Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2551








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2551
อาวุโส = ประสบการณ์             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 





วันที่ "ผู้จัดการ" ได้ไปสนทนากับคุณปลิว มังกรกนก เมื่อกลางเดือนมีนาคม เราได้เอ่ยถึงอุตสาหกรรมการเงินของไทยที่ได้พัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ ว่ามีคนอยู่ 3 คนที่ "ผู้จัดการ" อยากสนทนาด้วย ได้แก่ คุณปลิว คุณสุพล วัธนเวคิน และคุณบันเทิง ตันติวิท

คุณปลิวได้หยอกกลับกับเราว่า "แสดงว่าคุณบอกว่าผมแก่"

เช่นเดียวกัน เมื่อเราได้ไปสนทนากับคุณสุพล วัธนเวคิน เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม เราได้เอ่ยประโยคเดียวกัน ซึ่งคุณสุพลก็ตอบกลับมาทันทีว่า "คงต้องรีบคุยแล้ว"

น่าเสียดายที่เราพยายามติดต่อเพื่อขอพบและสนทนากับคุณบันเทิง ตันติวิท หรือผู้บริหารท่านอื่นของธนาคารธนชาต แต่ท่านยังไม่ว่าง จึงจำเป็นต้องรีบปิดเนื้อหาในฉบับนี้ก่อน

เราไม่ได้มองว่าคุณปลิว คุณสุพล หรือคุณบันเทิงเป็นคนแก่ แต่ทั้ง 3 ถือเป็นผู้อาวุโสของอุตสาหกรรมการเงินของไทย ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วมาก ในช่วง 3 ทศวรรษนี้ ว่าไปแล้ว ถือเป็น 3 คนที่ทั้งอาวุโส มีประสบการณ์ และเห็นการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการเงินของไทยมามากที่สุด แต่ยังคงทำงานอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่ได้ลงไปขลุกอยู่กับการบริหารงานวันต่อวันก็ตาม

ทั้ง 3 คนได้เห็นพัฒนาการของอุตสาหกรรมการเงินของไทย ตั้งแต่ยังเป็นบริษัทการเงินนอกระบบที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการบริการทางการเงินที่เพิ่มมากขึ้นตามการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจ แต่ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถตอบสนองได้

บริษัทการเงินเหล่านี้บางแห่งก็ใช้อาคารพาณิชย์เป็นสำนักงานใหญ่ จนได้รับใบอนุญาตอย่างเป็นทางการจากธนาคารแห่งประเทศไทย ให้แปรสภาพเป็นบริษัทเงินทุน ผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจมาหลายครั้งที่เขย่าจนทำให้บริษัทเงินทุนที่มีอยู่มากกว่า 100 แห่ง เหลือเพียงไม่ถึง 10 แห่ง

บริษัทที่ทั้ง 3 ต้องรับผิดชอบได้ผ่านพ้นวิกฤติแต่ละครั้ง จนได้รับการยกระดับขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ในที่สุด

ถือเป็นธนาคารพาณิชย์ใหม่ที่สะอาด ไม่มีภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และมีอิสระที่จะหาทิศทางธุรกิจของตนเอง

ดังนั้น ทั้งอาวุโสและประสบการณ์ที่เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่ทั้ง 3 คนสะสมอยู่ นักการเงินรุ่นใหม่น่าจะหาโอกาสได้เรียนรู้ เพื่อนำมาเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต

เป็นสิ่งที่ในห้องเรียน MBA ไม่ว่าจะสถาบันไหน ก็ไม่สามารถมีได้เท่ากับที่อยู่ในหัวของทั้ง 3 คนนี้

นิตยสาร "ผู้จัดการ" ฉบับนี้จึงพยายามถ่ายทอดเรื่องราวของบุคคลทั้ง 3 ให้ได้มากที่สุด แม้จะได้มีโอกาสสนทนาโดยตรงเพียงแค่ 2 คนก็ตาม

ถือเป็นเรื่องที่น่าอ่านอีกเรื่องหนึ่งที่เราอยากแนะนำ


ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
pundop@gotomanager.com   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us