Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน2 มิถุนายน 2551
ตลาดหุ้นผันผวนหนักหวั่นแบงก์แห่ขึ้นดบ.-เงินเฟ้อ-การเมือง             
 


   
search resources

Stock Exchange




ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ยังผันผวนหนัก หลังเจอมรสุมรุมเร้าทั้งปัญหาเงินเฟ้อ-การเมือง ขณะที่นักลงทุนวิตกธนาคารประกาศขึ้นดอกเบี้ยตามแบงก์กรุงเทพที่นำร่องไปก่อนหน้าแล้ว ส่วนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติทิ้งหุ้นไทยกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท กดดัชนีร่วงเกือบ 42 จุด โบรกเกอร์ ระบุอาจเป็นการส่งสัญญาณขายยาวหากมีแรงขายออกมาต่อเนื่อง

ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องและรุนแรง หลังจากได้รับผลกระทบจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ ประการแรก ความกังวลเรื่องปัญหาเงินเฟ้อ จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ประการที่สอง มาตรการบังคับให้ผู้ประกอบการโรงกลั่นลดค่าการกลั่นน้ำมันดีเซล 1 บาทต่อลิตร และประการสุดท้าย สถานการณ์ทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้น

จากประเด็นต่างๆ ได้เป็นแรงกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงจากสิ้นสัปดาห์ก่อน 23 พ.ค. 51 ที่ 875.59 จุด มาอยู่ที่ระดับ 833.65 จุด (30 พ.ค.) ลดลงมากถึง 41.94 จุด คิดเป็น 4.79% มูลค่าการซื้อขายรวมตลอดทั้ง 5 วัน 118,364.63 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 13,182.02 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 12,358.21 ล้านบาท และนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 823.81 ล้านบาท

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงต่อเนื่องกัน 4 วัน ก่อนที่จะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยในวันศุกร์สุดสัปดาห์ จากสถานการณ์การเมืองคลายความกดดันจากการลาออกของนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และความชัดเจนเรื่องค่าการกลั่น

อย่างไรก็ตาม ช่วงท้ายตลาดธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทในอัตรา 0.125-1.00% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อีก 0.37% มีผลตั้งแต่วันนี้ (2 มิ.ย.) ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวได้อย่างจำกัด

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ โดยปัจจัยมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนที่สำคัญยังคงเป็นเรื่องของทิศทางอัตราดอกเบี้ย ว่าจะมีธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ปรับขึ้นดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับธนาคารกรุงเทพ ที่นำร่องไปก่อนหน้าแล้วหรือไม่

ขณะเดียวกันปัญหาเรื่องราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นจนกลายเป็นวิกฤตเงินเฟ้อ รวมถึงปัญหาด้านการเมืองเกี่ยวกับบทบาทของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะบานปลายหรือรุนแรงขึ้นหรือไม่ ดังนั้นจึงแนะนำกลยุทธ์ระยะสั้นให้ถือเงินสดรอดูสถานการณ์ และทยอยซื้อสะสมในส่วนของนักลงทุนระยะยาว โดยประเมินแนวรับไว้ที่ระดับ 825-830 จุด และแนวต้าน 840 จุด

ด้านทีมวิเคราะห์การลงทุน บลไอร่า ระบุว่า นักลงทุนต่างชาติได้ขายหุ้นติดต่อกันในช่วง 3 วันสุดท้ายของสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ ขายสุทธิ 3,169 ล้านบาท 2,608 ล้านบาท และ 5,481 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 3,752 ล้านบาท และเมื่อรวมทั้งสัปดาห์แล้วมูลค่าใกล้เคียง 1.5 หมื่นล้านบาทที่ทยอยซื้อสะสมมาก่อนหน้า หากนักลงทุนต่างชาติเริ่มมีแนวโน้มขายสุทธิสะสมมากกว่านี้มีแนวโน้มขายสุทธิมากขึ้น แต่หากเริ่มซื้อกลับจะแสดงว่าต่างชาติยังรอดูความชัดเจนของสถาณการณ์

