Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2543
ฟรีพีซี คลื่นลูกแรกของไอเอสพี             
 


   
search resources

ISP (Internet Service Provider)




ในเตอร์เน็ตของเมืองไทยจะขยับไปอีกก้าวหนึ่ง จากแรงผลักดัน ที่เกิดขึ้นรอบด้าน กระแสของอีคอมเมิร์ซ ที่ทุกคนอยากมีเว็บเป็นของตัวเอง ธุรกิจใหม่เอี่ยม ที่เพิ่งเกิดมาพร้อมๆ กับอินเตอร์เน็ต และธุรกิจหน้าเก่า ที่ต้องการปรับสู่โลกใบใหม่

ที่มองข้ามไม่ได้เลย ก็คือ ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet service provider) ที่จะต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ เพื่อรับกับสถานการณ์ ที่แปรเปลี่ยนไป ทั้ง ที่เป็นแง่บวก และแง่ลบ

"ไอเอสพี กำลังก้าวไปสู่ขั้น ที่สองของธุรกิจ" คำกล่าวของวิวัฒน์วงศ์ วิจิตรวาทการ กรรมการผู้จัดการ ล็อกซ์อินโฟ ที่สะท้อนถึงภาวะของธุรกิจ ไอเอสพี

แคมเปญ "ฟรีพีซี" นับเป็นคลื่นลูกแรกของการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดกับธุรกิจไอเอสพี ถึงแม้ว่าโปรโมชั่นในครั้งนั้น จะเป็นเพียงแค่การให้ลูกค้าผ่อนส่ง เครื่องพีซีบวกกับอินเตอร์เน็ต ไม่ได้เป็นการแถมฟรีเครื่องพีซีอย่างที่โฆษณากันไว้ก็ตาม แต่ก็นับว่า เป็นเกมการตลาดอันแยบยล ที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์กันไปถ้วนหน้า ทั้งผู้ผลิตพีซี ชิป อุปกรณ์ต่อพ่วง ไอเอสพี บริษัทลีสซิ่ง ที่ให้เงินผ่อน รวม ถึงผู้บริโภคอีกกลุ่มใหญ่ ที่ไม่สามารถควักเงินก้อนใหญ่มาจ่ายค่าเครื่องพีซี ที่สำคัญมันเป็นการสร้างมูลค่าตลาดรวม เพิ่มขึ้นมาได้อีกไม่น้อย

จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น บวก ผสมกับกระแสของอี-คอมเมิร์ซ ทำให้ไอเอสพีทุกรายมองเห็นโอกาสของตลาดที่จะเกิดจากความต้องการเหล่านี้ เริ่มด้วยตัดสินใจควักเงินลงทุนก้อนใหญ่ เพิ่มความเร็ววงจรระหว่างประเทศ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการลงทุนระลอกใหญ่อีกครั้ง นับตั้งแต่เปิดบริการมา

เคเอสซี อินเตอร์เน็ต ที่ขยับเพิ่มความเร็ววงจรต่างประเทศเป็นรายแรก และเพิ่มรวดเดียวจาก 8 Mbps เป็น 42.5 Mbps ตามมาด้วยอินเตอร์เน็ตประเทศไทย หรือไอเน็ต ซึ่งมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ก็เพิ่มความเร็ววงจรระหว่างประเทศในช่วงปลายปี 2542 เพิ่มจาก 16 Mbps เป็น 42 Mbps และขยายความเร็วในการเชื่อมต่อกับศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลอินเตอร์เน็ตสาธารณะ (PIE) ที่เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลภายในประเทศเพิ่มอีก 10 เท่าตัว

ส่วนล็อกซอินโฟนั้น ก็ขยายความเร็ววงจรเช่นกัน แต่จะต่างจากไปจาก ไอเอสพีรายอื่น คือ ใช้วิธีเพิ่มเดือนละ 2 Mbps แน่นอนว่าการลงทุนเพิ่มขยายความเร็ววงจรขนาดนี้ ไอเอสพีทั้งหลายจำเป็นต้องเร่งขยายขนาดของลูกค้าให้เพิ่มตามไปด้วย เพื่อให้คุ้มทุนเร็วที่สุด และวิธี ที่ง่ายที่สุด เห็นผลเร็วที่สุดก็คือ นำนโยบายราคามาใช้ เพราะไอเอสพีทุกรายรู้ดีว่า ราคาเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุด ของการขยายจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ปี 2542 ราคาค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตของเมือง ไทยลดลงเฉลี่ย 20-30% ตฤณ ตัณฑเศรษฐี กรรมการผู้จัดการบริษัท อินเตอร์เน็ตประเทศไทย ยืนยันว่า ราคาอินเตอร์เน็ตจะลดลงเฉลี่ย 30% ทุกปี

อัตราค่าบริการของไอเน็ตลดลงจากเฉลี่ยชั่วโมงละ 34 บาท เหลืออยู่ในอัตรา ที่ 17 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งจะเป็นช่วงไทม์โซน คือ ตั้งแต่ 3 ทุ่มถึง 8 โมงเช้า ส่วนเวลานอกเหนือจากนั้น ถ้าเป็นแพ็กเกจ 500 บาท จะคิดในอัตรา 27 บาทต่อชั่วโมง แพ็กเกจ 1,000 จะคิดในอัตรา 26 บาทต่อชั่วโมง และ แพ็กเกจ 2,000 บาทอยู่ ที่ 25 บาท ชั่วโมง

