Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 พฤษภาคม 2551
น้ำมันแพงตัวการสำคัญทำไทยขาดดุล             
 


   
search resources

Economics




หลายๆ คนคงตกใจกับการพาดหัวข่าวในช่วงไม่กี่วันมานี้ว่า ไทยขาดดุลการค้าสูงสุดในรอบ 12 ปีบ้าง พิษน้ำมันแพงทำไทยขาดดุลการค้าบ้าง การส่งออกโตน้อยกว่าการนำเข้าบ้าง ซึ่งหากไม่ดูรายละเอียดให้ชัดเจน ก็อาจจะตกใจว่าประเทศไทยกำลังเกิดอะไรขึ้น ทำไมไทยถึงได้ขาดดุลการค้ามากมายเช่นนี้ แล้วจะเกิดผลกระทบอะไรกับไทยหรือไม่

จากคำถามดังกล่าว หากเจาะลึกลงไป ก็มีคำตอบที่ดูไม่น่าจะตกอกตกใจอะไรเลย เพราะการขาดดุลการค้าที่เกิดขึ้นเป็นมูลค่า 1,807.5 ล้านเหรียญสหรัฐ มาจากการที่ไทยต้องเสียเงินนำเข้าน้ำมันเข้ามาใช้ในประเทศล้วนๆ โดยการนำเข้าน้ำมันในเดือนเม.ย.นี้ มีมูลค่า 2,760 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 82.85% หรือมูลค่าเพิ่มขึ้น 1,713 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับการนำเข้าน้ำมันในเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า

ขณะเดียวกัน ยังมีการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในส่วนของทองคำ โดยมีมูลค่า 536 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งๆ ที่เดือนเม.ย.ปีก่อนนำเข้าแค่ 75 ล้านเหรียญสหรัฐ เดือนนี้จึงนำเข้าเพิ่ม 462 ล้านเหรียญสหรัฐ

รวมแค่รายการน้ำมันกับทองคำ มูลค่ารวมก็ 2,175 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปแล้ว ถ้า 2 รายการนี้ไม่เพิ่มขนาดนี้ เดือนนี้ไทยก็คงไม่ขาดดุลการค้าอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม การนำเข้าในส่วนอื่นๆ ก็มีการเพิ่มขึ้น แต่เป็นการเพิ่มขึ้นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้าไทยในอนาคต โดยสินค้าทุน ก็มีการนำเข้ามูลค่า 3,577 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 251% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มูลค่า 6,576 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 43.3% ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภค มูลค่า 1,298 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 42% ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง มูลค่า 465 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 32.1%

พ้นจากเรื่องน่าเป็นห่วงไปแล้ว ลองมาดูด้านการส่งออกที่ถือเป็นภารกิจหลักของกระทรวงพาณิชย์กันบ้างว่าทำได้มากน้อยแค่ไหน

ในเดือนเม.ย. ไทยส่งออกได้เป็นมูลค่า 13,765.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 26.96% ยังคงเป็นการส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปี แม้ว่ามูลค่าจะไม่ทำสถิติสูงสุดเหมือนในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา แต่อัตราการขยายตัวยังอยู่ในตัวเลข 2 หลัก โดยเดือนม.ค.ส่งออกมูลค่า 13,959.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 33.27% ก.พ. มูลค่า 12,991.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 16.37% และมี.ค. มูลค่า 14,764.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 14.41%

จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้น 44.4% สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว มูลค่าเพิ่มขึ้น 137.6% ยางพารา 32.5% มันสำปะหลัง 41.3% อาหาร 39.1%

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม ส่งออกเพิ่มขึ้น 20.5% สินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มเกิน 15% เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ สิ่งทอ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก วัสดุก่อสร้าง อัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้เดินทาง เครื่องหนัง สิ่งพิมพ์และกระดาษ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เภสัช เครื่องมือแพทย์ ของเล่น น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เลนซ์ อาหารสัตว์เลี้ยง นาฬิกาและส่วนประกอบ เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม

สำหรับตลาดส่งออก ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยตลาดใหม่ขยายตัวสูงถึง 31.1% ตลาดส่งออกที่ขยายตัว เช่น แอฟริกา 65.7% อินโดจีนและพม่า 68.1% ฮ่องกง 26.4% จีน 32.5% ลาตินอเมริกา 45.5% ยุโรปตะวันออก 31.9% และอินเดีย 40.7% ส่วนตลาดหลัก ขยายตัว 23.5% ตลาดสำคัญ เช่น อาเซียน (5) เพิ่มขึ้น 32.9% สหภาพยุโรป (15) เพิ่มขึ้น 15.8% สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 13.9% และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น 29.1%

นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า การส่งออกของไทยยังมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าเกษตรถือเป็นสินค้าสำคัญที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรม ก็ส่งออกเพิ่มขึ้นแทบทุกรายการสินค้า แสดงให้เห็นว่าต่างประเทศยังคงต้องการสินค้าไทย ที่สำคัญ ตลาดส่งออกอย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่คาดกันว่าจะชะลอตัวลง ก็กลับมียอดการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นแนวโน้มที่ดี

“จากตัวเลขการส่งออกรวมในช่วง 4 เดือนแรก ไทยส่งออกได้แล้วมูลค่า 55,481.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.2% ทำให้มั่นใจได้ว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ ไทยจะส่งออกเป็นไปตามเป้าหมายคือ 12.5% มูลค่า 1.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐอย่างแน่นอน และน่าจะทำตามเป้าทำงานที่ 15% ได้ไม่ยาก เพราะจากการดูแนวโน้มสินค้านำเข้า นอกเหนือจากน้ำมันแล้ว เป็นการนำเข้าที่จะส่งผลดีต่อการส่งออก ทั้งสินค้าทุน และวัตถุดิบ ขณะที่กรมฯ จะมีมาตรการกระตุ้นการส่งออกอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง”นายราเชนทร์กล่าว

อย่างไรก็ตาม ถ้าไทยไม่เจอวิกฤตน้ำมันแพง ตัวเลขดุลการค้าคงจะออกมาสวยกว่านี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยสิ่งที่ทำได้ ก็คือ คนไทยต้องช่วยกันประหยัด เพื่อที่จะได้นำเข้าน้ำมันลดน้อยลง ส่วนในภาคการส่งออก หากไม่มีวิกฤตอะไรมาฉุด ปีนี้การส่งออกจะเป็นพระเอกสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยต่อไปอย่างแน่นอน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us