โดยในสัปดาห์นี้ยังให้น้ำหนักกับปัจจัยการเมืองในประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งจากอดีตตั้งแต่ปี 2548 ที่เริ่มมีการชุมนุมกดดันรัฐบาล นำไปสู่การเลือกตั้งโนโหวต และการทำรัฐประหาร หรือเหตุการณ์สำคัญๆ อย่างมาตรการ 30% ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพรม์) ที่กดดันตลาดหุ้นทั่วโลกเมื่อต้นปี หากพิจารณาการแกว่งตัวของดัชนีออกจากเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 วัน พบว่าการแกว่งตัวบวกลบ 9% จาก SMA200

จะรองรับสถานการณ์ไว้ได้ ขณะที่เหตุการณ์ปัจจุบันกรณีที่การเมืองผ่อนคลายลงและไม่บานปลายไปมากกว่านี้ การแกว่งตัวจากค่าเฉลี่ยระดับไม่เกิน 3% น่าจะรองรับได้ คือ บริเวณ 800-828 จุด แต่หากเหตุการณ์บานปลายคิดว่าระดับบวกลบ 7% น่าจะรองรับได้ คือ บริเวณไม่เกิน 770 จุด

นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้จะแกว่งตัวผันผวน เนื่องจากความกังวลในเศรษฐกิจยังกดดันบรรยากาศการลงทุน เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง โดยปัญหาหลักยังมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น แม้โรงกลั่นน้ำมัน 4 แห่งในกลุ่มบมจ.ปตท.(PTT) ตกลงจะจัดสรรน้ำมันดีเซลประมาณ 122 ล้านลิตร/เดือน ขายในราคาต่ำกว่าตลาด 3 บาท/ลิตร เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่เดือนมิ.ย.- พ.ย.เพื่อนำไปช่วยเหลือให้กับผู้ประกอบการรายสาขา เช่น รถร่วมโดยสาร หรือกลุ่มอื่นๆ ซึ่งยังต้องติดตามว่าประชาชนทั่วไปจะได้รับประโยชน์ด้วยหรือไม่

ขณะที่ สถานการณ์การเมืองยังต้องติดตามการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะมีบทสรุปเป็นอย่างไร โดยประเมินแนวรับที่ 820 จุด และแนวต้านที่ 840-842 จุด หากแนวรับดังกล่าวไม่สามารถรับได้ จะมีแนวรับถัดไปที่ 800 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในระยะสั้นเล่นเก็งกำไรในกรอบดังกล่าวได้

นางสาวสิริณัฎฐา เตชะศิริวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้น จากประเด็นความเสี่ยงการเมืองในประเทศที่ลดความร้อนแรงลงในระดับหนึ่ง หลังนายจักรภพ ลาออก และญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ตกไป แต่ดัชนีอาจจะปรับตัวขึ้นไม่แรงนัก เพราะสถานการณ์การเมืองยังไม่น่าไว้วางใจเท่าที่ควร โดยประเมินแนวรับที่ 820 จุด และแนวต้านที่ 850 จุด

นายอนุพนธ์ ศรีอาจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.บีฟิท กล่าวถึง กรณีโรงกลั่นน้ำมัน 4 แห่งในกลุ่มบมจ.ปตท. (PTT) ตกลงจะจัดสรรน้ำมันดีเซลประมาณ 122 ล้านลิตร/เดือน ขายในราคาต่ำกว่าตลาด 3 บาท/ลิตร เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งแต่เดือนมิ.ย.- พ.ย.เพื่อนำไปช่วยเหลือให้กับผู้ประกอบการรายสาขา เช่น รถร่วมโดยสาร หรือกลุ่มอื่นๆ ว่าส่งผลกระทบน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากไม่ได้ลดทั้งหมดของกำลังการผลิต ซึ่งน่าจะเป็นผลบวกกับหุ้นกลุ่มโรงกลั่น

ประกอบกับที่ผ่านมาปรับตัวลงมากพอสมควร โดยมาตราการที่ออกมาจะกระทบกำไรต่อหุ้นของโรงกลั่นทั้ง 4 แห่ง ดังนี้ TOP 0.32 บาท PTTAR 0.12 บาท IRPC 0.03 บาท และ BCP 0.16 บาท ส่วนผลกระทบกับราคาหุ้นเป็นดังนี้ TOP 3.3% PTTAR 3% IRPC 4% และ BCP 8% ขณะที่ผลกะทบกับกำไรของปตท.จะมีเพียงเล็กน้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us