หลังจากไอเน็ตนำร่องไปไม่ทันข้ามอาทิตย์ ไอเอสพีรายอื่นๆ ลดราคาลงมาด้วย ซึ่งก็เห็นผลทันทีกับเคเอสซี อินเตอร์เน็ต ที่ประกาศลดค่าบริการทันที 50% แต่เคเอสชีก็อาศัยลูกเล่นทางการตลาดเข้ามาใช้ คือ ไม่ลดราคาตรงๆ แต่เพิ่มจำนวนชั่วโมงการใช้งาน เพื่อให้มีการใช้งานมากขึ้น คือ ให้ชั่วโมงการใช้งานเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในราคาเดิม คือ จาก 15 ชั่วโมง 450 บาท (ไม่รวม vat )ก็ให้เป็น 30 ชั่วโมงในราคา 450 บาท (ไม่รวม vat ) เช่นเดียวกับล็อกซอินโฟ ที่ใช้วิธีลดราคาโดยเพิ่มชั่วโมงการใช้งานให้มากขึ้น คือ แต่เดิมเคยคิดค่าบริการในอัตรา 10 ชั่วโมง 486 บาท ก็ขยาย เป็น 15 ชั่วโมง 486 บาท และขยายจาก 20 ชั่วโมงเป็น 30 ชั่วโมง ในอัตรา 875 บาท

เป้าหมาย ที่ล็อกซอินโฟคาดหวังจากการลดราคาในครั้งนี้ก็คือ การเพิ่มปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ต และยอดสมาชิก ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ตัวในปีหน้า หรือจากสมาชิก ที่สมัครเข้ามาวันละ 50-60 คน จะเพิ่มเป็น 70-80 คนต่อวัน เช่นเดียวกับเคเอสซี และไอเน็ต

จะว่าไปแล้ว แรงบีบคั้น ที่ทำให้ไอเอสพีต้องหั่นราคาค่าบริการลงมา ไม่ใช่แค่ให้คุ้มทุนเร็วที่สุดเท่านั้น แต่ทุกรายรู้ดีว่า การแข่งขันในปีนี้จะต้องหนักหน่วงแน่ การมาของบริษัทข้ามชาติ ที่พรั่งพร้อมไปด้วยสายป่าน และ ประสบการณ์จะเป็นตัวแปร ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่การ มาของเคเบิลแอนด์ไวร์เลส ที่เข้ามาขอสัมปทานเป็นไอเอสพีรายใหม่ รวมถึงเอ็มเว็บ ประเทศไทยก็จ่อคิวรอใบอนุญาตอยู่อีกรายต่อไป

ดังนั้น ไอเอสพีทั้งหลาย จึงจำเป็นต้องกวาดต้อนลูกค้า มาอยู่ในมือให้มากที่สุดก่อน ด้วยการใช้มาตรการราคามาเป็นแรงดึงดูด จากนั้น จึงเพิ่มขยายขีดความสามารถ ในการบริการในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะมาตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า เพื่อรักษาลูกค้าให้อยู่ในมือไว้ให้นานที่สุด และ เพื่อทดแทนรายได้จากค่าบริการรายเดือน ในการต่อเชื่อมเข้าอินเตอร์เน็ต (Internet access) ที่นับวันจะลดลงไปเรื่อยๆ

"ธุรกิจของ access จะลดลงปีละ 30%" คำยืนยันของตฤณ ตัณฑเศรษฐี กรรมการผู้จัดการบริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย

งานนี้ไอเอสพี ก็จำเป็นต้องหาแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่มาสร้างอำนาจต่อรอง และแหล่งเงินทุนเหล่านี้ก็มาจากหลายๆ ทาง ทั้งจากการเปิดทางให้ บริษัทไอเอสพีต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้น หรือหาแหล่งเงินทุนอย่าง venture capital "ปีหน้าเราจะเห็นไอเอสพีจับคู่กันหลายคู่ หรือไม่ก็มีต่างชาติมาซื้อหุ้น เพราะการแข่งขันจะเข้มข้นขึ้นทุกวัน เราไม่รู้ว่าไอเอสพีต่างชาติจะดัมพ์ราคา ลงเหลือเพียงแค่ชั่วโมงละ 5 บาทเมื่อไหร่ ต้องขึ้นอยู่กับว่าสายป่านใครจะยาวกว่ากัน" วิวัฒน์วงศ์กล่าว และเป็นที่มาของการเจรจา เพื่อหาพันธมิตร เข้ามาถือหุ้นในล็อกซอินโฟ ซึ่งเวลานี้มีอยู่หลายรายที่เจรจาอยู่ และจะได้ข้อสรุปไม่เกินต้นปี

สามารถกรุ๊ปเองก็มองเห็นปรากฏการณ์เหล่านี้ นอกจากการปรับปรุงระบบเครือข่ายการให้บริการไปใช้ของนอร์เทิร์นเทเลคอมแล้ว การปรับโครงสร้างครั้งล่าสุดของกลุ่มสามารถ ที่มุ่งไปเรื่องของการให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การจดโดเมน ออกแบบเว็บไซต์ จนถึงการให้บริการทำการค้าออนไลน์ โดยธุรกิจไอเอสพีเป็นแค่ส่วนประกอบเดียวของกระบวนการนี้ เป็นสิ่งที่สะท้อนชัดเจนว่า การหวังเพียงรายได้จากค่าบริการรายเดือน (Internet access) คงทำไม่ได้อีกต่อไป

"ลืมไปได้เลย ที่จะหวังค่าบริการรายเดือน เพราะต่อจากนี้ค่าบริการจะลดลงไปเรื่อยๆ" จุลภาส    




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us