวรรค์เพียงเพื่อจะได้ที่จอดรถกลับมาแทน
เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์ แปลและเรียบเรียง
ดิอีโคโนมิสต์ 15 พฤษภาคม 2551
|
|
|
|
|