Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 พฤษภาคม 2551
หวั่นไทยเกิดวิกฤตศก.รอบสอง น้ำมันแพง-ปัญหาการเมืองรุมเร้า             
 


   
search resources

Economics




นักวิชาการนิด้า เตือนความขัดแย้งทางการเมืองซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย หวั่นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบ 2 ชี้โครงสร้างเศรษฐกิจยังอ่อนแอ ไม่พร้อมรับมือศึก 2 ด้านทั้งปัจจัยการเมืองและราคาน้ำมัน แนะทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากันยุติความขัดแย้ง พร้อมเร่งใช้นโยบายทางการเงินผ่อนคลาย เพื่อฟื้นฟูระยะยาว มั่นใจตัวเลขเศรษฐกิจปีนี้ยังโตได้ 5.5-6% ตามเป้า

นาย วรพล โสคติยานุรักษ์ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์ (NIDA BUSINESS SCHOOL) เปิดเผยว่า ในขณะนี้ เศรษฐกิจไทยมีหลายปัญหาที่เข้ามารุมเร้า จนส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยมีความอ่อนแอลง โดยยอมรับว่า ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองจะเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในอนาคตอันใกล้ จะเข้าสู่ภาวะถดถอยจนอาจกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่ได้

“ปัจจุบันปัญหาทางด้านพลังงานในเรื่องของราคาน้ำมันในตลาดโลก ได้ปรับตัวสูงขึ้นถึง 150 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกิดความเสี่ยงต่อระบบโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยที่ไม่แข็งแรงเพียงพอ เนื่องจากระบบโครงสร้างสาธารณูปโภค ระบบขนส่งและโลจิสติสก์ยังไม่เพียงพอ ส่งผลให้ไทยยังต้องพึ่งพาการใช้น้ำมันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของเศรษฐกิจโลก ที่สหรัฐอเมริกายังมีความเสี่ยงจากการเสียหายของปัญหาซับไพร์มที่กำลังลุกลาม จนทำให้ปัจจุบันมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจแล้วกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และปัญหาดังกล่าวยังส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกและของไทยด้วยเช่นกัน”นายวรพลกล่าว

ทั้งนี้ ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้ไทยสูญเสียโอกาสทางการแข่งขันและขาดโอกาสในการหาประโยชน์จากรายได้ในเรื่องของราคาพืชผลทางเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากมีการแย่งชิงพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน แม้ว่าที่ผ่านมาราคาข้าวจะปรับตัวสูงถึง 12,000 บาทต่อตัน แต่จากการขาดเสถียรภาพในการบริหารจัดการที่ดี ทำให้ไม่สามารถรักษาระดับราคาข้าวไว้ในระดับสูง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวไว้ได้

นาย วรพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาความขัดแย้งทางการเมืองได้ก่อให้เกิดการปฎิวัติ จนทำให้ไทยสูญเสียโอกาสในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเกิดความชะงักงัน จากเดิมที่ไทยเคยโตปีละ 6% แต่ช่วงปี 2548-2550 ไทยมีการเติบโตเศรษฐกิจเพียง 4% ซึ่งต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชีย และในครั้งนี้ หากความขัดแย้งทางการเมืองทวีความรุนแรงมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจร้ายแรงกว่าเมื่อ 3 ปีก่อน เนื่องจากในขณะนั้นยังไม่มีปัจจัยในเรื่องของราคาน้ำมันที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเหมือนในปัจจุบัน

"ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในวันนี้ ไม่พร้อมที่จะรับมือกับปัจจัยลบทางด้านการเมืองและวิกฤติราคาน้ำมันพร้อมกันได้ ดังนั้น ภาครัฐควรจะเร่งหาทางแก้ไขวิกฤติทางการเมืองให้จบลงโดยเร็ว เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เพราะหากไม่รีบแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองก็จะเริ่มส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในช่วงครึ่งปีหลังและจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2552 เนื่องจากนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศจะขาดความเชื่อมั่น จนเกิดการชะลอการลงทุน การบริโภคภายในประเทศ การจ้างงานจะลดลง ลามเป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ ที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศทรุดตัวลง แม้ว่าในปีนี้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ยังเติบโตได้ตามเป้าที่ 5.5-6% ก็ตาม "

นอกจากนี้ ภาครัฐยังต้องเร่งดำเนินนโยบายการเงิน การคลังเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ เพื่อเร่งฟื้นความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและประชาชนในประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรใช้นโยบายด้านการเงินที่ผ่อนปรนมากขึ้น เช่น การคงอัตราดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุน ที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศค่อยๆ ฟื้นตัว ขณะเดียวกันจะต้องดูแลปัญหาเรื่องเงินเฟ้อไม่ให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวของไทย

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศยังมีความเสี่ยงทั้งปัจจัยภายในและภายนอก แถมเจอกับปัญหาเรื่องการเมืองที่ทำให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจยากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาประเทศไทยโตต่ำสุดในเอเชียมา 3 ปีเต็ม ดังนั้นควรแล้วหรือที่จะปล่อยให้ปัญหาการเมืองมาฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยให้ตกต่ำลงไปอีก ฉะนั้นทุกฝ่ายควรหันหน้าเข้ามากันเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดต่อประเทศและเศรษฐกิจของไทย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us