Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546
ภารกิจ Global Brand             
โดย วริษฐ์ ลิ้มทองกุล
 


   
search resources

Haier Group
Legend Group
ทีซีแอล อีเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บจก.
China Kejian
Electronic Components




"เราจะไม่ผลิตสินค้าคุณภาพ เกรด A, B, C และ D อีก ต่อแต่นี้ไป เราจะผลิตของอยู่สองแบบ คือ ได้คุณภาพและไม่ได้คุณภาพเท่านั้น!"

จาง รุ่ยหมิ่น -Zhang Ruimin กล่าวกับพนักงานในโรงงานของเขา พร้อมกับถือค้อนเหล็กมองไปยังกองตู้เย็นไม่ได้มาตรฐาน หลังจากที่เขารับหน้าที่มาเป็นนายใหญ่ของโรงงานตู้เย็นเมื่อปี 1985 ขณะนั้นเขาแบกภาระอันหนักอึ้ง คือ การพัฒนาโรงงานจะตายมิตายแหล่ ภายใต้การควบคุมของเทศบาลเมืองชิงเต่าแห่งนี้ให้อยู่รอดได้

เกือบ 20 ปีผ่านไป "จาง" กลายเป็น CEO ของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ใหญ่ที่สุดในจีน ยอดขายรวมต่อปีมากกว่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (มากกว่า 300,000 ล้านบาท) นับจากจำนวนหน่วยที่ขายแล้ว ถือว่ามากเป็นอันดับห้าของโลก รองจากยักษ์ใหญ่อย่าง เจเนอรัล อีเล็กทริก (GE), เวิร์ลพูล (Whirlpool), อีเลคโทรลัคซ์ (Electrolux) และซีเมนส์ (Siemens)

"จาง" ลูกชายพนักงานโรงงานทำเสื้อผ้าในเมืองชิงเต่า ปั้นโรงงานเล็กๆ ให้กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่จ้างคนงานกว่า 30,000 ชีวิต ที่ชื่อว่า Haier Group ไหเอ่อ ( )

Haier Group กลายเป็นบริษัทที่ "พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน" ขยายจากแค่การผลิตตู้เย็นไปผลิตเครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า มีดโกนหนวดไฟฟ้า ไมโครเวฟ โทรทัศน์จอแบน ไปจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าหรูหราอย่างตู้แช่ไวน์ ทั้งยังขยายโรงงานไปตั้งอยู่ทั่วโลก ทั้งรัฐเซาธ์ แคโรไลน่า ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนในอิตาลี ปากีสถาน และอิหร่าน

ด้านการตลาด สินค้าพะยี่ห้อ Haier วางขายใน 100 ประเทศทั่วโลก ซึ่งก็รวมทั้งประเทศเจ้าพ่อเครื่องไฟฟ้าอย่าง เยอรมนี และญี่ปุ่น ผ่านร้านกว่า 36,000 แห่ง และครองตลาดเครื่องปรับอากาศในยุโรปราวหนึ่งในสิบ

ส่วนในสหรัฐฯ เครื่องใช้ไฟฟ้า Haier นั้นเริ่มวางตลาด เมื่อ 4 ปีก่อน จนปัจจุบันสามารถเรียงหน้าเข้าชั้นในร้านขายปลีกใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ อย่าง วอลมาร์ท เซียร์ส และโฮม ดีโป ได้แล้ว โดยปี 2002 ที่ผ่านมาทำยอดขายได้ราว 250 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้บริษัทมีเป้าหมายภายใน 3 ปีจะเพิ่มตัวเลขดังกล่าว ให้เป็น 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งในปีนี้ Haier ก็ได้วางแผนโฆษณาสินค้าของตนเองให้ติดตาชาวอเมริกันเช่นกัน คือ การซื้อโฆษณาบนรถเข็นกระเป๋าเดินทางในสนามบินจอห์น เอฟ เคเนดี้ รัฐนิวยอร์ก และโฆษณาแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในช่วงไตรมาสสุดท้าย

ด้านการวิจัยและพัฒนา (Research & Develop-ment) แต่ดั้งเดิม Haier รับเอา Know-How จากบริษัทเยอรมันคือ Liebherr (ซึ่งต่อมาก็มีอิทธิพลในการตั้งชื่อบริษัท ที่เขียนคล้ายเยอรมัน แต่ภาษาอังกฤษออกเสียงเป็นมงคลว่า Higher) ในช่วงปลายปี 2000 Haier ก็จับมือกับไมโครซอฟท์ พัฒนาระบบ "E-Family" หรือ "บ้านอัจฉริยะ" ที่กำลังเป็นที่จับตามากอยู่ในแวดวงไอทีขณะนี้ ต่อมาเมื่อปีที่แล้ว (2002) ก็ร่วมลงทุนกับบริษัทซันโย (SANYO) จากญี่ปุ่นเพื่อขยายตลาดในญี่ปุ่นและจีนร่วมกัน ซึ่งก็รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้วย

กวาดตามองไปในเมืองจีนบริษัทระดับยักษ์ใหญ่อย่าง Haier นั้นยังมีอีกมากกว่า 30 บริษัทที่มีมูลค่าบริษัทนับหมื่นล้านหยวน ทั้งนี้ Beijing Famous Brands Property Assessment Co. ได้ออกรายงานเกี่ยวกับบริษัทจีนที่มีมูลค่ามากที่สุดในปี 2002 ออกมา ซึ่งอันดับหนึ่งก็ได้แก่ Haier ที่แซงบริษัท Hongtashan ( ) หรือ Hongta Group เจ้าพ่อผูกขาดผลิตบุหรี่จีนไปด้วยมูลค่า 48.9 ล้านหยวนต่อ 46 ล้านหยวน (ราว 244,500 ล้านบาทต่อ 230,000 ล้าน บาท เมื่อคิดในอัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน = 5 บาท) ได้เป็นปีแรก

