ธุรกิจสนามกอล์ฟกำลังเผชิญภาวะความซบเซาทั้งในประเทศไทย ญี่ปุ่น และ บรรดาประเทศขอบสมุทรแปซิฟิก
ข้อที่ไม่สู้มีใครกล่าวถึง ก็คือ ความรุ่งเรือง และความซบเซาของธุรกิจสนามกอล์ฟขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่อย่าง
ค่อนข้างสำคัญ ความข้อนี้เป็นจริงอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มประเทศขอบสมุทรแปซิฟิก
หรือ Pacific Rim
กีฬากอล์ฟถือกำเนิดเมื่อใด ในประเทศใด นับเป็นหัวข้อที่มีการโต้เถียง ในหมู่นักประวัติศาสตร
์อย่างมาก บางคนเสนอความเห็นว่าขึ้นอยู่กับการนิยามคำว่า "กอล์ฟ" หากกอล์ฟหมายถึงการใช้ไม้ตีลูกกลมๆ
ไปข้างหน้า กอล์ฟ ก็ถือกำเนิดบนภาคพื้นยุโรป ทั้งนี้ปรากฏว่า มีร่องรอยทางภาษาทั้งในภาษา
ฮอลันดา เบลเยียม และฝรั่งเศส ในภาษาฮอลันดาเอง มีคำว่า Kolf ซึ่ง หมายถึงไม้ตี
(club)
แต่ถ้ากอล์ฟหมายถึง การตีลูกลงหลุม กีฬากอล์ฟก็ถือกำเนิดในสกอตแลนด์ ทั้งนี้มีหลักฐานว่า
กษัตริย์ ขุนนาง และ ชนชั้นสูงชาวสกอตต่างโปรดปรานการเล่นกอล์ฟเป็นยิ่งนัก
กระนั้น ก็ตาม ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า กีฬา กอล์ฟก่อเกิดขึ้นเมื่อใด
ประชาชนชาวสกอตคงหมกมุ่นกับการเล่นกอล์ฟเป็นอันมากจนไม่เป็นอันทำงาน และไม่ระแวดระวังอริราชศัตรู ที่จะมายึดแผ่นดิน
จนมีกฎหมายจำกัดการเล่นกอล์ฟในปี ค.ศ.1424 ในรัชสมัยพระเจ้าเจมส์ ที่ 1 ครั้นในรัชสมัย
พระเจ้าเจมส์ ที่ 2 ก็มีกฎหมายห้ามเล่นกอล์ฟเป็นงานอดิเรกในปี ค.ศ. 1457
การเล่นกอล์ฟมิได้จำกัดเฉพาะในหมู่ชายชาวสกอตเท่านั้น หญิงชาวสกอตก็นิยมเล่นด้วย
มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า พระนางเจ้าแมรี่ (Mary Queen of Scots) โปรดปรานกีฬากอล์ฟอย่างยิ่ง
แม้เมื่อทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษาในประเทศฝรั่งเศส ทรงหอบหิ้วอุปกรณ์การเล่นกอล์ฟไปด้วย
ตำนาน ที่เล่าขานกันต่อมาก็คือ เรื่อง ที่พระนางทรงบัญญัติศัพท์เด็กเก็บลูกกอล์ฟ
ด้วยเหตุ ที่พระนางเรียกเด็กเก็บลูกกอล์ฟว่า "cadets" อันหมายถึง นักเรียนชาวฝรั่งเศสออกเสียงคำนี้ว่า
"cad-day" ต่อมาภายหลัง คำนี้เป็นที่ยอมรับกันทั้งในสกอตแลนด์ และอังกฤษ หากแต่สะกดว่า
"caddy" บ้าง หรือ "caddie" บ้าง เมื่อพระนางเจ้าแมรี่ปกครองสกอตแลนด์ในปี
ค .ศ.1542 ทรง สนับสนุนการเล่นกอล์ฟอย่างเต็มที่ สนามกอล์ฟของสกอตแลนด์อันมีชื่อเสียง
คือ St.An-drews of Scotland สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระนางในปี ค.ศ.1552 เมื่อพระนางสวรรคตในปี
1587 มีความพยายามในการตรากฎหมายจำกัดการเล่นกอล์ฟ คราวนี้ทำได้เพียงด้วยการห้ามเล่นกอล์ฟ
ในวัน อาทิตย์
กีฬากอล์ฟแพร่ระบาดจากสกอตแลนด์สู่อังกฤษเมื่อพระเจ้าเจมส์ ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชบัลลังก์อังกฤษด้วย
