|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
พันธบัตรรัฐบาลไทยส่งสัญญาณปรับผลตอบเเทน ดึงบรรยากาศลงทุนในประเทศคึกคักอีกครั้ง บลจ.เห็นช่องจ่อคิวออกกองทุนเพิ่ม "เอวายเอฟ-บัวหลวง" เสนอกองทุนระยะสั้น ลุยตราสารหนี้ในประเทศเป็นทางเลือก พร้อมประเมินดอกเบี้ยส่งสัญญาณขาขึ้น ดันผลตอบแทนขยับขึ้นตาม และลดส่วนต่างระหว่างพันธบัตรเกาหลีใต้ที่เริ่มอิ่มตัว เเต่ยังให้ยิลด์ดีอยู่ "เอวายเอฟ" มองไต้หวันน่าสนต่อ แต่ภาษี-ต้นทุนสวอปค่าเงิน ยังเป็นปัญหาฉุดผลตอบแทน
นายอาสา อินทรวิชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด กล่าวถึงภาวะตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยว่า ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษาภาคม จะพบว่าอัตราผลตอบเเทนพันธบัตรปรับตัวขึ้น 40-50 จุด ทำให้การลงทุนตราสารหนี้ในประเทศกลับเข้ามาน่าลงทุนอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการลงทุนในช่วงนี้ อย่างไรก็ดี ช่วงนี้ดอกเบี้ยภายในประเทศเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้การลงทุนพันธบัตรระยะสั้นให้ผลตอบเเทนที่ดีกว่าการลงทุนในพันธบัตรระยะยาว
อย่างไรก็ตาม หากพูดถึงตราสารหนี้ของประเทศเกาหลีใต้นั้น ก็ยังให้ผลตอบเเทนที่ดีอยู่ เเต่ทางเราก็ได้มองหาตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบเเทนดีในประเทศอื่นๆ เอาไว้บ้าง อย่างเช่น ประเทศใต้หวัน เเต่ยังติดเรื่องของภาษี เเละที่สำคัญเมื่อสวอปค่าเงินเเล้วพบว่าตราสารหนี้ของใต้หวันก็ยังให้ผลตอบเเทนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเกาหลีใต้ อีกทั้งผลตอบเเทนพันธบัตรใต้หวันยังมีความผันผัวนมาก รวมถึงพันธบัตรของใต้หวันมีจำนวนจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการของนักลงทุน
นายอาสากล่าวว่า ในช่วงที่ตลาดทุนยังมีความผันผวนอยู่มาก การลงทุนในตราสารหนี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีในช่วงนี้ เราจะเห็นได้จากยอดขาย กองทุนตราสารหนี้ที่ไปลงทุนพันธบัตรเกาหลีใต้ จนกระทั่งความต้องการในพันธบัตรดังกล่าวมีมากไปจนถึงระดับหนึ่ง ทำให้ผลตอบเเทนในการลงทุนไม่มากเหมือนครั้งเเรกที่ออกกองทุนพันธบัตรเกาหลี เมื่อนำมาเทียบกันจะพบว่า ผลตอบเเทนพันธบัตรเกาหลีค่อนข้างให้ผลตอบเเทนใกล้เคียงกับผลบตอบเเทนพันธบัตรในประเทศเเล้ว
" การลงทุนในตราสารหนี้ภายในประเทศเป็นอีกทางหนึ่งในการกระจายความเสี่ยง เเละการมีสภาพคล่อง ผมอยากให้นักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรเกาหลีอยู่เเล้วกระจายความเสี่ยงเข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ภายในประเทศเราบ้าง"นายอาสากล่าว
ทั้งนี้ บลจ. อยุธยา กำลังอยู่ระหว่างการเปิดขายหน่วยลงทุนกองทุนอยุธยาเเฮนซ์ไทยโน้ทพลัส (12M6) ซึ่งมีอายุโครงการ 12 เดือนเเละมีเงินทุนในโครงการ 5,000 ล้านบาท และคาดการณ์ผลตอบเเทนของการลงทุนไว้ที่ 3.10% โดยจะเปิดขายตั้งเเต่วันนี้ถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2551
โดยกองทุนดังกล่าวมีนโยบายลงทุนในเงินฝาก ตราสารทางการเงิน หรือตราสารหนี้ที่ธนาคารพาณิชย์ในประเทศที่เป็นสาขาของธนาคารต่างประเทศ รับวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชนทั่วไป เป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลัง หรือผู้ค้ำประกัน โดยที่ตัวตราสาร/ผู้ออก/ผู้รับรอง/ผู้รับอาวัล/ผู้สลักหลังหรือผู้ค้ำประกัน ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือระยะปานกลางหรือระยะยาวในระดับตั้งเเต่ A--ขึ้นไป หรือระยะสั้นในระดับ F 2 ,T2 ขึ้นไป จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์เเละกำกับหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ส่วนต่างดอกเบี้ยเกาหลีขยับลง
นายวศิน วัฒนวรกิจกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการตลาด บลจ. บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า จากที่หลายฝ่ายมองว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนให้ความสนใจในพันธบัตรเกาหลีใต้มากกว่า เนื่องจากอัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 4.00% ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.50% ต่อปี
อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 2.60% ต่อปี ขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรเกาหลีใต้อยู่ที่ประมาณ 3.60% ต่อปี ซึ่งผลตอบแทนไม่ได้ต่างกันมากนัก ดังนั้นนักลงทุนจึงหันกลับเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนหลายรายมองว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทยนั้นจะมีความมั่นคงมากกว่าของพันธบัตรเกาหลีใต้
ล่าสุด บริษัทเปิดขายกองทุนรวมบัวหลวงธนรัฐ 13/08 ตั้งเเต่วันนี้ถึงวันที่ 2 มิถุนายน 2551 โดยกองทุนมีอายุโครงการ 4 - 6 เดือน มีนโยบายเน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลัง หรือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือจะลงทุนในเงินฝาก บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตราสารแห่งหนี้ของสถาบันการเงิน และหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นด้วยการทำ ธุรกรรมการซื้อตราสารแห่งหนี้ภาครัฐกับสถาบันการเงิน โดยมีสัญญาที่จะขายคืนตราสารแห่งหนี้ดังกล่าวตามวันที่กำหนดในสัญญา
ทั้งนี้ กองทุนจะไม่ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) และตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes) สำหรับกองทุนดังกล่าวให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 2% กว่าต่อปี โดยมีมูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท และอาจเสนอขายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 300 ล้านบาท ทั้งนี้กองทุนดังกล่าวยังมีลูกค้าที่เป็นฐานลูกค้าเดิม ลูกค้ากลุ่มแบงก์ในเครือของแบงก์กรุงเทพ และฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่ยังมีความต้องการเข้ามาลงทุนอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกองทุนดังกล่าวยังคงเป็นนักลงทุนชาวไทยเป็นหลัก
|
|
 |
|
|