ส่วนบริษัทรองๆ ลงมาและมีมูลค่ามากกว่า 20,000 ล้านหยวนหรือกว่าแสนล้านบาท ก็อย่างเช่น Changhong (ฉางหง ) หรือในชื่อเต็ม Sichuan Changhong Electric Co.,Ltd. ผู้ผลิตโทรทัศน์สีรายใหญ่ของจีน ที่มียอดผลิต-ยอดขายนับเป็นจำนวนเครื่องมากเป็นอันดับสองของโลก และผู้บริหารตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายบริษัทให้เป็น "ราชาแห่งอุตสาหกรรมทีวีโลก"

The Wuliangye Distillery (อู่เหลียงเย่ ) บริษัทผลิตเหล้าริมลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในมณฑลเสฉวน ที่มีพนักงานรวมมากกว่า 10,000 คน และมีกำลังผลิตปีละกว่า 120,000 ตัน โดยกระจายไปในผลิตภัณฑ์กว่า 42 ชนิดที่ส่งออกสู่ตลาดกว่า 130 ประเทศทั่วโลก

นอกจากนี้แล้วยังมีบริษัทที่เป็นที่รู้จักดีในหมู่คนจีนแล้ว และกำลังจะสร้างชื่อให้เป็นที่รู้จักในสังคมโลกอย่างเช่น Legend, TCL, China Kejian โดยทั้ง 3 บริษัทนี้มีศักยภาพที่พอเพียง เนื่องจากผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที คอมพิว เตอร์ และอุปกรณ์ด้านการโทรคมนาคม ซึ่งเป็นสินค้าที่เหมาะสมกับภาวะทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในโอกาสที่จีนเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ได้ครบหนึ่งขวบปีแล้ว ช่องทางต่างๆ ก็เปิดกว้างขึ้น

Legend Group (เปลี่ยนชื่อเป็น Lenova ในชื่อจีน เหลียนเสี่ยง ) ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งปัจจุบันมียอดส่งออกไปขายต่างประเทศเพียงร้อยละ 7 จากยอดรวมเท่านั้น ผู้บริหารก็วางขั้นตอนในการสร้างยี่ห้อให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลกให้ได้ว่า จะต้องเริ่มจากฮ่องกง และต่อสายไปยังซีกโลกตะวันตก โดยตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2006 รายรับของบริษัทร้อยละ 25 จะต้องมาจากภายนอกจีน

ส่วนอีกสองบริษัทคือ TCL และ Kejian นั้นก็ได้แต่เพียงแหย่เท้าเข้าไปลองเชิงตลาดโลกเพียงนิดหน่อยเท่านั้น คือ TCL แม้จะเทกโอเวอร์ยี่ห้อ Scheider บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของเยอรมันเรียบร้อยแล้วแต่ก็ยังวางแผนที่จะใช้เพียงชื่อ Scheider เจาะตลาดยุโรปต่อไป สำหรับ Kejian นั้นซื้อสปอน เซอร์บนอกเสื้อของทีมฟุตบอลเอฟเวอร์ตันในอังกฤษเป็นเวลา 2 ปี มูลค่ากว่า 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 140 ล้านบาท) แลกกับการที่เอฟเวอร์ตันเอาดารากองกลางทีมชาติจีนไปอยู่ในสังกัดด้วย แต่ที่แปลกอยู่สักหน่อยก็คือ บริษัทไม่ได้วางขาย โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อ Kejian ในอังกฤษแม้แต่เครื่องเดียว

ความละล้าละลังของทั้งสองบริษัทนี้ ค่อนข้างจะน่าสงสัย ถ้าหากพิจารณาศักยภาพภายในประเทศ เนื่องจากยอดขายของ โทรศัพท์มือถือยี่ห้อ TCL และ Kejian คิดรวมกันแล้วสามารถยึดตลาดมือถือในจีนได้ถึงหนึ่งในสี่ ทั้งๆ ที่ในตลาดมีคู่แข่งระดับเฮฟวี่เวตอยู่เกลื่อนกลาดทั้ง โนเกีย, โซนี่-อีริคสัน, ซีเมนส์, โมโตโรล่า ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว การเคลื่อนตัวไปสู่ตลาดโลกของยี่ห้อสินค้าจีนนั้น ก็จำเป็นต้องมีความระมัดระวังไม่น้อย จากแต่เดิมยึดถือเอารสนิยมการบริโภคของคนจีน ซึ่งชอบสินค้าจีนที่พอจะเชื่อถือได้, หาได้ง่ายทั่วไป และมีความเชื่อว่าแม้คุณภาพไม่ดีนักแต่ก็ "ถูก"

ทัศนะดังกล่าวหากจะทำการยกเครื่อง ปรับเปลี่ยนเสียใหม่ให้กลายเป็นการผลิตสินค้าโดยเน้นความสำคัญไปที่ คุณภาพ รูปลักษณ์ การออกแบบ รวมถึงบริการหลังการขายเป็นสำคัญแล้ว ภารกิจดังกล่าวสำหรับบริษัทสัญชาติจีน ก็นับว่าหนักอึ้งอยู่ไม่น้อย

แต่ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร ในเมื่อจีนต้องการจะเดินตามรอยญี่ปุ่น และเกาหลี หวังจะยกระดับจากแหล่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอันดับหนึ่ง (Manufacturing Powerhouse) ป้อนให้คนทั่วโลกใช้ เป็นแหล่งสร้างสรรค์สินค้าระดับโลกแล้วละก็ บันไดมาตรฐานตลาดโลกอันสูงชันนี้ยังไงก็ต้องเดินขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us