กอล ์ฟกลายเป็นกีฬาของชนชั้นสูง และด้วยเหตุ ที่การเล่นกอล์ฟต้องอาศัยอาณาบริเวณอันกว้างขวาง
จึง ต้องลงทุนซื้อ ที่ดิน และการเล่นกอล์ฟคนเดียวคงหาความสนุกได้ยาก การจัดตั้ง
สโมสรกอล์ฟ (golf club) จึงเกิดขึ้น นักเล่นกอล์ฟต้องหาสโมสร สังกัด และต้องร่วมรับภาระรายจ่ายของสโมสร
สโมสรกอล์ฟก่อเกิดจาก สมาชิกผู้ก่อตั้ง แล้วจึงมีการรับสมัครสมาชิกสมทบในภายหลัง
แต่การรับสมาชิกสมทบมิได้กระทำโดยปราศจากการดูหน้าอินทร์หน้าพรหม แท้ ที่จริงแล้ว
มีจารีต ที่พัฒนาขึ้นในเวลาต่อมาว่า สมาชิกใหม่จักต้องเข้ากันได้ดีกับสมาชิกเก่า
สมาชิกใหม่จักต้องมีสมาชิกเก่ารับรอง เมื่อมีผู้สมัครเป็นสมาชิกใหม่ ผู้บริหารสโมสรจักต้อง
แจ้งให้สมาชิกเก่ารับทราบ หากมีผู้คัดค้านการรับสมาชิกรายนั้น มีอันต้องล้มไป
ด้วยจารีตดังกล่าวนี้ ผู้คนที่มาจากต่างชนชั้น ต่างฐานะ หรือต่างอุดมการณ์
ก็จะถูกกีดกันมิให้เข้าเป็นสมาชิก สโมสรกอล์ฟค่อยๆ ผุดขึ้น Royal Blackheath
Club ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1608 The Edin- burg Burgess Golfing Society ปี ค.ศ.1735
Hono-rable Company of Edinburgh Golfers ปี ค.ศ.1744 Royal and Ancient
Golf Club ปี ค. ศ.1754 เป็นต้น การจัดตั้งสโมสรกอล์ฟค่อยๆ ขยายจาก สกอตแลนด์สู่อังกฤษ
และในไม่ช้าระบาดไปสู่ประเทศอื่นๆ
เมื่อกอล์ฟกลายเป็นกีฬา ที่มีการแข่งขัน ก็ต้องมีการกำหนดกติกา กติกา ที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร ที่เก่าที่สุด
ก็คือ กติกาของสนามกอล์ฟ St. Andrews of Scotland ซึ่งร่างขึ้นในปี ค.ศ.1754
แต่เมื่อมีการก่อตั้งสโมสร กอล์ฟจำนวนมาก สโมสรแต่ละแห่งก็จะกำหนดกติกาการแข่งขันของตนเอง
หาได้มีกติกาสากลแต่ประการใดไม่ แม้แต่จำนวนหลุม ที่กำหนดการเล่นกอล์ฟแต่ละรอบก็แตกต่างกันด้วย
ในปี ค.ศ.1764 Royal and Ancient Golf Club ซึ่งดูแลสนาม St.Andrews of Scotland
กำหนดว่า การเล่นกอล์ฟ แต่ละรอบประกอบด้วย 18 หลุม ซึ่งกลายเป็นบรรทัดฐาน ที่สโมสรกอล์ฟอื่นๆ
ยึดถือในเวลาต่อมา
แม้ว่ากอล์ฟจะถือกำเนิดในสกอตแลนด์ แต่ระบบจักรวรรดินิยมอังกฤษ กลับเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้กอล์ฟแพร่ระบาด
ในขณะที่ธงอังกฤษตามหลังเรือสินค้ากอล์ฟเดินตามหลังธงอังกฤษ เมื่อกองทหารอังกฤษ
เข้าไปยึดครองดินแดนใด หน่วยทหารสกอตมักจะนำกอล์ฟเข้าไปสู่ดินแดนนั้น ด้วย
ซึ่ง รวมทั้งดินแดน ที่บัดนี้เป็นประเทศสหรัฐอเมริกา โลกใหม่มิใช่ดินแดนเดียว ที่ปลูกฝังกีฬากอล์ฟเท่านั้น
ดินแดน ที่เป็นอารยธรรมเก่าแก่ดังเช่น จีน และ อินเดียก็รับมรดกของชาวสกอตนี้ด้วย
กอล์ฟแพร่ระบาดในอาเซีย มิจำเพาะแต่ กัลกัตตา บอมเบย์ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง สิงคโปร์
