Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์2 มิถุนายน 2551
จับกระแสฝรั่งไหลเข้าดันดัชนี-ค่าเงินบาทแข็ง             
 


   
search resources

Currency Exchange Rates




นักวิเคราะห์ มองค่าเงินบาทยังมีสัญญาณว่าจะกลับมาแข็งค่าต่ออีก เหตุเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้น ดันเม็ดเงินไหลเข้าตลาดเอเชีย แรงซื้อฝรั่งดันตลาดหุ้นไทยรับอานิสงส์ มองสิ้นปีดัชนี 950 จุด ชี้เงินบาทแข็งปัจจัยบวกกับดัชนี แต่เป็นปัจจัยลบกับกลุ่มส่งออก

สิริณัฎฐา เตชะศิริวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์(บล.) ไซรัส กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปรียบเทียบกับสกุลเงินดอลล่าร์ในช่วงต่อจากนี้ไปยังมีทิศทางที่จะแข็งค่าต่อเนื่องตามค่าเงินในภูมิภาคเอเชีย แม้ในขณะนี้จะเป็นช่วงจังหวะพักตัวบ้าง แต่ก็คาดว่าจะสามารถกลับไปแข็งค่าต่อได้อีก

โดยค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเกิดจากตลาดหุ้นเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวเนื่องจากนักวิเคราะห์และนักลงทุนคาดการว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)จะคงระดับอัตราดอกเบี้ย 2%ในการประชุมเฟดวันที่ 24-25 มิ.ย.นี้ ประกอบกับไตรมาส 2/2551 ปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) จะอยู่ในจุดพีคสุด หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐเข้าไปอัดฉีดสภาพคล่องถึง 70-80 % ซึ่งทำให้ปัญหาดังกล่าวเริ่มคลี่คลายลง แต่มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวในปีนี้ ทำให้มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาในตลาดหุ้นไทยและเอเชียมากขึ้น และเป็นแรงส่งให้ค่าเงินบาทปลายปีมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเช่นกัน

สำหรับการแข็งของค่าเงินบาทจะเป็นปัจจัยบวกต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ เพราะเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าฝรั่งนำเงินเข้ามาลงทุน แต่ก็ไม่พบว่าจะส่งผลดีกับหุ้นกลุ่มใดเป็นพิเศษ

"ถ้าเป็นเมื่อก่อนมีสัญญาณว่าค่าเงินบาทแข็ง ผู้ลงทุนก็มักจะแห่ไปเล่นหุ้นตัวที่มีหนี้ต่างประเทศมาก แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่บริษัทพวกนี้ก็ใช้วิธีเฮดจ์ป้องกันความเสี่ยงกันหมดแล้ว เลยไม่มีหุ้นกลุ่มใดที่จะได้ประโยชน์เป็นพิเศษ แต่การที่ค่าเงินบาทแข็งนี้จะเป็นผลลบต่อกลุ่มส่งออกเพราะราคาสินค้าส่งออกจะแพงขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งอื่นๆ และมีกำไรในรูปเงินบาทลดลง"

คาดการณ์ว่าแนวโน้มตลาดหุ้นจะปรับฐานดีขึ้นในไตรมาส 2/2551 โดยคาดว่าดัชนีไตรมาส2/2551 อยู่ที่ 900 จุด และทั้งปีแตะ 950 จุด โดยคาดว่าปีนี้บจ.จะมีกำไรเติบโต 20% จากไตรมาส1/2551 ทำได้แล้ว 33% มองว่าจะผลักดันให้ตลาดหุ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2/2551 คึกคัก และมีแรงซื้อเข้ามาจำนวนมาก สำหรับหุ้นแนะนำ "ซื้อ" ได้แก่ PTT, UMS, PHATRA และTMB

โดย บมจ.ปตท(PTT) ให้ราคาเป้าหมายที่ 419 บาท โดยคาดว่ากำไรในไตรมาส 2 ยังน่าจะดีต่อเนื่อง ราคาพลังงานที่ยังสูงเป็นผลเชิงบวก โดยเฉพาะต่อ ปตท.สผ.ภาระการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มปี 2551 ประมาณ 3.2 พันล้านคาดว่าจะได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมัน รวมทั้งบริษัทย่อยโรงกลั่นน่าจะฟื้นตัวตามค่าการกลั่น

สำหรับ บมจ.ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) ให้ราคาเป้าหมายที่ 37.50 บาท มองว่ามีอัพไซด์อีกค่อนข้างมาก ขณะที่ความเสี่ยงการลดลงของราคาถ่านหินมีความเป็นไปได้น้อยกว่า คาดว่ากำไรในไตรมาส2/2551ยังดีต่อจากปริมาณและราคาขายที่เพิ่มขึ้นแม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากการเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ๆ แต่ประเมินว่าบริษัทยังมีข้อได้เปรียบด้านต้นทุนและฐานลูกค้า

ด้าน บมจ.หลักทรัพย์ ภัทร (PHATRA) ให้ราคาเป้าหมาย 44 บาท โดย เมอร์ริลลินซ์ ยังส่งคำสั่งผ่านภัทรอยู่ คาดการณ์กำไรไตรมาส 2/2551 รายได้ค่าธรรมเนียมจะสูงกว่า 150 ล้านบาทเนื่องจากบันทึกรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินขาย IPO หุ้น ESSO และยังมีลูกค้าที่ปรึกษาเตรียม IPO รายใหญ่อีกไม่ว่าจะเป็น BTS, เบทาโกร รวมถึงการเตรียมขยายธุรกิจอนุพันธ์โดยมีแผนออก structural note, derivative warrants และรายได้ค่านายหน้าจากการ ้อขายสัญญาล่วงหน้า

ขณะที่ บมจ.ธนาคาทหารไทย(TMB) ให้ราคาเป้าหมาย 1.86 บาท เนื่องจากราคาซื้อขายในกระดานปัจจุบันยังต่ำกว่าต้นทุนของ ING ที่ 1.60 บาท ธนาคารมีระดับเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง 10.52% เงินกองทุนรวม 14.35% ใกล้เคียง SCB และ KBANK โดยที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง 57% และคาดว่าจะทรงตัวในระดับต่ำ ด้วยความที่มีอัพสูงจึงน่าสนใจที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด

ส่วนหุ้นอื่นๆในกลุ่ม น้ำมัน, เดินเรือ และบริษัทหลักทรัพย์นั้น ถ้าจะเล่นก็ควรจะเป็นในลักษณะเทรดดิ้งจะดีกว่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us