และย่างกุ้ง เท่านั้น หากยังรวมถึงกรุงเทพฯด้วย การขยายตัวของระบบจักรวรรดินิยมอังกฤษทำให้
กอล์ฟแพร่เข้าไปสู่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา และ แอฟริกาใต้ กระบวนการสากลานุวัตรของกีฬากอล์ฟเป็นผลจากการเติบโต
ของจักรวรรดิอังกฤษ การฝังรากของกีฬากอล์ฟมิได้มีเฉพาะแต่ในอาณานิคม โดยนิตินัย
(de jure colony) แม้ในอาณานิคมโดยพฤตินัย (de facto colony) ดังเช่น ประเทศไทยหน่อของกีฬากอล์ฟก็เติบใหญ่ด้วย
เมื่อถึงทศวรรษ 1880 กอล์ฟก็ กลายเป็นกีฬาสากล เพราะปรากฏทั่วทุกมุมโลก
เมื่อชาวอังกฤษเข้าไปปักหลักในดินแดนใด ทั้ง ที่เป็นอาณานิคมโดยนิตินัย และอาณานิคมโดยพฤตินัย
ชุมชนชาวอังกฤษก็จะจัดตั้งสโมสรกีฬาขึ้น โดยที่กอล์ฟเป็นกีฬา ที่สำคัญชนิดหนึ่ง
Royal Calcutta ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1829 และ Royal Bombay ปี ค.ศ. 1842
นับเป็นสโมสรกอล์ฟนอกเกาะอังกฤษ ที่เก่าที่สุด บรรดาสโมสรกีฬาของชุมชนชาวอังกฤษเหล่านี้มักจะตั้งชื่อโดยมีคำว่า
Royal นำหน้า ซึ่งทำให้ดูขลัง ดังเช่น The Royal Hongkong Golf Club ในฮ่องกง
และ The Royal Selangor Golf Club ในนคร กัวลาลัมเปอร์ เป็นอาทิ
ด้วยเหตุ ที่ไทยเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของอังกฤษในอาเซียตะวันออก และอังกฤษก็มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจำนวนมากในประเทศไทย
จึงเป็นธรรมดา ที่มีชุมชนชาวอังกฤษในประเทศนี้ และเป็นเรื่องธรรมดาอีกเช่นกัน ที่
ชาวอังกฤษจัดตั้งสโมสรกีฬาขึ้นในกรุงเทพฯ โดยที่กอล์ฟเป็นกีฬาสำคัญประเภทหนึ่งด้วย
และ เพื่อให้สอดคล้องกับจารีตของระบบจักรวรรดินิยมอังกฤษ สโมสรกีฬา ที่จัดตั้งขึ้นจึงต้องมีคำว่า
Royal ราชกรีฑาสโมสร (Royal Sports Club) ก่อเกิดด้วยเหตุฉะนี้ ในขณะที่ราชกรีฑาสโมสรเป็นที่ชุมนุมของชาวต่างประเทศในประเทศไทย
ซึ่งเมื่อแรกก่อตั้งมีสมาชิกเป็นข้าราชการ หรือข้ารัฐการรัฐบาลประเทศมหาอำนาจจักรวรรดินิยมในสัดส่วนสำคัญ
ราชตฤณมัยสมาคมเป็นที่ชุมนุมของชนชั้นปกครองไทย โดยที่ราชตฤณมัยสมาคมเป็นสถาบัน ที่เอาแบบอย่างมาจากระบบจักรวรรดินิยมอังกฤษนั้น เอง
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 2475 เมื่อผู้นำฝ่ายทหารสามารถยึดกุมอำนาจทางการเมืองได้เป็นเวลายาวนาน
ราช ตฤณมัยสมาคมก็อยู่ภายใต้การบริหารของผู้นำฝ่ายทหาร และบรรดาพ่อค้านายทุน ที่ใกล้ชิด
แม้ใน ปัจจุบันโครงสร้างชนชั้นนำทางอำนาจแปรเปลี่ยนไป โดยที่มีชนชั้นปกครองจำนวนไม่น้อยมาจากกระบวนการเลือกตั้ง
แต่นักเลือกตั้งยังมิได้คิดเข้าไปยึดกุมราชตฤณมัยสมาคม ดุจดัง ที่พยายามยึดกุมรัฐวิสาหกิจ
ด้วยเหตุดัง ที่พรรณนาข้างต้นนี้ คลื่นลูกแรกของกระบวนการสากลานุวัตรของกีฬากอล์ฟ
จึงเป็นผลพวงจากการเติบโตของจักรวรรดิอังกฤษ แต่คลื่นลูกแรกนี้แรงพอ ที่จะโหมกระหน่ำดินแดนนอกจักรวรรดิอังกฤษด้วย
บนภาคพื้นยุโรป สนามกอล์ฟขยายตัว เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ เมื่ออังกฤษสิ้นสถานะความเป็นจ้าวโลก
และสหรัฐอเมริกาเข้ามาทำหน้าที่แทนหลังสงครามโลกครั้ง ที่สอง สหรัฐฯ มีส่วนเสริมส่งกระบวนการสากลานุ
วัตรของกีฬากอล์ฟทั้งในละตินอเมริกา และอาเซียตะวันออก เมื่อสหรัฐฯเข้าไปตั้งฐานทัพในประเทศใด
กีฬากอล์ฟไม่เพียงแต่ตามหลังกองทหารอเมริกันเข้าไปในประเทศนั้น หากฐานทัพอเมริกันยังสามารถดลบันดาลให้เกิด
สนามกอล์ฟอีกด้วย แม้สหรัฐฯ มิได้เป็นผู้นำกอล์ฟเข้าสู่ญี่ปุ่น แต่เมื่อญี่ปุ่น
ตกอยู่ใต้การปกครองของกองทัพอเมริกันหลังสงครามโลกครั้ง ที่สอง สนามกอล์ฟก็ผุดขึ้นเป็นอันมาก
เมื่อสหรัฐฯ เข้าไปปกป้องอุ้มชูไต้หวันภายหลังจาก ที่พรรคก๊กมินตั๋งถอยร่นจากแผ่นดินใหญ่ในปี
ค.ศ.1949 สนามกอล์ฟก็ผุดขึ้นในไต้หวัน ปรากฏการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดแก่เกาหลีใต้ภายหลัง
สงครามเกาหลีระหว่างปี ค.ศ.1950-1953 ฟิลิปปินส์ก็มีประสบการณ์ร่วมกับไต้หวัน
และเกาหลีใต้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยเมื่อมีฐานทัพอเมริกัน เพื่อทำสงครามอินโดจีน
ในขณะที่การขยายตัวของจักรวรรดิอังกฤษมีส่วนเปลี่ยนโฉมหน้ากอล์ฟ ให้กลายเป็นกีฬาสากล
ความเป็น สากลของกีฬากอล์ฟเพิ่มขึ้นเป็นทวีตรีคูณ เมื่อกอล์ฟกลายเป็นกีฬาอาชีพนี้นับเป็นคลื่นลูก ที่สองของกระบวนการสากลานุวัตรของกีฬากอล์ฟ
แม้ว่าสโมสรกอล์ฟผุดขึ้นในสกอตแลนด์ก่อนดินแดนอื่นใด แต่การจัดองค์กร เพื่อบริหารกีฬากอล์ฟอย่างเป็นระบบปรากฏในสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกในปี
ค.ศ.1894 เมื่อมีการจัดตั้ง The United States Golf Association (USGA) ในอังกฤษบรรดาสโมสรกอล์ฟยอมยกให้
Royal and Ancient Golf Club เป็นสถาบันแม่ในปี ค.ศ.1917
คลื่นลูก ที่สองของกระแสสากลานุวัตรก่อตัวขึ้นในปี ค.ศ.1916 เมื่อมีการจัดตั้ง
Professional Golfers Association of America (PGA) โดยที่มีการแข่งขันกอล์ฟอาชีพครั้งแรกในปีเดียวกันนั้น เอง
ในระยะแรกเงินรางวัลจากการแข่งขันมีไม่มาก ในการแข่งขันหลายต่อหลายรายการ
เงินรางวัลจาก การแข่งขันน้อยกว่าค่าใช้จ่าย ที่นักกอล์ฟเสียไปในการแข่งขัน
ดังนั้น แม้กอล์ฟจะกลายเป็นกีฬาอาชีพ แต่การแข่งขันอาชีพมิได้ขยายตัวเท่า ที่ควร
จวบจนหลังสงครามโลกครั้ง ที่สอง ด้วยการผลักดันของ เฟรด คอร์คอแรน (Fred Corcoran)
โปรโมเตอร์ผู้จัดการแข่งขัน กอล์ฟอาชีพ เงินรางวัลเขยิบเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก
และนี่เอง ที่เป็นตัวเร่งการขยายตัวของกีฬากอล์ฟ โดยที่มีพลังเสริมจากกลไกการทำงานของทุนวัฒนธรรม
ก่อน ที่เศรษฐกิจฟองสบู่จะกลายมาเป็นคลื่นลูก ที่สาม